Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2531
เวนเจอร์แคปปิตอลไทย เกิดง่าย แต่โตคงยาก             
 


   
www resources

โฮมเพจ สมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน

   
search resources

ธนสถาปนา
เฉลียว สุวรรณกิตติ
Investment
สมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน




พูดถึงธุรกิจเวนเจอร์แคปปิตอล หลายคนคงมีปุจฉาขึ้นในใจว่า "เอะ มันคืออะไรกัน" ? ไม่แปลกที่เป็นเช่นนี้เพราะอันที่จริงแล้ว ธุรกิจนี้มันใหม่เอามากๆ ในสหรัฐอเมริกาเองที่เป็นต้นตำรับธุรกิจนี้ก็เพิ่งมีธุรกิจนี้มาเพียง 40 กว่าปีเท่านั้นเอง (หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เล็กน้อย) และเพิ่งจะมีการพัฒนากันอย่างจริงจังก็ต้นทศวรรษที่ 70 นี้เอง เมื่อตลาดซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาด (OVER-THE COUNTER) เป็นที่นิยมของนักลงทุน

ว่ากันว่ากลุ่มธุรกิจที่บุกเบิกธุรกิจนี้ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน พอเอ่ยชื่อก็คงรู้จักกันทั่วไป เช่น พวกร็อคกี้ เฟลเลอร์, วิทนี่ย์ และฟิลิปป์ นั่นเอง

ส่วนในอังกฤษ กลุ่มผู้บุกเบิกก็พวกตระกูลร็อทไชลด์! ผู้รู้บางท่านให้ข้อสังเกตว่า เหตุที่ธุรกิจนี้ไม่ค่อยจะเติบโตเท่าไรนักในแถบยุโรปก็เพราะพวกประเทศแถบยุโรปมีข้อแตกต่างกันด้านภาษา กฎหมาย และประเพณีนิยมในเชิงธุรกิจ

แต่อุปสรรคข้อนี้ หลังปี 1992 ไปแล้วไม่แน่เหมือนกัน เพราะยุโรปจะรวมกันเป็นหนึ่งเดียว บางทีธุรกิจนี้อาจจะบูมเหมือนกับในสหรัฐซึ่งมียอดเงินลงทุนในธุรกิจต่างๆ สูงถึง 500,000 ล้านบาทก็ได้

ในเมืองไทยเราธุรกิจนี้เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อกลางปีที่แล้วนี้เอง ผู้บุกเบิกเป็นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ 6 แห่ง ได้แก่ ไทยพาณิชย์ กสิกรไทย กรุงศรีฯ นครธน ไทยทนุ และเอเชีย โดยมี USAID ให้ความช่วยเหลือเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ 4% /ปี จำนวน 80 ล้านบาท และที่เหลืออีก 80 ล้านบาท แบงก์พาณิชย์ 6 แห่งที่ว่าเฉลี่ยกันออก

รวมความว่าธุรกิจนี้ตั้งไข่ขึ้นในเมืองไทยด้วยเงินทุน 160 ล้านบาทเป็นครั้งแรกในเมืองไทย ภายใต้ชื่อบริษัท ธนสถาปนา (BUSINESS VENTURE CAPITAL PROMOTION CO., LTD.) หรือ "BVP"

นอกจากบริษัทนี้ "ผู้จัดการ" ทราบว่าในอนาคตอันใกล้จะมีอีก 3 บริษัทที่เข้ามาทำธุรกิจนี้อีกคือ บริษัท ไทยร่วมทุนเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร (TAVC) ที่บริหารโดยกลุ่ม VENTANA บริษัทสีวี (ไทย) ที่บริหารโดยกลุ่มสีวี สิงคโปร์ และบริษัท VENTURE CAPITAL

เฉลียว สุวรรณกิติ กรรมการผู้จัดการธนสถาปนา เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า ปรัชญาของธุรกิจเวนเจอร์แคปปิตอลอยู่ที่การเข้าไปร่วมลงทุน (EQUITY PARTICIPATION) กับนักลงทุนในโครงการต่างๆ ที่มีขนาดไม่เกิน 125 ล้านบาท และไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท โดยจะเลือกโครงการที่มีอนาคตดีและผลตอบแทนสูง

ตรงนี้ก็มีข้อสังเกตว่าโครงการที่ธุรกิจเวนเจอร์แคปปิตอลจะเข้าไปร่วมลงทุนนั้นขีดวงไว้เป็นโครงการขนาดกลางและเล่าเท่านั้น ซึ่งโดยธรรมชาติมักจะมีความเสี่ยงสูง ปัญหาก็มีอยู่ว่าโครงการที่ดีมีอนาคตดังว่า มีวิธีการสืบค้นหรือวิเคราะห์อย่างไรจึงพอจะคาดหมายได้ว่าดีหรือไม่ดี?

ในปุจฉาแรกเฉลียวเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า เขาใช้วิธีสืบค้นและวิเคราะห์จากเครือข่ายข้อมูล และตัวบุคคลที่มีอยู่เป็นวิธีการสำคัญมากกว่าจะมุ่งเน้นการวิเคราะห์ประเมินผลได้ในโครงการ (PROJECT APPRAISAL) ที่แบงก์ชอบใช้

"ตอนที่บริษัทเราจะร่วมลงทุนกับบริษัท THAI CIRCUIT ผลิต PRINTED CIRCUIT BOARD ผมยังไม่รู้จักสินค้าตัวนี้เลยว่ารูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร? ผมสืบค้นโครงการนี้โดยวิธีไหว้วานให้อาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาฯ 3 ท่านมาเป็นที่ปรึกษาให้ความรู้กับผมตั้งแต่เรื่องเทคนิคของสินค้าไปจนถึงลู่ทางการตลาดของสินค้าตัวนี้ จนผมเข้าใจดี เสร็จแล้วก็ปรากฏผลว่าผมตัดสินใจร่วมลงทุน 30% เวลานี้ทราบว่าราคาหุ้นของบริษัทแห่งนี้ได้ถีบตัวขึ้นจาก 100 บาท เป็น 280 บาทแล้วในตลาดซึ่งขายนอกตลาดหลักทรัพย์" เฉลียวยกตัวอย่างให้ "ผู้จัดการ" ฟังถึงวิธีการสืบค้นพิเคราะห์การตัดสินใจร่วมลงทุนของบริษัทธนสถาปนา

ในขณะนี้ บริษัทธนสถาปนามีส่วนร่วมลงทุนในโครงการทั้งหมด 4 โครงการแล้วคือ โครงการผลิตไข่ผงของบริษัทผลิตภัณฑ์ไข่ผงแปดริ้วในสัดส่วน 5% ของวงเงินทุนจดทะเบียน 40 ล้านบาท โครงการผลิต CIRCUIT BOARD ของบริษัท THAI-CIRCUIT ในสัดส่วนของทุน 30% โครงการผลิตผักผลไม้กระป๋องของบริษัท RIVER KWAI INTERNATIONAL ในสัดส่วน 25% ของทุน โครงการผลิต INTREGATED CIRCUIT ของบริษัท THAI MICRO SYSTEM TECHNOLOGY ในสัดส่วน 30% ของทุน

เฉลียวย้ำให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า ธุรกิจเวนเจอร์แคปปิตอลเป็นกลไกสำคัญตัวหนึ่งในการสร้างธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อมให้บังเกิดขึ้นอย่างเข้มแข็งในประเทศ ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อธุรกิจเกิดขึ้นก็ย่อมต้องมีเถ้าแก่เกิดขึ้นด้วยตามมา โดยบริษัทเวนเจอร์ แคปปิตอลจะไม่เข้าไปเป็นเถ้าแก่ด้วยเพราะ "เป้าหมายการเข้าไปร่วมลงทุนต้องการผลตอบแทนสูงสุดจาก CAPITAL GAIN ไม่ใช่เข้าไปยึดอำนาจการบริหารหรือทุน"

ทุกวันนี้ธุรกิจเวนเจอร์ แคปปิตอลในเมืองไทยเพิ่งอยู่ในระดับตั้งไข่วงเงินที่ลงทุนร่วมในโครงการมีไม่มากเพียง 30-40 ล้านบาท ซึ่งนับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับธุรกิจเวนเจอร์ แคปปิตอล ในประเทศสหรัฐฯ หรือแม้แต่ในออสเตรเลีย

ปัญหามีว่า ในอนาคตธุรกิจนี้มีข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตหรือไม่? มองในปัจจุบันมีอุปสรรคไม่น้อยเลยเพราะ

ข้อจำกัดของธุรกิจนี้ไม่เพียงแค่ในแง่การรับรู้ถึงความสำคัญของมันเท่านั้น ในหมู่นักลงทุนไทย แต่กินความรวมถึงวัฒนธรรมทางธุรกิจในบ้านเราด้วยที่ยังคงฝังรากลึกอยู่กับรูปแบบของครอบครัว มากกว่าการเปิดโอกาสให้คนภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมลงทุน ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่สำคัญอีกตัวหนึ่งในการเลือกลงทุนของบริษัทเวนเจอร์ แคปปิตอล

ด้วยเหตุนี้การตื่นตัวของนักลงทุนไทยที่จะมาชวนให้บริษัทเวนเจอร์ แคปปิตอลเข้าร่วมลงทุนในโครงการก็ดี หรือขอคำแนะนำหรือช่วยเหลือโครงการก็ดี จึงเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยเป็นผลนัก ด้วยข้อจำกัดดังว่า

ตรงนี้เฉลียวยอมรับกับ "ผู้จัดการ" ว่า ส่วนใหญ่นักลงทุนไทยจะนึกถึงความต้องการนี้ถึงแบงก์พาณิชย์ก่อนใครอื่นด้วยความเคยชิน และเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะเปลี่ยนทัศนคตินี้ให้หันมาหาบริษัทเวนเจอร์ แคปปิตอล

แต่เฉลียวก็ยังมีความหวังอยู่ว่า เมื่อตลาดหลักทรัพย์ฯ เติบโตขึ้นอย่างเข้มแข็ง และบริษัทเวนเจอร์ แคปปิตอลแต่ละแห่งสามารถผนวกหรือร่วมประสานงานการให้บริการธุรกิจ (CO-BUSINESS) แก่นักลงทุนได้

ตรงจุดนี้ก็เป็นไปได้อย่างมากที่นักลงทุนอาจจะเปลี่ยนทัศนคติการลงทุนจากการที่พึ่งพิงแต่แบงก์พาณิชย์มาใช้ธุรกิจเวนเจอร์ แคปปิตอลมากขึ้นก็ได้

ก็ไม่รู้ว่าอีก 2 ปีข้างหน้าที่ครบกำหนดวาระสัญญาที่เฉลียวอยู่กับธนสถาปนา เขาจะได้เห็นความหวังนี้เป็นจริงหรือไม่?

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us