Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน2 เมษายน 2552
โรงแรมเจ๊งระนาว-อสังหาฯจี้รัฐลดภาษี50%             
 


   
www resources

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

   
search resources

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
Economics




สศค.เชื่อส่งออกเดือน มี.ค.หดตัวต่อเนื่อง กดดันเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปีนี้ทรุดหนัก ต้องดูแลค่าเงินบาทให้แข่งขันได้ ด้านสำนักงานสถิติแห่งชาติเผยโรงแรม-รีสอร์ท เจ๊งระนาว ร้องรัฐสุดทนพิษการเมือง นักวิชาการแนะทางการลดภาษีท่องเที่ยว-อสังหาฯ 50% กู้วิกฤตด่วน

สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้ออกบทวิเคราะห์เรื่อง ”มองวิกฤตเศรษฐกิจผ่านวิกฤตส่งออกและนำเข้า” โดยคาดว่ามูลค่าและปริมาณการส่งออกสินค้าในเดือน มี.ค.52 จะหดตัวต่อเนื่องตามอุปสงค์ของเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าหลัก ประกอบกับฐานที่สูงมากในช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ สศค.คาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในไตรมาส 1 ปี 52 จะหดตัวมากกว่าไตรมาส 4 ปี 51 และจากมูลค่าการส่งออกในช่วง 2 เดือนแรกปี (ม.ค.-ก.พ.52) อยู่ที่ -19.2%

ปัจจัยที่ทำให้การส่งออกในเดือน ก.พ.52 ลดตัวลง ได้แก่ เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักหดตัวรุนแรง ทำให้มูลค่าการส่งออกของไทยหดตัวลง โดยเฉพาะสินค้าในหมวดอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนถึง 75.3% ของมูลค่าการส่งออกรวม, การแข่งขันด้านราคาของประเทศคู่แข่งทางการค้า เพราะต้องการระบายสินค้าส่งออกที่ยังค้างสต๊อก อย่างไรก็ดี มูลค่าการส่งออกที่ยังหดตัวน้อยกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์นั้น อาจจะมีสาเหตุมาจากในเดือน ก.พ.52 มีวันทำการมากกว่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน, เดือนนี้มีการส่งออกทองคำแท่งสูงถึง 1,865 ล้านดอลลาร์ หรือขยายตัวถึง 1,148% เพราะหากพิจารณามูลค่าการส่งออกโดยไม่รวมการส่งออกทองคำแล้วจะทำให้มูลค่าการส่งออกในเดือน ก.พ.52 อาจหดตัวถึง -24.6%

ส่วนปัจจัยที่ทำให้การนำเข้าในเดือน ก.พ.52 หดตัว ได้แก่ คำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง จึงทำให้การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบเพื่อมาผลิตเป็นสินค้าส่งออกลดลงตาม, นักลงทุนชะลอการลงทุน เนื่องจากความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยที่มีแนวโน้มรุนแรงและยาวนาน ทำให้มีการชะลอการซื้อสินค้าทุน, ความต้องการสินค้าจากต่างประเทศลดลงโดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภค ตามภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอตัว และราคาน้ำมันดิบที่ลดลงมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการเกินดุลการค้าในเดือน ก.พ.52 เป็นผลจากมูลค่าการนำเข้าที่หดตัวมากกว่ามูลค่าการส่งออก

"การส่งออกสินค้าของไทยยังอยู่ในภาวะวิกฤติ เพราะหากพิจารณาโครงสร้างการส่งออกแล้วจะพบว่า สินค้าอุตสาหกรรมมีสัดส่วนมากที่สุดถึง 75.3% ของสินค้าส่งออกทั้งหมด รองลงมาเป็นสินค้าเกษตรมีสัดส่วน 11.3% สินค้าแร่และเชื้อเพลิงมีสัดส่วน 6.8% และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรมีสัดส่วน 6.6% ซึ่งปรากฎว่าในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของไทยต่างหดตัวลงทั้งในแง่ของปริมาณและมูลค่า โดยปริมาณการส่งออกติดลบ 18.8% และมูลค่าการส่งออกติดลบ 16.9%

สศค.มองว่า ขณะที่โครงสร้างการนำเข้าพบว่า สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปมีสัดส่วนมากสุดถึง 43.4% ของสินค้านำเข้าทั้งหมด รองลงมาเป็นสินค้าทุนมีสัดส่วน 24.2% สินค้าเชื้อเพลิงมีสัดส่วน 20.9% สินค้าอุปโภคบริโภคมีสัดส่วน 8.3% และยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่งมีสัดส่วน 3.1% ซึ่งปรากฎว่าในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปต่างหดตัวลงทั้งในแง่ของปริมาณและมูลค่าเช่นกัน โดยปริมาณการนำเข้า -46.5% และมูลค่าการนำเข้า -45.3%

"ยุทธศาสตร์สำหรับการส่งออกปีนี้ ในมิติของคู่ค้าคือ ควรเร่งหาตลาดใหม่ เพิ่มปริมาณการค้าภายในภูมิภาค ส่วนมิติด้านสินค้านั้นเห็นว่า ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่ทำให้การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของไทยหดตัวอย่างรุนแรง แต่สินค้าเกษตรไทยยังมีโอกาสและศักยภาพในการแข่งขัน เพราะการหดตัวยังไม่รุนแรงมากเมื่อเทียบกับสินค้าอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมเกษตร ถือเป็นโอกาสของไทยที่จะขยายการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรให้เพิ่มมากขึ้น ที่สำคัญต้องดูแลค่าเงินบาทไม่ให้เสียเปรียบคู่แข่ง และสนับสนุนให้ประเทศในภูมิภาคร่วมฟื้นเศรษฐกิจอย่างสอดคล้องและต่อเนื่อง จึงจะช่วยให้เกิดการฟื้นตัวเร็วและยั่งยืน"

ในเดือน ก.พ.52 กระทรวงพาณิชย์รายงานมูลค่าการส่งออกของไทยติดลบ 11.3% และมูลค่าการนำเข้าติดลบ 40.3% ส่งผลให้เกินดุลการค้า 3,576 ล้านดอลลาร์

"โรงแรม-รีสอร์ท" เจ๊งระนาว

นางธนนุช ตรีทิพยบุตร เลขาธิการสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) แจ้งว่า สสช.ได้สำรวจยอดขายในปี 51 ของสถานประกอบการค้าปลีกสินค้าอุปโภค บริโภค, โรงแรม และภัตตาคาร, ธุรกิจให้เช่าของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน, กิจกรรมนันทนาการ, สำนักข่าว และการกีฬา และการให้บริการ ที่มีคนทำงาน 1 คนขึ้นไป ทั่วประเทศ รวมขนาดตัวอย่าง 4,441 แห่ง พบว่า ภาพรวมของธุรกิจทั่วประเทศชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องทุกประเภท ตั้งแต่ไตรมาสแรกจนถึงสิ้นปี แม้ว่าในไตรมาสแรกมีรายรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4 ของปี 50 ถึง 6.2% แต่ชะลอตัวต่อเนื่องในไตรมาสที่ 2 ที่ 4.5% ไตรมาสสาม 3.8% และไตรมาสสี่ 2.8%

ทั้งนี้ ธุรกิจแต่ละประเภทมีรายรับเพิ่มขึ้นระหว่างไตรมาสไม่เกิน 13% โดยภัตตาคารและร้านอาหาร มีรายรับเพิ่มขึ้นสูงสุดในไตรมาสแรกที่ 13% ขณะที่โรงแรม รีสอร์ท เกสต์เฮาส์ และหอพัก มีรายรับเพิ่มขึ้นในไตรมาส 4 ต่ำที่สุดเพียง 0.7% เท่านั้น ส่วนการให้เช่าของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน มีรายรับที่ขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสแรก ที่ 6.1% ไตรมาส 2 ที่ 8.1% และ ไตรมาสสาม 10.2% แต่ชะลอตัวในไตรมาสสุดท้ายที่ 4.7% เท่านั้น ขณะที่ธุรกิจค้าปลีกมียอดขายชะลอตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีและมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องในไตรมาสแรกของปี 52 เพราะมีต้นทุนและราคาสูง และมีปัญหาการเมืองรวมถึงภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว

"ผู้ประกอบการต้องการให้รัฐบาลเร่งรัดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการลดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ย การกำหนดมาตรฐานควบคุมราคาสินค้าให้เข้มงวด ที่สำคัญต้องเร่งฟื้นฟูและส่งเสริมการท่องเที่ยว รวมถึงหามาตรการช่วยเหลือด้านเงินทุนและส่งเสริมด้านการตลาดแก่เอสเอ็มอี เพื่อเพิ่มศักยภาพ" นางธนนุชกล่าว

แนะลดภาษีท่องเที่ยว-อสังหาฯ50%

รศ.มานพ พงศทัต อาจารย์พิเศษประจำภาควิชาเคหะการ คณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจหดตัวอย่างมากเช่นในปัจจุบัน รัฐบาลควรกระตุ้นใน 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ส่งออก ท่องเที่ยว และอสังหาริมทรัพย์ โดยการกระตุ้นนั้นจะต้องทำทุกระยะ ทั้งระยะสั้น กลาง ยาว และต้องทำการกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง หากเป็นระยะสั้นต้องทำทุกๆไตรมาส เช่น ธุรกิจการท่องเที่ยวควรจัดงานท่องเที่ยวไทยในทุกไตรมาสเพื่อกระตุ้นตลาดท่องเที่ยว สำหรับการกระตุ้นในระยะกลาง 1-2 ปี นั้น ควรลดภาษีธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวลงประมาณ 50% เพื่อให้เจ้าของกิจการสามารถประคองธุรกิจให้ผ่านพ้นช่วงนี้ไปได้ หลังจากนั้นค่อยเริ่มเก็บภาษีเต็ม

สำหรับธุรกิจอสังหาฯ รัฐบาลได้กระตุ้นด้วยการลดค่าธรรมเนียมการโอน ค่าจดจำนองและภาษีธุรกิจเฉพาะไปแล้ว แต่ยังไม่เพียงพอ รัฐบาลควรออกมากระตุ้นทุกไตรมาส ซึ่งหลักจากนี้ควรลดภาษี 50% ระยะเวลา 1-2 ปี ให้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคที่สร้างหรือซื้อบ้านราคาต่ำกว่า 2 ล้านบาท เพราะกลุ่มนี้เป็นการซื้อบ้านหลังแรกและเป็นฐานลูกค้ากลุ่มใหญ่ของประเทศที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้

“กรมสรรพากรควรเปลี่ยนแนวคิดในการจัดเก็บภาษีใหม่ จากเดิมที่เก็บไปหมดไม่ว่าเศรษฐกิจดีหรือไม่ดี ธุรกิจนั้นจะมีจ่ายหรือไม่ เหมือนกับการถอนขนห่าน ถ้าถอนมากๆห่านอาจจะตายได้ แต่ถ้าหยุดถอนและเลี้ยงขนไว้ปีสองปี เชื่อว่าตอนนั้นจะมีขนห่านให้ถอนมากกว่านี้ การเก็บภาษีของรัฐควรคิดเช่นเดียวกับการลงทุน คือลงทุนตอนนี้แล้วค่อยมาเก็บผลประโยชน์ทีหลัง เพราะการลงทุนของเอกชนทุกๆ 1 บาทหมายถึงต้องมีค่าใช้จ่ายด้านภาษี 0.18 สตางค์”

ส่วนระยะยาว ควรปรับเกณฑ์มาตรฐานบ้านบีโอไอใหม่ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้เอกชนสามารถพัฒนาบ้านบีโอไอได้ นอกจากนี้ ควรหาสินเชื่อเพื่อซื้อบ้านอัตราดอกเบี้ยระยะยาว 30 ปี ด้วยการนำแหล่งเงินจากกองทุนของรัฐบาล เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.) สำนักงานประกันสังคม(สปส.) ที่มีเงินกองทุนอยู่จำนวนมาก

โวยสรรพากรดึงภาษีธุรกิจเฉพาะ

แหล่งข่าวจากกรมที่ดิน กล่าวว่า ภายหลังจากวันที่ 28 มีนาคม 52 ที่หมดอายุมาตรการในช่วงแรกและได้ต่ออายุทันในวันที่ 29 มีนาคมนั้น การโอนและจดจำนองบ้านเป็นไปอย่างปกติ แต่ในส่วนของผู้ประกอบการได้โทรศัพท์เข้ามาร้องทุกข์จำนวนมากว่า การเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับส่วนลดเหลือ 0.1% ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นมาก และไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จึงจะสามารถจัดเก็บในอัตรา 0.1%ได้ ทำให้วางแผนการดำเนินงานไม่ได้ ซึ่งเจ้าพนักงานกรมที่ดินได้ชี้แจงไปว่า อยู่ระหว่างรอกรมสรรพากรส่งเรื่องไปยังกระทรวงการคลังเซ็นอนุมัติและส่งกลับมายังกรมสรรพากร หลังจากนั้นจะส่งต่อมายังกรมที่ดินและประกาศไปยังผู้ว่าราชการทุกจังหวัดปฏิบัติตาม ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเมื่อใด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us