Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์6 เมษายน 2552
ยุทธการเพิ่มมูลค่าแบรนด์เกาหลีครั้งใหม่ เตรียมสั่นสะเทือนตลาดโลก             
 


   
search resources

Marketing
Branding




เวลาพูดถึงมูลค่าแบรนด์ทางการตลาด (Brand Value) ส่วนใหญ่มักจะมองแบรนด์ในระดับรายสินค้า หรือระดับผู้ประกอบการรายตัวเท่านั้น แต่แนวคิดทางการตลาดใหม่ตอนนี้ มีการพยายามเพิ่มพูนมูลค่าของแบรนด์ใหม่อีกระดับหนึ่งคือระดับประเทศ โดยใช้คำว่า Country's brand value

อย่างเช่น กรณีของสหรัฐอเมริกา มูลค่าของแบรนด์รวมระดับประเทศในปีที่แล้วคิดเป็นมูลค่าออกมาแล้ว ประมาณ 143% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติหรือ GDP

ขณะที่มูลค่าแบรนด์รวมในระดับประเทศของญี่ปุ่นอยู่ที่ประมาณ 224% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ

การที่เกาหลีใต้เดือดร้อนในมุมมองของมูลค่าแบรนด์วันนี้ ก็คงมาจากการประเมินแล้วพบว่า มูลค่าแบรนด์รวมระดับประเทศของเกาหลีคิดมูลค่าออกมาแล้วยังไม่ถึง 30% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติด้วยซ้ำ

ตัวเลขที่ห่างกันขนาดนี้ ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองที่เกาหลีใต้คงจะอยู่เฉยต่อไปอย่างเดิมไม่ได้อีกต่อไป

เมื่อไม่นานมานี้ จึงมีข่าวออกมาว่า จะมีทีมอาสาสมัครชุดใหญ่ที่จะตระเวนออกไปในต่างประเทศ เพื่อโปรโมตแบรนด์เกาหลีตามโปรแกรมของทางการ ผ่านหน่วยงานที่เรียกว่า คณะกรรมการ Council on Nation Branding

เป้าหมายหลักของโปรแกรมนี้ คือ การยกระดับตำแหน่งของการแบรนด์ที่มีการจดจำในระดับประเทศจากปัจจุบันที่อยู่ในอันดับ 33 ขึ้นไปอยู่ในอันดับเป้าหมายที่ 15 ภายในปี 2013


ขอบเขตของโปรแกรมการโปรโมตแบรนด์ระดับประเทศมีหลายอย่างด้วยกัน เช่น การแลกเปลี่ยนนักเรียนระหว่างประเทศผ่านทุนการเรียน,การสนับสนุนครอบครัวต่างวัฒนธรรม,การกระตุ้นจิตสำนึกในการต้อนรับและดูแลช่างต่างประเทศในหมู่ประชาชน,การส่งเสริมการยอมรับในศิลปะ วัฒนธรรม และภาษาเกาหลี

อีกส่วนหนึ่งที่นอกเหนือจากการเน้นภาพลักษณ์ทางวัฒนธรรมและทางภาษา คือ แคมเปญการตลาด ด้วยการคิดเลือกและขอความร่วมมือจากแบรนด์ชั้นนำของประเทศที่เรียกว่า top 100 เข้าร่วมในโครงการนี้ด้วย

เป้าหมายปลายทางของแคมเปญนี้จะเน้นตลาดของประเทศกำลังพัฒนาด้วยกันเป็นหลัก ทั้งในเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้

จำนวนคนที่จะร่วมในโครงการในฐานะอาสาสมัครครั้งนี้ จะมีจำนวนมากกว่า 3,000 รายต่อปี ซึ่งเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ร่วมโครงการแล้ว ถือว่ามากเป็นอันดับ 3 ของโลก รองลงมาจากทีมงานของสหรัฐฯ และญี่ปุ่นที่ครองตลาดอันดับ 1 และ 2 ของโลก

สำหรับการประเมินและจัดอันดับประเทศนี้ มีการพิจารณาในหลายระดับ ระดับแรกคือระดับภาพลักษณ์โดยรวมของแบรนด์ เกาลีใต้ถูกมองว่าเป็นประเทศของผู้คนที่ทำงานหนัก มีนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ซึ่งจะต้องปรับไปสู่การแบ่งปันความหมายของการดำรงชีวิตมากขึ้น หารอยยิ้มในกลุ่มผู้คนมากขึ้น มีภาพของความเป็นมิตรมากขึ้น

ในมุมมองของวิธีการปฏิบัติทางธุรกิจ พบว่าการรับรู้ทั่วไป คือ คนมีวิธีการคิดเชิงธุรกิจเป็นหลัก ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าจะเป็น win-win solution กับทุกฝ่ายหรือเปล่า มีความเป็นธรรมหรือเสมอภาคหรือไม่ และน่าเชื่อถือหรือไว้ใจได้หรือไม่ อันเป็นประเด็นหนึ่งที่ลดแรงดึงดูดในการหาคู่ค้าหรือพันธมิตรจากต่างประเทศ

ระดับที่สองคือ มุมมองเชิงวัฒนธรรม การที่คนเกาหลีมีภาพลักษณ์ออกมาอย่างที่ระบุข้างต้น ส่วนหนึ่งมาจากโครงสร้างทางวัฒนธรรมมีอิทธิพลอยู่ด้วย ซึ่งการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างคนเกาหลีจะต้องสะท้อนภาพของความเป็นมิตรมากขึ้น แทนที่จะมีเพียงความสุภาพเป็นหลัก

ระดับที่สาม คือ พฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ การสำรวจพบว่าคนรุ่นใหม่ในเกาหลีแตกต่างจากคนรุ่นพ่อแม่มีรอยยิ้ม มีความเป็นมิตร และใกล้ชิดสนิทสนมกันมากกว่า และมีความใส่ใจจะสื่อสารกันมากกว่ารุ่นก่อนๆ

แผนการของเกาหลีใต้ในการยกระดับแบรนด์ระดับประเทศเป็นไปอย่างกระตือรือร้นเพราะครอบคลุมถึง 10 จุด และแผนงานระยะยาวเพราะกำหนดช่วงเวลาเป้าหมายไว้ที่ปี 2013 และเป้าหมายของการก้าวกระโดดดีขึ้นถึง 18 อันดับ จากที่ปกติประเทศอื่นๆ มักจะวางเป้าหมายว่าจะยกระดับแบรนด์ประเทศ เพียง 2-3 อันดับเท่านั้น

จากการประเมินภาพที่ผ่านมาของดัชนีแบรนด์ระดับประเทศเกาหลีใต้ได้ตัดสินใจที่จะดำเนินแผนนี้ ด้วยการมองในส่วนของรายละเอียดของการดำเนินงานในบางสาขาทีละสาขา แทนมองแค่ภาพรวม อย่างเช่น มองที่องค์ประกอบของคน องค์ประกอบของวัฒนธรรม หรือการกำกับดูแลกิจการ การท่องเที่ยว การอพยพของผู้คน

ในด้านแบรนด์ระดับประเทศนั้น แต่ละประเทศก็จะมีแนวทางการวางตำแหน่งทางการตลาดที่แตกต่างกันเช่น นิวซีแลนด์วางสโลแกนว่า '100% pure' มาเลเซีย มีสโลแกนว่า 'Truly Asia' สำหรับประเทศไทยวางสโลแกนว่า 'Amazing' ส่วนฮ่องกง ใช้สโลแกนว่า 'Asia's World City'

สถานการณ์ที่หลายประเทศออกมาโปรโมตแบรนด์ประเทศแบบเอาจริงเอาจังดังกล่าว แสดงถึงการให้ความสำคัญในเรื่องนี้มากขึ้น ซึ่งกรณีของเกาหลีใต้เองก็เคยพิสูจน์มาแล้ว่าสามารถจัดกิจกรรมการแข่งขันระดับโลกได้อย่างสบายๆ และยังมีผู้ประกอบการเจ้าของแบรนด์ระดับโลกหลายยี่ห้อ

แต่คู่แข่งด้านแบรนด์ประเทศของเกาหลีใต้ก็มีหลายประเทศ รวมถึงญี่ปุ่นจีน ซึ่งทำให้เกาหลีใต้ต้องค้นหาความแตกต่างของตนเองกับญี่ปุ่นกับจีนให้ได้ด้วย

สำหรับนักการตลาดระหว่างประเทศ ดูเหมือนว่าจะยกย่องว่าสิงคโปร์น่าจะเป็นต้นแบบที่ดีของประเทศที่ยกระดับภาพลักษณ์แบรนด์ระดับประเทศจากที่เคยเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน เป็นประเทศที่มีระเบียบวินัย มีการศึกษาดีและสะอาดสบายตา และพัฒนาด้านนิเทศสัมพันธ์อย่างกว้างไกล ตลอดจนมีการสื่อสารกับคนอื่นในลักษณะเครือญาติ

ที่สำคัญไม่เฉพาะเกาหลีเท่านั้นที่ต้องศึกษา หากแต่รวมถึงประเทศอื่นๆ ในเอเชียรวมทั้งไทยด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us