Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์6 เมษายน 2552
มิสเตอร์โดนัท สวนหมัดคู่แข่ง ยกภาพลักษณ์สู่ตลาดพรีเมียม             
 


   
search resources

มิสเตอร์ โดนัท
Snack and Bakery




อุณหภูมิของตลาดโดนัทมูลค่า 1,700 ล้านบาท ในปีนี้ร้อนแรงขึ้นทันที เพราะจากสถานการณ์ในตลาดที่มีการแข่งขันของผู้เล่นรายหลักในตลาดเพียง 2 แบรนด์คือ มิสเตอร์โดนัท VS ดังกิ้นโดนัท ทว่าความร้อนแรงของการแข่งขันเริ่มขึ้นเมื่อ 'มิสเตอร์โดนัท' โดนถล่มจากบรรดาแบรนด์หน้าใหม่ +เป็นแบรนด์นำเข้าได้เรียงหน้ากันเข้ามา

จากระลอกแรก เผชิญศึกกับ แด๊ดดี้ โด ที่เข้ามาในตลาดระยะหนึ่งแล้ว โดยต้นปีออกมาเดินเกมรุกขยายลูกค้าไปยังกลุ่มวัยรุ่น และปรับโฉมตัวสินค้าเพื่อสร้างการจดจำแบรนด์มากขึ้น

กระทั่งล่าสุด "แบ๊บเปิ้ล โดนัท แอนด์ คอฟฟี่" โดนัทจากประเทศมาเลเซีย ได้เริ่มเปิดฉากเข้ามาบุกตลาดโดนัทในไทย โดยเลือกทำเลเทรนด์เซตเตอร์ของวัยรุ่นเมืองไทย เปิดสาขาแรกที่สยามเซ็นเตอร์ ในพื้นที่ 86 ตารางเมตร ในคอนเซ็ปต์ของครัวเปิดซึ่งเป็นจุดขายหลัก ในการสร้างการรับรู้แบรนด์จับกลุ่มเป้าหมายกลุ่มวัยรุ่น โดยตั้งเป้า 5 ปี ขยายสาขาครอบคลุม 50 สาขา โดยจะมีทั้งการลงทุนของบริษัทเองและให้แฟรนไชส์ หรือลงทุนเฉลี่ย 10 ล้านบาทต่อสาขา จากงบลงทุนกว่า 500 ล้านบาท

ไม่เพียงจะต้องเผชิญศึกกับการเข้ามาบุกตลาดของ 'โดนัทสัญชาติมาเลเซีย' ที่ทำให้ 'มิสเตอร์โดนัท'ออกมาสวนหมัดคู่แข่ง เพราะยังต้องเผชิญศึกกับคู่แข่งทางตรง ซึ่งเป็นคู่ปรับรายสำคัญอย่าง 'ดังกิ้นโดนัท' โดย เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ก็ออกมาเคลื่อนไหวในเชิงรุกมากขึ้น โดยหลังจากปีที่ผ่านมาเริ่มขยายฐานสู่กลุ่มวัยรุ่น ด้วยกลยุทธ์การปรับคอนเซ็ปต์ร้านใหม่เป็น "คอฟฟี่และโดนัท" 4-5 สาขา มาปีนี้ใช้งบ 50 ล้านบาท เพื่อปรับร้านเป็นคอนเซ็ปต์ใหม่ให้มีสีสันสดใสเทรนดี้ทั้งหมด ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดกว่า 170 สาขา รวมทั้งขยับมาเล่นในตลาดเครื่องดื่มอีก โดยนำเข้ากาแฟสดดังกิ้นโดนัทจากอเมริกาเข้ามาจำหน่าย ราคาจะต่ำกว่าคู่แข่ง 20-25% รองรับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคที่ดื่มกาแฟมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อจะเพิ่มสัดส่วนรายได้จากเครื่องดื่มเป็น 30% โดนัท 70% จากเดิมเป็นเครื่องดื่ม 10% และโดนัท 90%

ปรากฏการณ์การเคลื่อนไหวในตลาดดังกล่าว เป็นสิ่งที่ทำให้'มิสเตอร์โดนัท' ออกมาสวนหมัดแบรนด์ใหม่ที่เข้ามาช่วงชิงตลาด โดยเริ่มจากการนำร้านรูปแบบใหม่ ที่ดีไซน์ในคอนเซ็ปต์ญี่ปุ่นมาตกแต่งร้าน ซึ่งถือว่าเป็นโมเดลเดียวกับการทำตลาด บริษัทแม่ที่ประเทศญี่ปุ่นประสบความสำเร็จ โดยร้านที่สาขา เซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ เป็นต้นแบบของร้านรูปแบบใหม่สาขาแรก

นอกจากการดีไซน์ร้านใหม่แล้ว 'ร้านมิสเตอร์โดนัท' ในคอนเซ็ปต์ใหม่ยังมีการขยายไลน์เมนูอื่นๆเข้ามาเพิ่มความหลากหลาย ซึ่งนอกจาก 'โดนัท' ที่เป็น Core Product จะมีวาไรตี้เพิ่มอีก 32 ชนิด ยังมีเมนู อาทิ 'ครัวซอง' 'ซุป' และ'ไอศกรีม' ซึ่งเป็นเมนูที่มีความแตกต่างจากสาขาอื่นที่เน้นยอดขายจากโดนัท และหลังจากที่ทำตลาดมานาน ทำให้ในปัจจุบันสินค้ากลุ่มโดนัท ได้กลายเป็นสินค้าที่ไม่มีความใหม่ เนื่องจากวางขายในตลาดมานานกว่า 31 ปี หลังจากเปิดสาขาแรกที่สยามสแควร์ โดยสาขาใหม่จะมีการปรับสัดส่วนยอดขายจากโดนัท 80% เครื่องดื่ม 20% จากสัดส่วนยอดขายของสาขาคอนเซ็ปต์เดิมมีสัดส่วน 90% เป็นโดนัท ส่วนอีก 10% เป็นสัดส่วนยอดขายมาจากกลุ่มเครื่องดื่ม

ความพยายามครั้งนี้ของ มิสเตอร์โดนัท ที่ออกมาทำตลาดยกระดับสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ให้ดูพรีเมียม และทันสมัยขึ้น ดูจะชัดเจนมากว่าออกมาเพื่อปกป้องตลาดและรับศึกหนักจากการรุกตลาดไทยของ "แบ๊บเปิ้ล โดนัท แอนด์ คอฟฟี่" ที่เข้ามาเขย่าบัลลังก์ของ 'มิสเตอร์โดนัท' ซึ่งครองส่วนแบ่ง 70 % ด้วยการวางตำแหน่งแบรนด์ที่มีความแตกต่าง ซึ่งได้จากการศึกษาและวิจัยตลาดและพฤติกรรมการบริโภคที่ส่วนใหญ่นิยมสินค้าพรีเมียมมาเป็นช่องว่างในการทำตลาดโดนัท

การวางทิศทางสำหรับบุกตลาดโดนัทระดับพรีเมียมในไทยของผู้เล่นรายใหม่ ไมค์ ชาน กรรมการผู้จัดการ บริษัท บิ๊ก แอปเปิ้ล อินเตอร์ เอเชีย จำกัด กล่าวว่า "ยอดขายรถเบนซ์ในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่ขายได้มากที่สุดในโลก หรือแบรนด์เนมต่างๆ ที่ขายดี สะท้อนถึงความนิยมในสินค้าพรีเมียม ดังนั้นด้วยจุดขายของ แบ๊บเปิ้ล โดนัท แอนด์ คอฟฟี่ จะได้รับผลการตอบรับที่ดีเช่นเดียวกัน'

สอดคล้องกับเหตุผลของการก้าวมาสู่การปรับคอนเซ็ปต์ร้านและเพิ่มเมนูใหม่ที่ สุชีพ ธรรมาชีพ ผู้จัดการทั่วไป แบรนด์มิสเตอร์โดนัท บริษัท เซ็นทรัล เรสตัวรองท์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวกับ 'หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ 360 รายสัปดาห์'

'จากการทำตลาดที่ผ่านมา มิสเตอร์โดนัท เป็นเบอร์ 1 ของตลาด เบียด ดังกิ้น โดนัท มาได้ นั่นก็เพราะมีการทำตลาดโดยจับกลุ่มเป้าหมายลูกค้าระดับแมส ด้วยสาขาที่ครอบคลุมพื้นที่ต่างจังหวัด 100 สาขา และกรุงเทพฯอีก 100 สาขา ซึ่งทำให้มีช่องว่างที่เป็นกลุ่มพรีเมียมที่เป็นร้านโดนัทและคอฟฟี่ ดังนั้นการเปิดสาขาในปีนี้ที่จะเปิดเพิ่มอีก 20-30 สาขา โดยแบ่งเป็นสาขากรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ส่วนหนึ่งจะเป็นร้านคอนเซ็ปต์ใหม่ นั่นก็เพื่ออุดช่องว่างตลาดรวมทั้งเป็นการยกระดับภาพแบรนด์มิสเตอร์โดนัทขึ้นมา ซึ่งหลังจากนี้จะเปิด

ร้านคอนเซ็ปต์ใหม่อีก 4 สาขาในเดือนเมษายน ส่วนในสาขาเก่าบางแห่งจะมีการเปลี่ยนมาเป็นคอนเซ็ปต์ร้านแบบญี่ปุ่นอีกเช่นกัน โดยจะใช้เกณฑ์ในการปรับรูปแบบร้านคอนเซ็ปต์ใหม่ตามลักษณะของกลุ่มลูกค้าในแต่ละพื้นที่เป็นหลัก โดยช่วงเวลาที่มีลูกค้าเข้าร้านมากที่สุดคือ ช่วงเย็น คิดเป็นสัดส่วน 40% และช่วงบ่าย 30% ของยอดขายทั้งวัน ขณะที่วันเสาร์-อาทิตย์นั้นจะมีลูกค้าเข้ามาในร้านทั้งวัน ส่วนยอดบิลสำหรับการเข้ามาใช้บริการในร้านมิสเตอร์โดนัท 70 บาทต่อคน'

ไม่เพียงคู่แข่งทางตรงเท่านั้น 'มิสเตอร์โดนัท' ยังเผชิญกับศึกอีกด้านจากคู่แข่งในธุรกิจ QSR : Quick Service Restaurant ซึ่งในระยะหลังได้มีการแตกไลน์สินค้ากลุ่มสแน็ก ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้ามากินตลาดร้านโดนัทด้วยเช่นกัน และแม้ว่าโอกาสในการเข้ามาใช้บริการของร้านโดนัทจะมีความแตกต่างจาก 'แฮมเบอร์เกอร์' หรือ ' ไก่ทอด' ก็ตาม

ทว่าการขยายไลน์สินค้าทุกค่ายๆ อย่างกลุ่ม Heavy QSR เริ่มมีการแตกไลน์สินค้ากลุ่มสแน็กออกมาทำตลาด ดังนั้นหาก 'มิสเตอร์โดนัท' ไม่มีเมนูของอาหารประเภทอื่นๆบ้าง สุดท้ายคู่แข่งนอกตลาดที่อยู่ในตลาด Heavy QSR ก็จะเข้ามากินตลาดของมิสเตอร์โดนัท

'ในจุดที่คู่แข่งจาก Heavy QSR เข้ามากินตลาดโดนัทนี้ ผู้จัดการทั่วไป แบรนด์มิสเตอร์โดนัท กล่าวว่า การปรับร้านคอนเซ็ปต์ใหม่ด้วยเมนูนอกเหนือจากโดนัทคือ กลยุทธ์ที่ออกมาเพื่อรับมือกับการเข้ามากินตลาดของคู่แข่งนอกตลาด ซึ่งหลังจากจุดเริ่มของการเพิ่มเมนูใหม่ๆในครั้งนี้ ในอนาคตจะมีการต่อยอดไปสู่เมนูอาหารของคาวอื่นๆ แต่คงไม่เต็มรูปแบบเหมือนกับโมเดลของร้านมิสเตอร์โดนัทในประเทศญี่ปุ่นมีการขายโจ๊ก ติ่มซำ ซึ่งมีสัดส่วนยอดขายโดนัท 70% เมนูคาวและเครื่องดื่มมีสัดส่วน 30% ซึ่งในประเทศไทยมี Core Business เมนูโดนัทเป็นสินค้าหลัก โดยผลการทำรีเสิร์ชจากเอซีนีลเส็น มิสเตอร์โดนัท เป็นท็อปออฟมายด์ในลำดับต้นๆ ของลูกค้าในกลุ่มร้านโดนัท ขณะเดียวกันก็เป็นผู้นำในอันดับต้นๆ ของแคทิกอรีอื่นๆในกลุ่ม Light QSR ซึ่งเป็นกลุ่มสแน็กอย่าง ไอศกรีม และร้านเบเกอรี่' ผู้จัดการทั่วไป แบรนด์มิสเตอร์โดนัท กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us