* หนทางนำพาองค์กรฝ่าพายุแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุด
* ตอบโจทย์“ที่ทำงานน่าอยู่-คนทำงานมีสุข-ชุมชนสมานฉันท์”
* เรียนรู้หลักคิด-ประยุกต์สร้างHappy Work Placeทันสถานการณ์
* พร้อมแนวปฎิบัติองค์กรตัวอย่าง “ปลอดหนี้-ครอบครัวดี-มีน้ำใจงาม”
เมื่อ“องค์กร” ในปัจจุบันนี้ ต้องเผชิญหน้ากับกระแสวิกฤติและความเปลี่ยนแปลงของปัญหาเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมทั้งในระดับประเทศและระดับโลก ซึ่งมีความผันผวนปรวนแปรอย่างรวดเร็ว กระทบและสั่นคลอน
เชื่อมโยงถึงกันเป็นเครือข่ายคล้ายโดมิโน
สภาวะการณ์เช่นนี้ล้วนมีผลกัดกร่อนความมั่นคงของทุกองค์กร จะทำอย่างไรหากองค์กรต้องการภาวะวิกฤต ทำให้เกิดการปรับปรัว และแสวงหาการพัฒนาที่นำไปสู่ “องค์กรแห่งความสุข” เพื่อเป้าหมายการอยู่รอดเติบโตอย่างมั่นคงเช่นทุกวันนี้
... พบคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยผู้อำนวยการแผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน“นายแพทย์ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์”ให้ข้อคิดและแนวทางปฎิบัติ
Happy 4 รับวิกฤต
ทั้งนี้ นายแพทย์ชาญวิทย์ ให้ข้อสรุปว่า แนวทางสร้างองค์กรแห่งความสุข ท่ามกลางภาะวิกฤติว่า สำคัญที่สุด คือ องค์กรต้องสร้างหลักคิดก่อน ส่วนรูปแบบก็กำหนดและปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ซึ่งในปัจจุบันอันดับแรก สิ่งที่ต้องให้น้ำหนัก คือ Happy Money หรือ ภาวะปลอดหนี้ เพราะการจัดสรรการเงินของคนในขณะนี้อาจยังน้อยเกินไป จึงกลายเป็นปัญหาใหญ่ขณะนี้ ดังนั้นจึงต้องมีการบริหารจัดการให้รายได้-รายจ่ายเพียงพอ อีกทั้งเป็นเรื่องสำคัญเพราะถ้าคนในองค์กรมีหนี้มากขึ้นเขาย่อมเห็นแก่ตัว รักตัวเองมากขึ้น รักคนอื่นน้อยลง ความซื่อสัตย์ความเสียสละหายไปเกิดความเครียด ขาดสติพึ่งพาเหล้าบุหรี่
ขณะเดียวกันในช่วงวิกฤต อาจทำให้เกิดความเครียดในชีวิตก็จะต้องผ่อนคลายด้วยการสร้างความผ่อนคลาย (Happy Relax), น้ำใจงาม (Happy Heart) และ ครอบครัวดี (Happy family) โดยการคิดถึงครอบครัวมากๆ เพราะเวลามีความทุกข์ วิกฤตในชีวิตคงไม่สามารถอยู่คนเดียวได้ แต่อยู่กับครอบครัวได้ โดยต้องให้คุณค่ากับครอบครัว อ้นเป็นแห่งเดียวที่จะอ้าแขนรับคุณ เพราะบางครั้งในสังคมเมือง พอออกจากบ้านมาแล้วก็จะลืม และในช่วงวิกฤตควรระวังตัวทั้งในเรื่องค่าใช้จ่าย ทัศนคติการมองโลก สังคมในเชิงบวก
“ในช่วงวิกฤตคุณต้องมีความเห็นอกเห็นใจ และคิดถึงเพื่อนร่วมงานในองค์กรให้มากๆไม่ฉวยโอกาสนี้เลย์ออฟพนักงาน ที่จริงสำคัญทุกข้อ ทั้งนี้ในการจัดการสร้างองค์กรแห่งความสุขกับองค์กรแต่ละประเภทโดยเฉพาะองค์กรบริการ จุดเด่นๆ คือ ต้องการคนที่มีน้ำใจ หรือ Happy Heart มากๆ และคนที่พัฒนาอยู่ตลอด Happy Brian) รวมถึงการดูแลสุขภาพตนเอง เพื่อ ให้มีสุขภาพดี (Happy Body) เป็นต้น”
ไทยซัมมิท-อายิโนโมโต๊ะ องค์กรปลอดหนี้
ทั้งนี้เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนจากตัวอย่างแนวปฎิบัติขององค์กรที่ได้ลงมือปฎิบัติ มีกรณีตัวอย่างของการสร้างHappyทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ Money, Relax, Heart และ Family ที่โดดเด่นในด้านปลอดหนี้ ต้องยกให้ 2 องค์กร ได้แก่ บริษัท ไทยซัมมิท ฮาร์เนส จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท อายิโนะโมะ ดำเนินธุรกิจการประกอบชุดสายไฟรถยนต์และรถจักรยานยนต์ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จ.ชลบุรี มีพนักงาน 2,700 คน บริษัทเชิญธนาคารจำนวน 6 แห่ง เข้ามาให้คำแนะนำเกี่ยวกับการบริหารเงินในรูปแบบต่างๆ และเปิดบัญชีเงินฝากภายในโรงงาน โดยหมุนเวียนกันเข้ามาให้บริการวันละ 2-3 ธนาคาร
ตลอดเวลา 6 วันหลังจากได้สรุปข้อมูลจากธนาคารที่ร่วมโครงการแต่ละแห่ง พบว่า พนักงานระดับล่างที่มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 8,500 – 12,000 บาท/เดือน ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ให้ความสนใจเกี่ยวกับการออมในรูปแบบของการประกันชีวิตที่มีการคุ้มครองอุบัติเหตุด้วยมากกว่าออมในรูปแบบอื่นๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าพนักงานมีความรู้เรื่องการออมมากขึ้น มีทางเลือกที่จะออมมากขึ้น และสามารถที่จะเลือกออมในรูปแบบที่เหมาะสมกับตัวเองได้
ขณะที่ บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ ฯจัดให้มีสหกรณ์ออมทรัพย์ ให้พนักงานได้ออมเงินตามความสมัครใจ ใครมีมากออมมาก มีน้อยออมน้อย และเปิดให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ นอกจากนี้บริษัทฯ ได้มอบเงินให้สหกรณ์ออมทรัพย์จำนวน40 ล้านบาท เพื่อนำไปลงทุนในสถาบันการเงินที่มั่นคง และนำดอกผลที่ได้มาจัดเป็นสวัสดิการสงเคราะห์ช่วยเหลือพนักงาน (เสริมจากสวัสดิการที่จัดให้ปกติ) เช่น ค่ารักษาพยาบาล หรือในกรณีที่ประสบภัยพิบัติ หรือเมื่อพนักงานเกษียณอายุ ฯลฯ
Happy Family: ครอบครัวดี
สำหรับองค์กรที่สร้างครอบครัวดี (Happy Family) ที่ชัดเจน ได้แก่ บริษัท แอลซีบีคอนเทนเนอร์ เทอร์มินัล 1 จำกัด เป็นบริษัทผู้ให้บริการขนถ่ายตู้สินค้า ตั้งอยู่ที่ท่าเรือแหลมฉบังอ.ศรีราชา จ.ชลบุรี มีพนักงานประมาณ 400 คน ได้จัดกิจกรรม รูปแบบกิจกรรมคือ ใน “วันแห่งครอบครัว” โดยบริษัทอนุญาตให้พนักงานทุกคนพาครอบครัวเข้าเยี่ยมชมท่าเรือ เพื่อให้เด็กๆ รู้ว่าผู้ปกครองทำงานอะไรลักษณะงานเป็นอย่างไร
นอกจากนั้น ยังพาครอบครัวพนักงานไปเที่ยวด้วยกันที่สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์หลากหลายประเภทร่วมกับครอบครัว กิจกรรมนี้ถือเป็นกิจกรรมที่สร้างเสียงหัวเราะให้กับทุกคนและยังช่วยกระชับความสัมพันธ์ภายในครอบครัวทุกครั้งที่ทางฝ่ายบริหารได้เห็นรอยยิ้มของเด็กๆและคนในครอบครัวของพนักงานมีความสุข ก็มีพลังที่จะสร้างสรรค์กิจกรรมดีๆ เช่นนี้ต่อไปอีก
นอกจากนี้ ยังทำโครงการจับไข่ใส่ตะกร้า เร่หาพนักงาน ของบริษัทฯ ในกลุ่มสมบูรณ์ เป็นโครงการที่ทีมผู้บริหารและ HR ออกไปเยี่ยมครอบครัวของพนักงานถึงที่บ้านและนำตะกร้าใส่ไข่ไปเป็นของฝาก ช่วงเริ่มต้นโครงการนี้ไม่ได้รับการตอบรับจากพนักงานเท่าที่ควร เพราะเข้าใจว่าบริษัทต้องการตามไปจับผิดตนถึงที่บ้าน แต่เมื่อทำไปเรื่อยๆ
พร้อมกับความพยายามในการสื่อสารภายในองค์กรถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของโครงการที่ต้องการใช้โอกาสนี้ในการไปเยี่ยมเยียนดูสภาพความเป็นอยู่ สอบถามสารทุกข์สุขดิบของพนักงาน สอบถามถึงปัญหาอุปสรรค รวมถึงความพึงพอใจในการทำงานเพื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปปรับปรุงพัฒนาองค์กร ท้ายที่สุดแล้วโครงการนี้ก็ได้การตอบรับจากพนักงานและครอบครัวเป็นอย่างดี
บางจาก-ไทยซัมมิท Happy Heart: น้ำใจงาม
ทั้งนี้แนวทางสร้างความสุขที่เกิดจากความมีน้ำ ใจเอื้ออาทรต่อกันและกันในองค์กร ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญเพราะคือต้นทุนของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มประสิทธิผลขององค์กรอย่างแท้จริง องค์กรตัวอย่างการปฏิบัติด้านนี้ได้น่าสนใจ คือ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ได้จัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ในวันเกิดพนักงานของ โดย HR จะจัดงานวันเกิดให้พนักงานทุก 2 เดือนมีผู้บริหารมาอวยพร ทานอาหารกลางวันร่วมกัน
จากนั้นก็พากันไปเยี่ยมเยียนชุมชนที่อยู่รอบๆบริษัท ไปถามไถ่สารทุกข์สุขดิบของเขา ดูว่ามีอะไรที่บริษัทสามารถช่วยชุมชนได้บ้าง มีของที่ต้องใช้ในครัวเรือน เช่น ยาสามัญประจำบ้าน ร่มฯลฯ ติดมือไปมอบให้บ้าง กิจกรรมนี้ นอกจากจะแสดงให้เห็นถึงความเอื้ออาทรที่บริษัทฯมีต่อพนักงานแล้ว ยังบูรณาการเรื่องของความเอื้ออาทรต่อชุมชนและสังคมเข้ามาอยู่ในกิจกรรมเดียวกันได้อย่างกลมกลืน พนักงานได้เรียนรู้ทั้งการเป็น “ผู้รับ” และ “ผู้ให้” ในเวลาเดียวกัน
ทางด้าน บริษัท ไทยซัมมิท ฮาร์เนส จำกัด (มหาชน) ได้กิจกรรมประกาศพนักงานดีเด่นและวันเกิดของพนักงานประจำเดือน เพื่อสนับสนุนขวัญและกำลังใจให้กับพนักงานที่มีความตั้งใจและทุ่มเทในการปฏิบัติหน้าที่ บริษัทฯ มีการประกาศยกย่องพนักงานดีเด่นในทุกๆ เดือน พร้อมกับมีการจัดงานวันเกิดให้แก่พนักงานที่มีวันคล้ายวันเกิดในเดือนนั้นๆ ด้วย ถือเป็นการนัดพบปะพนักงานเพื่อแจ้งข่าวสารและกระชับความสัมพันธ์ภายในองค์กร เมื่อถึงช่วงเวลานี้ ฝ่ายบริหารจะจัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่มมาเลี้ยงพนักงานที่มาเข้าร่วมงานได้รับประทานกันอย่างเต็มที่
เผยขั้นตอนองค์กรสร้างสุข
สำหรับ ขั้นตอนสร้างองค์กรแห่งความสุข ผอ.แผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน แนะนำว่า “ก่อนที่คุณจะทำให้องค์กรมีความสุขจะต้องรู้ก่อนว่าอะไรที่จะทำให้องค์กรมีความสุข ขณะเดียวกันก็ต้องถามว่าองค์กรเป็นใคร ต้องการอะไร มีวิสัยทัศน์หรือเป้าหมายในอนาคตอย่างไรบ้าง และคนที่จะตอบสนองวิสัยทัศน์อีก5-10 ปีต้องเป็นแบบใด ซึ่งก็ต้องมาคิดคนในองค์กรว่าจะต้องเป็นแบบใด หลังจากนั้นก็ต้องมาดูแต่ละด้านของคนว่าจะต้องใส่ความสุขด้านใดเข้าไปบ้าง อาจเป็นความสุขของตัวเอง ที่ทำงาน ครอบครัว หรือสังคม เป็นต้น
ต่อมาก็มาจัดสมดุลว่า องค์กรลักษณะดังกล่าว ต้องการคนมีความสุขแบบใด เช่น องค์กรแบบบริการก็ต้องการคนความสุขด้านจิตใจหรือ Happy Heart มากๆ คิดถึงคนอื่นๆ ส่วนองค์กรที่ทำงาน ก็ต้องการคนที่มีความสุขพัฒนาตนเองและมีความรับผิดชอบเช่น Happy Brian ซึ่งมันเป็นการตอบสนองการสร้างทีมเวิร์คในองค์กรได้อย่างยั่งยืน และยังมีความคิดสร้างสรรค์
ไม่เพียงเท่านี้ ต้องเริ่มต้นจากการเรียนรู้และทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ “คน องค์กร ทรัพยากรมนุษย์ และวัฒนธรรมองค์กร” ซึ่งมีความสำคัญและความสัมพันธ์ที่ส่งผลเชื่อมโยงต่อกันและกัน จากนั้นจึงออกแบบกระบวนการ “แนวดิ่ง” คือ การผลักดันให้เป็นนโยบายขององค์กรโดยผู้บริหารให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่และ “แนวระนาบ”คือ การทำงานในรูปแบบของเครือข่ายที่ทำให้คนระดับในองค์กรรับรู้ เข้าใจและเปิดใจ
รวมทั้ง การเข้าไปมีส่วนร่วมในการคิดรูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับบริบทขององค์กร โดยการออกแบบกระบวนการต้องยึดหละก “การทำงานเป็นทีม ที่นำมาซึ่งความสุขในการทำงานและส่งผลให้เกิดความคิดสร้างสรรค์”เพื่อมุ่งหวังในการเพิ่มคุณภาพชีวิตและขีดความสามารถของคนทำงาน อันจะนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพ ความเป็นเลิศ และการเพิ่มผลิตผลขององค์กรได้ในที่สุด
ผู้บริหาร-HR-พนักงาน ปัจจัยสำคัญHappy Workplace
ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญของการสร้าง Happy Workplace ประกอบด้วย หนึ่ง-ผู้บริหารต้องรับรู้เข้าใจและสนับสนุน โดยผู้บริหารต้องรับรู้ว่า องค์กรแห่งความสุข คืออะไร ความสุขคืออะไร และเข้าใจว่า ความสุขสามารถนำไปสู่การสร้างประโยชน์อะไรบ้าง ที่สำคัญ คือ งานHR ต้องทำให้ผู้บริหารสนับสนุนให้ได้
สอง- HR ต้องรับรู้ เข้าใจและปฎิบัติได้จริง โดย HR ต้องรู้ว่าองค์กรคืออะไร ทรัพยากรมนุษย์คืออะไร วัฒนธรรมองค์กรคืออะไร องค์ประกอบทั้งหมดมีความสำคัญและความสัมพันธ์เชื่อมโยง ส่งผลต่อกันอย่างไร และจะทำอย่างไรให้เกิด องค์กรแห่งความสุขได้จริง
สาม- พนักงานต้องรับรู้ เข้าใจและมีส่วนร่วมกิจกรรมที่จะทำ เพื่อนำไปสู่องค์กรแห่งความสุขให้ทุกองค์กรมีส่วนร่วม ต้องให้ทุกคนรู้สึกเป็นส่วนร่วม เพราะการเพิ่มการมีส่วนร่วมของคนในองค์กร คือ หลักการสำคัญของHappy Workplace
ทั้ง 3 ปัจจัยนี้ ต้องประสานและร่วมมือร่วมใจกันเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของตนเอง โดยไม่มองว่า
Happy Workplace เป็นระบบที่ต้องทำและทำตามกระแส แต่ต้องเรียนรู้ว่าองค์กรอื่นๆเขาอยู่กันอย่างไร จึงมีความสุขและเราควรจะมาปรับใช้ให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรของเราได้อย่างไร เพื่อสร้างให้ความสุขเป็นนโยบายขององค์กร
ผู้นำคิดบวก ตัวแปรองค์กรแห่งสุข
นอกจากปัจจัยดังกล่าว ภาวะผู้นำก็ตัวแปรที่ทำให้การสร้างองค์กรแห่งความสุขประสบความสำเร็จ โดย ผู้อำนวยการแผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน ให้ทัศนะว่า สิ่งสำคัญ คือ ทัศนคติที่ดีต่อคนในองค์กรหรือต้องมองลูกน้องในแง่บวก เพราะสังคมที่ผ่านมามององค์กรแบบกลับทิศ โดยมองคนในองค์กรในทางลบ
“ผู้นำจะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนในองค์กร โดยต้องมีภาวะผู้นำอย่างแท้จริง และที่สำคัญที่สุด คือ จะต้องทำให้คนในองค์กรเชื่อใจผู้นำให้ได้ หมายถึง ต้องมีทัศนคติระหว่างกันเป็นแบบบวก
ซึ่งเกิดขึ้นจากการมีองค์ความรู้ ภาวะผู้นำ หรือหากคุณจะเรียนจบจากฮาเวิร์ดเก่งขนาดไหน หากมีทัศนคติลบต่อองค์กรทุกอย่างก็ไม่สามารถบริหารองค์กรให้ไปรอด”นายแพทย์ชาญวิทย์ บอกในตอนท้าย
Happy Workplace By Happy 8
“องค์กรแห่งความสุข” หรือHappy Workplace เป็นการเปิดความคิดและให้ความรู้กับองค์กรต่างๆ เพื่อให้หันมาใส่ใจเรื่อง “คุณภาพชี วิ ต” ของคนทำงาน ที่ครอบคลุมทั้งด้านกาย ใจ จิตวิญญาณ และสังคม ได้อย่างสมดุล โดยมี “ความสุข 8ประการ” หรือ Happy 8 เป็นแนวทางสนับสนุนให้องค์กรต่างๆ นำไปปฏิบัติเพื่อสร้างความสุขในการทำงานตามวิถีและบริบทของตนเองได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน
นอกจากนี้ ยังหมายถึง กระบวนการพัฒนาคนในองค์กรอย่างมีเป้าหมายและยุทธศาสตร์ ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กร เพื่อให้องค์กรมีความสามารถและพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง นำพาองค์กรไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน
ความสุข 8 ประการ หรือHappy 8 เป็น“เครื่องมือ” สร้างความสุขในองค์กร ที่ต้องการสื่อถึงความสุขที่สมดุลทุกด้านของชีวิตอันจะนำไปสู่ผลลัพธ์ 3 ประการคือ “คนทำงานมีความสุข ที่ทำงานน่าอยู่และชุมชนสมานฉันท์” ภายใต้แนวคิดที่ว่าคนจะมีความสุขได้ต้องประกอบด้วยปัจจัยสำคัญ 8 อย่างที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน“เครื่องมือ” เข้าถึงความสุขตาม
Happy 8 ความสุขทั้งแปด ประกอบไปด้วย Happy Body (สุขภาพดี) , Happy Heart (น้ำใจงาม) , Happy Soul (ทางสงบ) , Happy Relax (ผ่อนคลาย) , Happy Brian (หาความรู้) , Happy Money (ปลอดหนี้) , Happy Family (ครอบครัวดี) และ Happy Society (สังคมดี)
ทั้งนี้ เคล็ดลับการพัฒนาสู่ “องค์กรแห่งความสุข” ต้องมี teamwork ซึ่งทำงานเป็น team ที่ work ได้จริงในรูปแบบที่ทุกคนใน team เป็นพวกเดียวกันรักใคร่สามัคคีกัน ทำ งานร่วมกันอย่างมีความสุข (happy) อยู่ด้วยกันแล้วพัฒนาก้าวหน้าขึ้น เพราะมีความคิดสร้างสรรค์(creativity)การอยู่ร่วมกันของคนในองค์กรต้องทำให้ทุกคนรู้สึกว่ามีการสร้างสรรค์ การพัฒนา การเติบโต การให้คุณค่าของคน
|