Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2531
ลาคอส เมื่อ "คุณจระเข้"บุก ฤา "ไอ้เข้" จะต้องล่าถอย             
 


   
www resources

La Chemise Lacoste Homepage
โฮมเพจ อินเตอร์เนชั่นแนล คอสเมติคส์ (I.C.C. International Public Co., Ltd.)

   
search resources

ลา เชอมิส ลาคอส (La Chemise Lacoste)
อินเตอร์เนชั่นแนล คอสเมติคส์ (ไอ.ซี.ซี.)
บุญเกียรติ โชควัฒนา
เบอร์นาร์ด ลาคอส
Garment, Textile and Fashion




10 พฤศจิกายน 2530 เบอร์นาร์ด ลาคอส ประธานบริษัทลา เชอมิส ลาคอส แห่งฝรั่งเศสเจ้าของผลิตภัณฑ์ชื่อดัง ภายใต้เครื่องหมายการค้า "ลาคอส" เดินทางมาร่วมลงนามกับบุญเกียรติ โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนลคอสเมติคส์ จำกัด (ไอ.ซี.ซี.)

การร่วมลงนามในครั้งนั้นก็เพื่อต้องการบุกเบิกผลิตภัณฑ์ลาคอสสินค้าตราจระเข้ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการครั้งแรก

หนึ่งปีต่อมา เบอร์นาร์ด ลาคอสกับผู้บริหารจากลาคอสอีกหลายคนก็เดินทางมายังประเทศไทยอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ที่ผ่านมาร่วมแสดงความยินดีในงานแถลงข่าวการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ลาคอสในเมืองไทย พวกเขาทุกคนรู้สึกภาคภูมิใจอย่างมากที่ได้เข้ามาเผยแพร่เกียรติภูมิ "ตำนานลาคอส" ที่มีอายุมากกว่าครึ่งศตวรรษนี้ให้คนไทยได้ล่วงรู้

"ตำนานจระเข้" เริ่มขึ้นในปี 1927 เรนี่ ลาคอส (RENE LACOSTE) ได้ชื่อเล่นจากสิ่งพิมพ์ทางกีฬาว่า "จระเข้" เนื่องจากเขาได้พนันกับกัปตันทีมฝรั่งเศสว่า ถ้าเขาได้ชัยชนะในการแข่งขันที่สำคัญๆ เขาก็จะได้หีบ (กระเป๋า) ที่ทำจากหนังจระเข้

ชื่อเล่นนี้เป็นที่ถูกอกถูกใจแฟนเทนนิสที่ชอบการเล่นที่แม่นยำ เข้มแข็ง ดุดัน ดุจจระเข้ที่ไม่ยอมปล่อยให้เหยื่อหลุดจากปากของเรนี่ เป็นอย่างมาก เพื่อนของเขาโรเบิร์ต จอร์ช ก็ได้วาดรูปจระเข้ลงบนเสื้อที่เขาจะสวมลงสนามนับเป็นครั้งแรกที่สัญลักษณ์ "จระเข้" ปรากฏอยู่บนเสื้อ และยังคงใช้ได้ด้วยดีตลอดมา

ปี 1933 เรนี่ ลาคอส จับมือกับอังเดร์ กิลเยร์ (ANDRG GILLIER) โดยโรงงานกิลเยร์ ซึ่งในปัจจุบันเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของ "กลุ่มดีวองเลย์" (DEVENLEY) ดำเนินกิจการมากว่า 50 ปี พร้อมกับเสื้อลาคอสก่อตั้งบริษัทลา เชอมิส ลาคอส (LA.-CHEMISE LACOSTE) ขึ้นในปี 1933

ลาคอสได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองมาโดยตลอด ตั้งแต่การผลิตเพียงเสื้อโปโลนิตปกขาวในปีแรกเพิ่มขึ้นมาเป็นผลิตลาคอสลายทาง กางเกงขาสั้น แร็กเก็ต เทนนิสเหล็ก ชุดเดินป่าและเปิดโรงงานในสหรัฐอเมริกาในปี 1966

ร่วมกับจังปาตู ออกน้ำหอมในฝรั่งเศสในปี 1968 เปิดโรงงานในบราซิล จำหน่ายแว่นตา กระเป๋ากีฬา ผลิตรองเท้าเทนนิสในฝรั่งเศสเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1985 และเปิดโรงงานผลิตในประเทศไทยในปีนี้ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนเสี้ยวสำหรับตำนาน "จระเข้" ที่ยืนยงยาวนานของลาคอส

"เราเข้ามาศึกษาตลาดในประเทศไทยเป็นเวลากว่าสามปีก่อนจะได้เซ็นสัญญากับไอ.ซี.ซี. ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายประเทศที่ 9 ของโลกที่ได้รับลิขสิทธิ์ในการผลิตผลิตภัณฑ์ลาคอส" เบอร์นาร์ด ลาคอส กล่าวกับแขกผู้มีเกียรติจากเกือบทุกสาขาอาชีพที่มาร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัว "ลาคอส" ในวันนั้น

"บังเอิญเหลือเกินที่เลข "9" เป็นตัวเลขที่ถือว่าเป็นเลข "นำโชค" ในประเทศของท่าน" เบอร์นาร์ด ลาคอส หลอดลูกเล่นนิดหนึ่งก่อนที่จะพูดถึงเรื่องราวของลาคอสต่อไป

แน่นอนที่สุด นอกจากสื่อมวลชนทุกแขนงที่ไอ.ซี.ซี เชิญมาในวันนั้นแล้ว ยังมีแขกสำคัญๆ จากหลายวงการ อาทิ พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล ดร. เจริญ คันธวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เทียม โชควัฒนา กับภรรยาและลูกหลานตระกูล "โชควัฒนา" สด จิตรลดา อดีตแชมป์โลกรุ่นฟลายเวทของไทย ดาราภาพยนต์มากมายที่มาร่วมฉลองแสดงความยินดีกับลาคอส ไม่ว่าจะเป็น "คู่ขวัญ" สันติสุข-จินตหรา พิธีกรชื่อดังรายการ "มาตามนัด" เศรษฐา ศิระฉายา ทำเอาห้องแกรนด์บอลรูมของโรงแรมแชงกรี-ลา ในวันนั้นดูคับแคบไปถนัดใจ

สิ่งที่น่าภูมิใจ และประทับใจอย่างยิ่งของงานในวันนั้นก็คือสไลด์มัลติวิชั่นแสดง "ตำนานจระเข้" ของลาคอสเน้นกระบวนการผลิต ที่กล่าวถึง การนำเอาใยฝ้ายบริสุทธิ์ยาว 12 ไมล์เพื่อจะทำเป็นเสื้อชั้นเยี่ยมหนัก 230 กรัมหรือเสื้อลาคอสหนึ่งตัวหรือ "กระดุม" ทำจากเปลือกหอยที่อยู่ใจกลางมหาสมุทรแปซิฟิค ที่มีอายุนับสิบๆ ปีเพื่อทำกระดุมแต่ละเม็ด แหม! ช่างเป็นผลิตภัณฑ์ที่พิถีพิถัน เรื่องคุณภาพมากกว่าที่หลายๆ คนเคยคิดเสียนี่กระไร!!!

แต่ถึงอย่างไรความจริงก็ยังคงต้องเป็นความจริงอยู่วันยังค่ำ ที่ว่าเสื้อยืด หรือเสื้อลำลองที่เราท่านเรียกกันอยู่ทุกบ่อยว่า "สัตว์อก" ไม่ว่าจะเป็นตราหอย ตราทาก ตราคนขี่ม้า หรือแม้กระทั่งตรา "จระเข้" ที่ว่าแน่มาจากต่างประเทศครั้งนี้ คนไทยรู้จักมานานแล้ว แถมซื้อหาได้ในราคาถูกแสนถูกอีกด้วย

"เราเชื่อว่าคนไทยชอบของดี ส่วนใหญ่ก็มีปรากฏการณ์มาบ่อยครั้งแล้วในต่างประเทศว่า เมื่อของแท้ของจริงมาถึง ไม่นานของปลอมก็ต้องหมดไปจากตลาด" บุญเกียรติ โชควัฒนา โต้โผใหญ่ของไอ.ซี.ซี บอก "ผู้จัดการ" แสดงความมั่นใจอย่างมากของเขาในการวางจำหน่ายสินค้าตัวนี้ ในสถานการณ์ที่ของปลอมเกลื่อนกราดในตลาด

ลาคอส "คุณจระเข้" ตัวจริงราคาต่ำสุดประมาณ 790 บาท หาซื้อได้ที่เคาน์เตอร์กาเลอรี ลาฟาแยตต์ ราชดำริ และเดอมอลล์ 2 เพียงสองแห่ง

ลาคอส "ไอ้เข้" ตัวปลอมราคาสามตัวร้อย หรือสามตัวร้อยห้าสิบ หาซื้อได้ที่ชั้นใต้ดินห้างสรรพสินค้าบางห้าง ประตูน้ำ สวนจตุจักร หัวถนนสีลมในยามค่ำคืนหรือที่อื่นๆ อีกมาก

ตำนานลาคอสในต่างประเทศเริ่มต้นขึ้นมานานแล้ว เช่นเดียวกับการต่อสู้ระหว่าง "จระเข้" ตัวจริง กับ "ไอ้เข้" ตัวปลอม ที่ลาคอสเสียเงินปราบปรามมาในต่างประเทศหลายสิบหลายร้อยล้านบาท ไม่ว่าทั้งในฟิลิปปินส์ ฮ่องกง เม็กซิโก บราซิล เป็นต้น

"นิสัยคนไทยใครๆ ก็รู้ว่าเป็นยังไง ลองคิดดูว่าคนสองคนใส่เสื้อ "จระเข้" เดินสวนกัน จะรู้ได้ยังไงว่าตัวไหนตัวจริงตัวปลอม มันแทบไม่มีความแตกต่างเท่าไรหรอกกับคนไทยน่ะ" คนที่มาในงานบางคนให้ความเห็น

ความรู้สึกที่แท้จริงของใครจะเป็นยังไงไม่ทราบ แต่จะอย่างไร ลาคอส "จระเข้" ตัวจริงก็ได้เข้ามาเมืองไทยแล้ว ก็หวังว่าพวกเขาจะได้รับชัยชนะในการประกาศคุณงามความดีของสินค้าที่มีคุณภาพดีเยี่ยมนี้ในประเทศไทย เช่นเดียวกับที่พวกเขาทำสำเร็จมาแล้วในหลายประเทศ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us