|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
เวิลด์แบงก์ประเมินเศรษฐกิจไทยปีนี้ -2.7% และอาจดิ่งลงถึง -4.9%ได้หากเศรษฐกิจทรุดต่อ-การเมืองรุนแรง ยาหอมรัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจถูกทาง ทันการณ์ และปริมาณหนี้สาธารณะยังรับได้กับมาตรการเพิ่มได้อีก แต่เตือนต้องคุมการขาดดุลงบประมาณในปีต่อๆไปไม่ให้เพิ่มขึ้นมาก หวั่นถล้ำลึก หนี้สาธารณะท่วม
นางสาวกิริฏา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ประจำประเทศไทย กล่าวถึงรายงาน "ตามติดเศรษฐกิจไทย หรือ Thailand Economic Monitor ฉบับเดือนเมษายน ซึ่งเป็นฉบับแรกของปี 2552 ว่า ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2552 จะอยู่ในอัตรา -2.7% ซึ่งเป็นอัตราที่ลดลงจากที่เคยคาดการณ์ไว้เมื่อปลายปีก่อนว่าจะมีอัตราการเติบโตประมาณ 2% ขณะที่เศรษฐกิจโลกหดตัว -1.7%ทั้งนี้ สาเหตุหลักมาจาการปริมาณการค้าของโลกลดลงอย่างมากตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง โดยคาดว่าปริมาณการค้าของโลกจะลดลง 6.1% ส่งผลให้การส่งออกของไทยได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก โดยมูลค่าการส่งออกในปีนี้อาจหดตัวถึง 17.2%
"ประเทศไทยเป็นประเทศที่พึ่งพาการส่งออกเป็นอย่างมาก เมื่อการปริมาณการค้าของประเทศหลักๆ ในโลกลดลงก็จะได้รับผลกระทบมากตามไปด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คาดว่าความต้องการสินค้าในตลาดโลกคาดว่าจะถดถอยลงอีกในไตรมาสที่สอง และจะเริ่มฟื้นตัวได้อย่างเร็วที่สุดในไตรมาสที่สี่ของปีนี้ ขณะที่รายได้จากท่องเที่ยวในช่วงที่ผ่านมาปรับตัวลดลงอย่างมากในเดือนพ.ย.และธ.ค.ปีก่อน แต่ในช่วงปีนี้ยังมีโอกาสที่การท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศเอเซียตะวันออกจะฟื้นตัวหลังเศรษฐกิจจีนปรับตัวดีขึ้น จึงคาดว่ารายได้จากการท่องเที่ยวจะหดตัวลงน้อยกว่าการส่งออก"
นอกจาก ปัจจัยด้านต่างประเทศหรือการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกแล้ว ก็ยังคงต้องดูถึงปัจจัยทางการเมืองซึ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมายังไม่นิ่ง และเริ่มจะมีความร้อนแรงขึ้นในช่วงนี้ แต่หากยังไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้นจนกระทั่่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐบาลแล้ว ธนาคารโลกยังคงให้น้ำหนักกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมากกว่า แต่หากทั้งเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดไว้ และภาคการเมืองเกิดความวุ่นวายหรือมีความรุนแรง ก็อาจจะทำให้จีดีพีปีนี้หดตัวลงถึง 4.9% ซึ่งเป็นกรณีเลวร้ายที่ธนาคารโลกคาดการณ์ไว้
สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมานั้น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 1 รวมถึงมาตรการลดภาษีนั้น ถือว่าเป็นมาตรการที่เหมาะสมกับเวลาในช่วงเศรษฐกิจชะลอ และหากสามารถดำเนินการได้ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ก็จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ถึง 0.5-1.7%จีดีพี โดยตัวเลขหนี้สาธารณะของไทยในปัจจุบันยังคงสามารถรองรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการขาดดุลงบประมาณได้อยู่
นอกจากนี้ จากการลงทุนในภาคเอกชนที่ยังคงชะลอตัวอยู่ ทางภาครัฐบาลควรเร่งมีการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานหลังจากที่ได้ชะงักไปในช่วงที่ผ่านมาเนื่องจากสภาวะการเมืองที่ไม่เอื้ออำนวย เพื่อเป็นการเพิ่มขีดการแข่งขันของประเทศในระยะต่อไป
ส่วนแผนการลงทุนในระยะปานกลางในวงงเงินถึง 1.56 ล้านล้านบาทในปีงบประมาณ 2553-2555 นั้น หากสามารถมีการเบิกจ่ายได้หมดก็จะช่วยเพิ่มการลงทุนภาครัฐได้ รวมทั้งแผนการลงทุนดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วย
"ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนยังไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ ดังนั้น ในช่วงนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐจะต้องเข้ามามีบทบาทในด้านนี้มากขึ้น และเมื่อเทียบกับเม็ดเงินที่นำมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจของไทยกับประเทศอื่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกแล้ว ยังนับว่าอยู่ในระดับไม่สูงนัก คือ 3.4%ของจีดีพี ขณะที่เกาหลีใช้ 6.8% หรือมาเลเซียใช้ 4.5%"
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ รัฐบาลไทยยังสามารถหางบประมาณมาใช้สนับสนุนมาตรการอัดฉีดที่ออกมาแล้วและกำลังจะออกมาได้โดยไม่ลำบากนัก แต่รายได้จากการจัดเก็บภาษีได้ลดลงอย่างมาก จนทำให้งบประมาณของไทยอยู่ โดยคาดว่าในปีนี้รัฐบาลขาดดุลราว 525,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นตามปริมาณการลงทุนในอนาคตอีกด้วย
ทั้งนี้ ในเรื่องดังกล่าว รัฐบาลจำเป็นที่จะหาวิธีลดการขาดดุลงบประมาณลงในอีกสองสามปีข้างหน้า อีกทั้งเศรษฐกิจของประเทศจะต้องอยู่ภาวะที่กลับมาขยายตัวในอัตราที่่ใกล้เคียงกับของเดิมด้วย จึงจะทำให้แน่ใจได้ว่าหนี้สินของประเทศจะอยู่ในสถานะที่บริหารได้โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาอื่นตามมา โดยธนาคารโลกคาดการณ์ว่าในปี 2252 จะมีการขาดดุลงบประมาณ 5.9 แสนล้านบาท มีหนี้สาธารณะ 45.3%ของจีดีพี ปี 2553 มียอดขาดดุล 5.5 แสนล้าน มีหนี้สาธารณะ 49.8%
"สิ่งที่สำคัญและธนาคารโลกต้องเตือนก็คือ รัฐบาลจำเป็นต้องใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยทำงบประมาณขาดดุล ขณะที่รายได้ของรัฐเองจัดเก็บได้น้อยลง จึงต้องมีการก่อหนี้มากขึ้น ซึ่งก็กระทบต่อหนี้สาธารณะ และหนี้สาธารณะจะอยู่ในระดับที่บริหารจัดได้หากการขาดดุลค่อยๆลดลงหลังจาก 2-3 ปีข้างหนี้ และการขยายตัวทางเศรษฐกิจฟื้นตัว ดังนั้น ในจุดที่ต้องระวังก่อนก็คือการจัดการเรื่องการขาดดุลที่ควรลดลงในช่วงปีต่อๆไป"
นางสาวกิริฎากล่าวอีกว่า ในปี 2553 นั้น คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวประมาณ 2% ขณะที่เศรษฐกิจโลกมีอัตราการขยายตัวประมาณ 2.3% ทั้งนี้ การขยายตัวของจีดีพีไทยขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นหลัก และเชื่อว่าภายหลังจากที่เศรษฐกิจมีการฟื้นตัวแล้วจะมีสภาพคล่องไหลกลับเข้ามาสู่ภูมิภาคเอเชียเป็นจำนวนมาก ซึ่งรัฐบาลไทยควรมีการเตรียมพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆรวมถึงโครงสร้างทางพื้นฐานให้กับพร้อมกับแข่งขันที่จะเกิดขึ้น
|
|
 |
|
|