Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน7 เมษายน 2552
เอกชนมึน Q2 เจอ 2 ศึกส่งออกวูบ-การเมืองซ้ำ             
 


   
www resources

โฮมเพจ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

   
search resources

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
Commercial and business
สันติ วิลาสศักดานนท์




ภาคเอกชนเผยทิศทางส่งออกไตรมาส 2 ยังคงส่งสัญญาณติดลบใกล้เคียงกับไตรมาสแรก เหตุเศรษฐกิจโลกยังค่อยๆ ฟื้นตัวอาจเห็นผลในช่วงไตรมาส 3- 4 มากกว่า แต่ไตรมาส 2 ภาคการผลิตอาจต้องกระทบมากกว่าเหตุทั้งจากปัจจัยเศรษฐกิจโลกและวิกฤติการเมืองไทยหากรุนแรงและยืดเยื้อจ่อซ้ำเติมเพิ่มเข้าไปอีกชี้หลายอุตสาหกรรมยังต้องพึ่งพิงตลาดในประเทศอยู่

นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า จากการสอบถามสมาชิกส.อ.ท.เบื้องต้นเกี่ยวกับคำสั่งซื้อ(ออร์เดอร์) ในไตรมาส 2 ส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยดีนักแต่หากเทียบกับไตรมาสแรกมีโอกาสจะติดลบน้อยกว่า เนื่องจากเศรษฐกิจตลาดหลักส่งออกของไทยทั้งสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป(อียู)และญี่ปุ่นเองยังค่อยๆ ฟื้นตัวและคงจะไปเห็นผลชัดเจนช่วงไตรมาส 3-4 อย่างไรก็ตามการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.)วันนี้(7เม.ย.)จะมีการหารือเกี่ยวกับการเตรียมประเด็นนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจกับนายกรัฐมนตรีในเวทีคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน(กรอ.)วันที่ 8 เม.ย.นี้

“การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงใหญ่วันที่ 8 เม.ย.นี้หากเป็นไปภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญไม่มีความรุนแรงคงจะกระทบกับความเชื่อมั่นไม่มากแต่หากบานปลายและยืดเยื้อก็จะส่งผลลบทั้งต่อการท่องเที่ยว การลงทุนที่จะชะลอตัวไปมากขึ้นและการบริโภคที่จะไม่กระเตื้องซึ่งจะเป็นการซ้ำเติมภาคการผลิตที่ส่วนหนึ่งต้องพึ่งพิงตลาดในประเทศ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐที่ออกไปก็เหมือนสูญเปล่า”นายสันติกล่าว

นายธนิต โสรัตน์ รองประธานส.อ.ท. กล่าวว่า เบื้องต้นคำสั่งซื้อล่วงหน้าในไตรมาส 2 ภาพรวมยังคงติดลบ แต่ยังประเมินไม่ได้ว่าจะติดลบน้อยกว่าไตรมาสแรกหรือไม่ซึ่งคงจะต้องติดตามอีกระยะหนึ่งเนื่องจากขณะนี้ออร์เดอร์การผลิตส่วนหนึ่งมีการทยอยเข้ามาต่างจากอดีตที่จะสั่งซื้อล็อตใหญ่และสั่งยาวเป็นไตรมาส โดยอุตสาหกรรมหลักๆ ที่มีผลต่อการเติบโตเศรษฐกิจไทยเช่น ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ คำสั่งซื้อยังคงลดลงและทรงตัวในระดับต่ำมีเพียงอุตสาหกรรมอาหารที่ยังเติบโตระดับหนึ่งเท่านั้นซึ่งทำให้ภาพรวมการส่งออกไตรมาส 2 อาจจะติดลบใกล้เคียงกับไตรมาสแรกหรือลดลงเล็กน้อย

“เอกชนเองได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกอยู่แล้วแต่ไตรมาส 2 ยังต้องมารับผลกระทบจากปัจจัยการเมืองอีกซึ่งไม่ต้องการเห็นการเมืองที่นำไปสู่ปัญหาความรุนแรงหรือยืดเยื้อ วิกฤติเศรษฐกิจโลกนั้นควบคุมไม่ได้ แต่วิกฤติการเมืองยังควบคุมได้ โดยคนในประเทศ หากคนไทยต้องเผชิญวิกฤติ 2 ด้านไปพร้อมกันการกระตุ้นเศรษฐกิจให้กระเตื้องได้ในโดยเร็ว คงไม่เกิดขึ้นแน่ “ นายธนิตกล่าว

นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธานสายแรงงานส.อ.ท.กล่าวว่า ประเมินออร์เดอร์ไตรมาส 2 แล้วยังมองว่าส่งออกยังคงมีทิศทางทรุดตัวใกล้เคียงกับไตรมาสแรกจะเห็นได้จากการสำรวจความคิดเห็นทิศทางออร์เดอร์ส่วนใหญ่สมาชิกระบุว่ายังคงที่อยู่ดังนั้นเฉลี่ยไตรมาส 2 ยังคงมีทิศทางติดลบเป็นตัวเลข 2 หลักเหมือนไตรมาสแรกแต่จะเป็นอย่างไรคงจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลที่ชัดเจนก่อน

“ต้องยอมรับว่าปี 2552 เป็นปีที่ภาคการผลิตต้องเผชิญวิกฤติมากสุดคงเทียบกับปี 2540 ไม่ได้เพราะตอนนั้นส่งออกแฮปปี้กันเพราะค่าเงินบาทอ่อนค่ามากไปอยู่ 50 บาทต่อเหรียญสหรัฐ และตลาดส่งออกก็ไม่ได้เป็นปัญหาทำให้การส่งออกนั้นดีมาก และต่างชาติก็มาช้อปของถูกบ้านเราแต่เวลานี้ตรงกันข้ามกัน ภาคการผลิตกำลังจะแย่แล้วมันจะกระทบเป็นลูกโซ่”นายทวีกิจกล่าว

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานส.อ.ท.กล่าวว่า ขณะนี้โรงงานอุตสาหกรรมเหล็กยังคงใช้อัตราการผลิตที่ต่ำเพียง 30-40% เท่านั้นเพราะสินค้าคงคลังยังคงมีสูงอยู่ทำให้โรงงานเดินเครื่องผลิตตามคำสั่งซื้อเป็นหลัก อย่างไรก็ตามในแง่ของคำสั่งซื้อเหล็กจากต่างประเทศยังแทบไม่มีเพราะเศรษฐกิจโลกยังชะลอตัว ภาคการก่อสร้างต่างๆ ไม่ได้มากเช่นอดีตประกอบกับอุตสาหกรรมที่ใช้เหล็กต่างเผชิญวิกฤติหมดเช่น ยานยนต์ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

นายสมมาต ขุนเศรษฐ รองเลขาธิการส.อ.ท. ในฐานะทำธุรกิจด้านรองเท้าส่วนตัวแล้วสัญญาณคำสั่งซื้อจากต่างประเทศในกิจการรองเท้าเมื่อตลาดสหรัฐ อียูมีปัญหาคงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าจะไม่มีผลกระทบดังนั้นออร์เดอร์ไตรมาส 2 ภาพรวมของอุตสาหกรรมรองเท้าใกล้เคียงกับไตรมาสแรก และคำสั่งซื้อล่วงหน้าที่กำลัเจรจากันในช่วงมี.ค.- เม.ย.ก็จะทำให้รู้ถึงทิศทางการส่งอกไปประมาณเดือน 8-9 ได้หลังจากนั้นก็คงตอบไม่ได้เช่นกัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us