Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน7 เมษายน 2552
กสิกรฯห่วงการเมืองป่วนฉุดศก.             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
ประสาร ไตรรัตน์วรกุล
Loan




แบงก์กสิกรไทยมั่นใจสินเชื่อปีนี้เข้าเป้า หลังเดือนมี.ค.และแนวโน้มครึ่งปีหลังมีสัญญาณเป็นบวก ยันไม่มีนโยบายไม่ปล่อยสินเชื่อเพราะเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ ชี้กนง.หั่่นดอกเบี้ยอีกรอบ หวั่นสถานการณ์ทางการเมืองไม่นิ่ง การชุมนุมยืดเยื้อกระทบเศรษฐกิจ

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า ธนาคารยังมีความมั่นใจเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อในปีนี้ว่าจะมีการขยายตัวที่ 5% เนื่องจากคาดว่าสินเชื่อในช่วงครึ่งปีหลังจะเริ่มมีการปรับตัวดีขึ้น แต่ก็ต้องรอดูถึงปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจว่าเป็นอย่างไรด้วย โดยในส่วนของการปล่อยสินเชื่อในเดือนมีนาคมที่ผ่านมานั้นได้เริ่มปรับตัวดีกว่าช่วง 2เดือนแรกที่มีความต้องการสินเชื่อไม่สูงนัก แต่ยังไม่เพียงพอที่จะทดแทนการปล่อยสินเชื่อในช่วง 2 เดือนที่ติดลบได้

ส่วนกรณที่มีข่าวว่าธนาคารพาณิชย์ไม่ปล่อยสินเชื่อเนื่องจากกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) นั้น ส่วนตัวเชื่อว่าธนาคารทุกแห่งยังคงมุ่งเน้นที่จะทำการปล่อยสินเชื่อ เนื่องจากเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กับธนาคาร และขณะนี้ธนาคารทุกแห่งยังคงมีสภาพคล่องอยู่ในระดับที่สูง

สำหรับการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ในวันที่ 8 เมษายนนี้ คาดว่า การประชุมดังกล่าวอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก ส่วนในกรณีที่มีบางธนาคารได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยไว้ก่อนหนี้แล้ว และหลังจากการประชุมกนง. จะปรับลดอีกหรือไม่นั้นยังไม่สามารถให้คำตอบได้ แต่ยังมีหลายธนาคารที่ยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยและยังรอสัญญาณการประชุม กนง. ก่อนพิจารณาปรับลด

นายประสาร กล่าวว่า ขณะนี้มีความเป็นห่วงกับสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน เนื่องจากการชุมนุมของกลุ่มนปช.หากยืดเยื้อ อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ซึ่งทุกฝ่ายควรที่จะคิดถึงส่วนรวมเป็นหลัก และจะเป็นสิ่งที่ดีหากสถานการณ์การเมืองสงบลงได้ ในส่วนของธุรกิจธนาคารนั้นคงไม่สามารถร่วมแก้ปัญหาการเมืองได้ เพราะเป็นเรื่องใหญ่และเกินกำลัง จึงขอให้คนที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ควรคิดถึงส่วนรวมให้มาก เนื่องจาก ปัญหาการเมืองจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภครวมถึง เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

ด้านนายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า การปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยในช่วง 3 เดือนแรกนั้น มียอดการปล่อยสินเชื่ออยุ่ที่ 6,200 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มียอดการปล่อยสินเชื่ออยู่ที่ 5,900 ล้านบาท ส่วนกรณีที่ว่าธนาคารไม่ยอมปล่อยสินเชื่อนั้นส่วนตัวมองว่าไม่เป็นความจริง เนื่องจากยอดการปล่อยสินเชื่อ 3 เดือนแรกนั้นมีการเติบโตขึ้นและเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนด้วย

“สาเหตุที่สินเชื่อเดือนมีนาคมปรับตัวได้ดีเนื่องจากมาตราภาษีหมดกำหนดในวัน 28 มีนาคมนี้ จึงส่งผลให้สินเชื่อไตรมาสแรกมีสัญญาณการเติบโตได้ดีด้วย แต่ถ้าเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสที่เหลือยังไม่ดีขึ้นก็มีความเป็นไปได้ที่สินเชื่อทั้งปีจะไม่สามารถเติบโตได้มากเท่าที่ควร”

ทั้งนี้ธนาคารเริ่มมีความเข้มงวดด้านการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น โดยธนาคารได้หันมาปล่อยสินเชื่อลูกค้าที่มีรายได้ 30,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป มีวงเงินกู้เฉลี่ยประมาณ 2-2.5 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 70% ในส่วนของลูกค้าที่มีรายได้ 15,000 หมื่นบาทต่อเดือน นั้นธนาคารยังคงปล่อยกู้อย่างต่อเนื่องแต่จะเริ่มลดสัดส่วนลง

ส่วนปีนี้ธนาคารฯตั้งเป้าคุมเอ็นพีแอลของสินเชื่อบ้านไม่ให้เกิน 2.1% ซึ่งปัจจุบันมีเอ็นพีแอล อยู่ที่ 1.8% จากช่วงเดือนเดียวกันของปีก่อนมีเอ็นพีแอลอยู่ที่ 3.5-3.6% ขณะนี้เริ่มพบหนี้เสียเพิ่มขึ้นแล้วประมาณ 0.1% ทั้งนี้คาดว่าในช่วงเดือน มี.ค.-พ.ค. เป็นช่วงการใช้จ่าย อาจจะเริ่มเห็นหนี้เสียเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ เป็นผลมาจากลูกค้าจะเริ่มชำระหนี้ล่าช้ามากขึ้น

“ไตรมาสแรกนี้เราได้เริ่มเห็นลูกค้าผิดนัดชำระเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำสุดในกลุ่มซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ 1.8-1.9% ขณะที่แบงก์อื่นอยู่ที่ 4-5% ส่วนตัวจึงไม่เป็นห่วงการเพิ่มขึ้นของหนี้เสียแต่ก็จะระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น”   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us