Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน7 เมษายน 2552
ทหารไทยจี้เอสเอ็มอีปรับตัวหนัก หวั่นเศรษฐกิจส่อทรุดยาว2ปี             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารทหารไทย

   
search resources

ธนาคารทหารไทย
Loan




แบงก์ทหารไทยแนะเอสเอ็มอีระมัดระวังในการทำธุรกิจ หลังเศรษฐกิจส่อทรุดยาว 2 ปี เตรียมรุกสินเชื่อซัพพลายเชนเสริมสภาพคล่องคู่ค้าเสนออัตราดอกเบี้ยพิเศษ ตั้งเป้าสินเชื่อเอสเอ็มอีโต 5,000 ล้านบาท ด้านธุรกิจรายย่อยฟุ้งเตรียมเห็นความเปลี่ยนแปลงของสาขาในไตรมาส2 นี้ พร้อมนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ยังไม่เคยมีในไทย

นายสยาม ประสิทธิศิริกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB เปิดเผยว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอยู่ในขณะนี้ทางผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) จำเป็นที่จะต้องมีความระมัดระวังในการทำธุรกิจหรือการค้าขายมากขึ้น เนื่องจากในภาวะเช่นนี้อาจทำให้เกิดในเรื่องของหนี้การค้า ซึ่งมีปัญหามาจากการที่คู้ค้าชำระหนี้ได้ล่าช้า และจะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของผู้ประกอบการได้ โดยภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวนี้ส่วนตัวมองว่าจะลากยาวเป็นเวลาประมาณ 2 ปี

สำหรับผลกระทบของการที่ลูกหนี้ทางการค้าชำระหนี้ล่าช้าและส่งผลต่อผู้ประกอบการอาจจะมีปัญหาในเรื่องสภาพคล่องนั้น เป็นส่วนทำให้ทางผู้ประกอบการมีความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้น โดยธนาคารมีแนวคิดที่จะนำเสนอสินเชื่อสำหรับเครือข่ายธุรกิจ (ซัพพลายเชน) ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยเข้ามาเสริมสภาพคล่องให้กับคู่ค้าที่อาจประสบปัญหาอยู่ ซึ่งธนาคารสามารถเห็นประวัติทางการเงินจากลูกค้ารายใหญ่ซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคารอยู่แล้ว โดยคู่ค้าส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจเอสเอ็มอี โดยธนาคารพร้อมที่จะให้การสนับสนุนสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ

“ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีตอนนี้จะต้องมีการปรับตัวมาก เพราะเศรษฐกิจชะลอตัว อีกทั้งยังมีเรื่องของการปรับลดต้นทุนการผลิต การควบคุมเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย รวมไปถึงเรื่องของการลดค่าใช้จ่ายด้านพนักงาน ควรให้มีการทำงานเป็นกะ พร้อมทั้งหาช่องทางการตลาดใหม่ โดยเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบมากในช่วงนี้ คือ ธุรกิจเอสเอ็มอีที่ทำด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม ธุรกิจชิ้นส่วนและยานยนต์ และธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ โดยเอสเอ็มอีทั้ง 3 กลุ่มต้องประคองตัวและปรับตัวอย่างมาก”

นายสยาม กล่าวอีกว่า ในปีนี้ธนาคารตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อใหม่ให้กับธุรกิจเอสเอ็มอี 45,000 ล้านบาท เมื่อหักกับสินเชื่อชำระคืนจะทำให้มียอดสินเชื่อเอสเอ็มอีเพิ่มขึ้นสุทธิ 5,000 ล้านบาท จากสิ้นปีที่ผ่านมามียอดสินเชื่อเอสเอ็มอี 117,000 ล้านบาท เพิ่มเป็น 122,000 ล้านบาท

“ยอดสินเชื่อเอสเอ็มของธนาคารมีค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับธนาคารขนาดใหญ่ ขณะที่ฐานลูกค้ามีขนาดใหญ่ ทำให้ธนาคารมีความนสามารถในการขยายสินเชื่อเอสเอ็มอีได้อีกมาก”

สำหรับสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของธุรกิจเอสเอ็มอี ในปัจจุบันมีอยู่กว่า 10 % ของสินเชื่อเอสเอ็มอี ขณะที่เอ็นพีแอลที่เกิดขึ้นใหม่มีอัตราน้อยกว่า 1 % เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาธนาคารมีการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เอ็นพีแอลที่ค้างอยู่จะเป็นเอ็นพีแอลรายเดิม

ด้านนางกาญจนา โรจวทัญญู ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานส่งเสริมการตลาดลูกค้ารายย่อย ธนาคารทหารไทย กล่าวว่า แผนงานในส่วนของธุรกิจรายย่อยเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเพิ่มสัดส่วนรายได้ของธุรกิจรายย่อยเป็น 40 % นั้น จะเริ่มจากการดูแลในเรื่องของสาขา ซึ่งในขณะนี้ค่อนข้างมั่นใจว่าในช่วงไตรมาส 2 นี้จะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนของสาขาธนาคาร ซึ่งจะเป็นสิ่งดึงดูดให้ผู้ทื่ยังไม่เคยเป็นลูกค้าหรือเป็นลูกค้าของธนาคารอยู่แล้วให้ความสนใจกับธนาคารมากขึ้น ทั้งนี้ธนาคารจะมีการนำผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ซึ่งยังไม่เคยมีในเมืองไทยและยังไม่เคยมีให้บริการในสาขามาก่อน

สำหรับการแข่งขันของธุรกิจรายย่อยในตลาดนั้น ยังคงมีค่อนข้างสูง โดยหลายธนาคารจะมีการทำตลาดที่ครบเครื่องมากขึ้น และมีรูปแบบที่หลากหลายขึ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องดีที่ผู้จะได้ประโยชน์มากที่สุดจากการแข่งขันคือผู้บริโภคนั่นเอง ในส่วนของธนาคารทหารไทยขณะนี้ก็มีความพร้อมที่จะแข่งขันอยู่แล้ว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us