|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
“บางจากปิโตรเลียม” คาดผลดำเนินงานไตรมาส 1/52 จะดีกว่าไตรมาส4 ปีที่ผ่านมา เหตุมีการทำเฮดจิ้งน้ำมันป้องกันความเสี่ยง และขายน้ำมันเตาได้ ในราคาสูง พร้อมยอมรับอยู่ระหว่างศึกษาเพื่อหาแนวทางซื้อหุ้นคืน หลังพบมีการซื้อขายในกระดาน 5-8% จากทั้งหมดที่อยู่ถึง 38% คาดได้ข้อสรุปภายในเดือนนี้ ส่วนปีนี้ประเมินว่าราคาน้ำมันจะอยู่ที่ 50-55 เหรียญสหรัฐต่อบาเรลล์
นายปฏิภาณ สุคนธมาน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานด้านบัญชีและการเงิน บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ BCP เปิดเผยว่า บริษัทฯ คาดการณ์ว่าผลการดำเนินงานไตรมาส 1/52 น่าจะปรับตัวดีขึ้นกว่าไตรมาส 4/51 และน่าดีกว่าผลการดำเนินงานของงวดเดียวในปีก่อน เพราะค่าการกลั่นในช่วงดังกล่าวสูงขึ้นกว่าปีก่อนถึง 5 เหรียญสหรัฐ/บาเรลล์อันเป็นผลมาจากการทำสัญญาขายน้ำมันล่วงหน้า (เฮดจิ้ง)ของราคาน้ำมันในช่วงปีที่แล้วถึง40% ของปริมาณการผลิต รวมทั้งการขายน้ำเตาได้ในราคาที่สูงกว่าราคา น้ำมันดิบ
ทั้งนี้ การทำเฮดจิ้งราคาน้ำของ BCP โดยปกติจะทำอยู่ระหว่างช่วง 12-18 เดือน เนื่องจากราคาน้ำมันมมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย โดยราคาค่าการกลั่นที่สูงขึ้นนี้เป็นผลมาจากการทำเฮดจิ้งในช่วงระหว่างไตรมาส 1-2 ของปี 51
“บริษัทได้มีการทำสัญญาซื้อขายน้ำมันเตาล่วงหน้ากับประเทศญี่ปุ่นไว้ประมาณ 50% ของปริมาณน้ำมันเตาทั้งหมดในช่วงราคาของไตรมาส1-2 ปี 2551 ขณะเดียวกันเราเตรียมจะขยายฐานลูกค้าในภาคอุตสาหกรรมให้มากขึ้น ซึ่งน่าจะทำให้ค่าการกลั่นเฉลี่ยของปีนี้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 8 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เทียบกับปี 51 ที่มีค่าการกลั่นที่ 6.54 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล หรือเพิ่มขึ้น 1.64 เหรียญฯ/บาเรลล์ หรือคิดเป็น 89.02%” นายปฏิภาณ กล่าว
ขณะเดียวกันบริษัทฯ อยู่ระหว่างศึกษาปัญหาของสภาพราคาหุ้น BCP เพื่อหาแนวทางเพื่อซื้อหุ้นคืนต่อไป ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือนเมษายนปีนี้ โดยปัจจุบันหุ้นของบริษัทมีการกระจายหุ้นบนกระดานซื้อขายอยู่ที่ 38% ของหุ้นที่จดทะเบียนทั้งหมด แต่เป็นหุ้นที่มีการซื้อขายเป็นประจำเพียงแค่ 5-8% เท่านั้น
อย่างไรก็ตามในปีนี้ บริษัทฯ ประเมินว่าราคาน้ำมันดิบน่าจะมีระดับไม่ต่ำกว่า 36 เหรียญสหรัฐ/บาเรลล์ และเชื่อว่าราคาน้ำมันดิบจะมีเฉลี่ยของทั้งปีนี้อยู่ที่ประมาณ 50-55 เหรียญฯ/ต่อบาเรลล์ เทียบกับในช่วงต้นปี 51 ที่มีราคาสูงถึง 89 เหรียญสหรัฐต่อบาเรลล์ และเคยขึ้นไปสูงสุดกลางปีที่ 140 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรลล์ ซึ่งหากตัวเลขเป็นดังนั้นก็เชื่อว่าปีนี้บริษัทจะไม่เห็นการขาดทุนสต็อกน้ำมันดิบดังเช่นปีที่ผ่านมา
สำหรับในปี 52 บริษัทฯ ตั้งเป้าว่าอัตรากำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษีและค่าเสื่อมราคา (EBITDA) น่าจะอยู่ที่ 8.5-9 พันล้านบาท จากเดิมที่เคยตั้งเป้าในปีนี้ไว้ 6-8 พันล้านบาท เนื่องจากโครงปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเตา (PQI) ได้สร้างเสร็จและปัจจุบันอยู่ระหว่างการทดลองระบบผลิต โดยหากโครงการดังกล่าวดำเนินเชิงพาณิชย์ได้จะทำให้สามารถผลิตน้ำมันได้ประมาณ 9.5 หมื่นล้านบาเรลล์ต่อวัน เทียบกับปี 51 ที่มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 74,000 บาเรลล์ต่อวัน เพิ่มขึ้น 21,000 บาเรลล์ต่อวัน หรือคิดเป็น 28.39%
ทั้งนี้ จากการสำรวจในช่วงเดือน ม.ค.-มี.ค. 52 พบว่าค่าการตลาด(market margin) ของ BCP จะเฉลี่ยอยู่ที่ 1.40 บาท/ลิตร เทียบกับปี 51 ที่มีค่าการตลาดเฉลี่ย 0.60 บาท/ลิตร โดยตัวเลขสามเดือนแรกมองว่าเป็นขั้นต่ำและอาจขึ้นไปสูงกว่า 1.50 บาท/ลิตร เพราะภาวะการแข่งขันที่รุนแรง ส่งผลให้ธุรกิจบางแห่งที่ไม่มีรายได้จากค่าการกลั่นหันมาหารายได้จากการขายน้ำมันหน้าปั้มมากขึ้น ตลอดจนยังได้รับการสนับสนุนจากทางภาครัฐในส่วนน้ำมันไบโอดีเซล 5% (B5) และน้ำมันแก๊สโซฮอลล์
ขณะที่ผลประกอบการในปี 51 ซึ่งมีผลขาดทุนสุทธิอยู่ที่ 750.09 ล้านบาท เทียบกับปี 50 ที่มีกำไรสุทธิ 1763.76 ล้านบาท เรื่องนี้เป็นผลมาจากเนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีความผันผวน ส่งผลให้ธุรกิจด้านโรงกลั่นของบริษัทขาดทุนจากสต็อกน้ำมัน 5 พันกว่าล้านบาท
โดยความสามารถกลั่นน้ำมันดิบของบริษัทในปีที่แล้วเฉลี่ย 7.4 หมื่นบาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากปี 50 ที่กลั่นระดับ 6.6 บาร์เรล/วัน เนื่องจากราคาส่วนต่างของราคาผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะน้ำมันดีเซลและน้ำมันดิบในปี 51 อยู่ในระดับสูงโดยเฉลี่ย 26 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล อีกทั้งยังสามารถส่งออกน้ำมันเตาได้เพิ่มขึ้น ในราคาที่สูงกว่ากา รจำหน่ายน้ำมันเตาทั่วไปในประเทศ ส่งผลให้บริษัทฯมีค่าการกลั่นที่ไม่รวมผลกระทบจากสต็อกน้ำมันสูงถึง 6.54 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล และมีผลประกอบการ EBITDA จากธุรกิจโรงกลั่น 4.42 พันล้านบาท สูงกว่าปีก่อนหน้าที่อยู่ในระดับ 1.91 พันล้านบาท
|
|
|
|
|