Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2531
ปรีชา ทิวะหุต NEW BREED ของแบงก์มหานคร             
 


   
search resources

ธนาคารมหานคร
ปรีชา ทิวะหุต
Banking




ปรีชา ทิวะหุต นอกจากจะเป็นผู้บริหารระดับกลาง ยังเป็นนักเขียนอีกด้วย มีงานเขียนมากมายหลายชิ้นตั้งแต่เรื่องเศรษฐกิจระดับโลกจนถึงแง่มุมทางจิตวิทยา

ความเป็นคนช่างคิดช่างเขียน มาจากพื้นฐานความเป็นคนชอบเรียนรู้และสะสมประสบการณ์ จบเศรษฐศาสตร์บัณฑิต (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขณะเดียวกันก็ทำกิจกรรมกลุ่มเศรษฐ-ธรรมรุ่นปี 2512

พอจบออกมาทำงานได้สองแห่ง ก็ไปเรียนต่อปริญญาโททางสังคมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยชิคาโก แล้วก็ลงเรียนวิชาสถิติภาคฤดูร้อนที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน

กลับมาทำงานที่เมืองไทยได้อีกสองแห่งก็ยังฟิตไปเรียนปริญญาเอกสาขาบริหารธุรกิจที่มหาวิทยาลัยบอร์โดส์ ฝรั่งเศส แถมลงเรียนวิชาในสาขาเดิมเพิ่มเติมที่มหาวิทยาลัยเกรอในโนบเบลอะจบ COURCE WORK ก็กลับมาทำงานที่เมืองไทย

"ผมอยากมีงานทำเลยไม่อยากเป็นดอกเตอร์ เพราะปริญญาตัวนี้ทำให้หางานยาก คนเขาจะมองเราสูงเกินจริง" ปรีชาให้ทัศนะ

หากดูสายงานส่วนใหญ่ ปรีชาผ่านงานแบงก์ คือ เคยเป็นเศรษฐกรที่ธนาคารกรุงเทพ เป็นผู้จัดการส่วนวางแผนการตลาดของธนาคารทหารไทย และเป็น ASSISTANT VICE PRESIDENT ด้านสินเชื่อของธนาคารกรุงศรีอยุธยา

ความถนัดจึงน่าจะเป็นงานแบงก์ แต่ทว่าล่าสุดก่อนไปอยู่แบงก์มหานคร เขาอยู่ที่ซีพีระยะหนึ่งโดยเริ่มจากตำแหน่ง FINASCIAL CONTROLLER ของซีพีที่เบลเยียม ต่อมาก็มาเป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจในสต๊าฟงานของ ดร. อาชว์ เตาลานนท์

ความจริงการได้ทำงานกับบริษัทยิ่งใหญ่อย่างซีพีเป็นสิ่งที่มืออาชีพใดก็ปรารถนา แต่การตัดสินใจออกจากซีพีมาแบงก์มหานครของปรีชา น่าจะเป็นปรากฏการณ์ที่สะท้อนข้อสรุปที่ว่า "สำหรับมืออาชีพ งานท้าทายคือสิ่งที่พวกเขาแสวงหา"

ซีพีเป็นธุรกิจที่มาถึงทุกวันนี้เรียกได้ว่า ลงตัวแล้วในด้านกลยุทธ์ธุรกิจและการทำธุรกิจ เพราะระบบมันเดินไปได้ดีอยู่แล้ว แต่ความที่ระบบมันใหญ่โต มีคนทำงานมากมาย ทำให้โอกาสที่จะสร้างงานให้ปรากฏและก้าวไปข้างหน้ามีน้อยลง

แต่กับแบงก์มหานคร ที่นี่เปรียบเสมือนป้อมค่ายที่เพิ่งถูกตีแตกไปถึงสองครั้งสองคราในช่วง 2-3 ปีมานี้ ครั้งแรกประสบวิกฤติขาดทุนถึง 4,400 ล้านบาทในยุคที่ คำรณ เตชะไพบูลย์ คุมบังเหียนจนแบงก์ชาติต้องเข้ามาควบคุม

ภายหลังที่ สุนทร อรุณานนท์ชัย และทีมงานเข้ามาบริหารได้เพียง 10 เดือน วิกฤติการณ์ครั้งที่สองก็เกิดขึ้นจากการขายหุ้นของแบงก์ 100 ล้านหุ้นโดยให้พนักงานแบงก์และผู้ถือหุ้นรายใหญ่ช่วยกันขายและแบ่งค่าคอมมิชชั่นกัน แต่หลังจากขายหมดสุนทรถูกพนักงานโวยวายหาว่าเอาเปรียบที่มีการหักภาษีในอัตราที่มากกว่าค่าคอมมิชชั่นที่ได้รับ และยังถูกกล่าวหาว่ามีส่วนได้รับผลประโยชน์จากค่าคอมมิชชั่นด้วย

ผลก็คือสุนทรและทีมงานยกขบวนออกทั้งชุด เล่นเอาแบงก์ชาติต้องดันให้ มาโนช กาญจนฉายา ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย มาสะสางมลทินเหล่านี้ในฐานะประธานกรรมการ ประธานกรรมการบริหารและรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ สามเก้าอี้เลยทีเดียว

"แบงก์นี้กำลังอยู่ในระหว่างที่ต้องเร่งสร้างรายได้ เราต้องระดมทุกทาง…ตอนที่ผมเดินเข้ามามีหนี้เสียเยอะ…เพราะฉะนั้นต้องทำให้มันหายเร็วๆ …ต้องขยายสินเชื่อ" มาโนชกล่าวกับนิตยสารฉบับหนึ่ง

สภาพเช่นนี้แบงก์มหานครจึงต้องการกำลังคน ชนิดที่ว่ามีความสามารถอะไรก็งัดออกมาให้หมดไส้หมดพุง

นี่จึงเป็นแรงดึงดูดอันแรงกล้า ดึงเอามืออาชีพอย่างปรีชามาจนได้…

การมาของปรีชามีลักษณะเด่นตรงที่ หนึ่ง-เขามารับตำแหน่งผู้จัดการสำนักบริหารในอัตราเงินเดือนเท่ากับที่ได้ที่ซีพี สอง-เขาไม่ใช่คนใหม่ที่แปลกหน้าของที่นี่ แต่เป็นคนใหม่ที่มีเพื่อนเก่าอยู่ที่นี่ "เป็นแผง"

ลักษณะเด่นเหล่านี้ทำให้เกิดข้อดีต่อการทำงานก็คือ ลดทอน "ความแปลกแยก" ที่เขาต้องประสบกับคนมหานครไปได้มาก เพราะปรีชามาในฐานะคนทำงานธรรมดาคนหนึ่ง ไม่ใช่มืออาชีพที่พอเข้ามาก็กระโดดข้ามหัวคนอื่นไปอย่างน่าเกลียด เรื่องแบบนี้ทำเอาผู้บริหารระดับสูงตกม้าตายมาหลายรายแล้ว เพราะ "ไม่ได้รับความร่วมมือ"

ยิ่งไปกว่านั้นการได้ปรีชามาเสริม "ความเป็นแผง" กับเพื่อนเก่าของเขาที่นี่ ทำให้เขามีความมั่นใจกับบรรยากาศการทำงานที่เข้าขา และสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพราะเพื่อนเก่าของเขาคือลูกหม้อของแบงก์ที่อยู่กับระบบงานมานาน รู้ตื้นลึกหนาบางของกลไกการขับเคลื่อนแบงก์นี้กระจ่างดุจดูเส้นสายลายมือของตน คนที่เข้าใจเรื่องนี้อย่างถ่องแท้คือมาโนช ซึ่งชาญฉลาดอ้าแขนรับปรีชาเข้ามา

"ผมเห็นว่าทีมงานก็ดีอยู่แล้ว พวกนี้เป็นคนเก่ามานานและงานที่อยู่ในมือของเขาก็คล่องตัวดีอยู่แล้ว ถ้าหากผมเข้าไปแล้วต้องไปทะเลาะกับคนข้างใน ทำอย่างไรมันก็ไม่สำเร็จ เรื่องความสามัคคีเป็นเรื่องสำคัญที่สุด" มาโนชประเมิน "แผง" นี้กับนิตยสารฉบับหนึ่ง

ปรีชาเป็นโลหิตเม็ดใหม่ที่เพิ่มพูนความเข้มข้นขึ้นตลอดเวลา ทุกวันนี้เขายังต้องฝึกปรือวิทยายุทธ์กับเจ้านายเก่าๆ ที่เขานับถือเป็นอาจารย์ใหญ่ ได้อาศัยประสบการณ์และบทเรียนมาศึกษาเพื่อปิดจุดอ่อนช่องโหว่ที่อาจพลั้งเผลอ

เรียกได้ว่าปรีชามีคุณสมบัติของความเป็น "ผู้นำ" ที่ดีเด่นประการหนึ่งซึ่ง JOHN KOTTER เจ้าทฤษฎีบริหารแห่งฮาร์วาร์ดบิสสิเนสสคูลเขียนไว้ในงานชิ้นลือลั่นที่ชื่อ THE LEADERSHIP FACTOR นั่นคือ ผู้นำควรมีข่ายความสัมพันธ์ที่กว้างขวางกับผู้คนในวงการธุรกิจ และสามารถนำมาช่วยให้กลยุทธ์ธุรกิจของตนก้าวไปข้างหน้า

เมื่อพิจารณามาถึงจุดนี้ จึงกล่าวได้ว่าปรีชาเลือกมาถูกทางแล้ว วัย 40 ปีของเขาในตอนนี้ตรงกับคำกล่าวที่ว่า เป็นวัยที่เพิ่งจะเริ่มต้น

แต่เป็นการเริ่มต้นที่มั่นคง ฉากต่อๆ ไปของแบงก์มหานครคงไม่มีอุปสรรคใดๆ ที่จะฟันฝ่าไปไม่ได้!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us