|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
โพลล์ชี้ธุรกิจไทยขาดสภาพคล่องหนัก หลังส่งออกวูบ ยอดขายหด แบงก์เข้มงวดปล่อยกู้ คาดประคองธุรกิจให้เดินหน้าได้อีกแค่ 8 เดือน หากไม่ได้รับการเยียวยา มีโอกาสปลดคนงานเพิ่มขึ้น หอการค้าไทยร้องรัฐซ้ำอีกรอบ เร่งแก้ปัญหาขาดสภาพคล่องด่วน
นางยาใจ ชูวิชา ประธานคณะจัดทำผลสำรวจความคิดเห็นประเด็นธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจสภาพคล่องและสถานภาพธุรกิจไทย โดยสำรวจจากภาคธุรกิจ ทั้งภาคเกษตร การค้า บริการ และการผลิต ระหว่างวันที่ 26-31 มี.ค.ที่ผ่านมาว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม 74.9% ระบุว่า ปัจจุบัน ขาดสภาพคล่องทางธุรกิจ ส่วนอีก 25.1% ไม่ขาดสภาพคล่อง โดยมีสาเหตุมาจากยอดคำสั่งซื้อลดลงมากที่สุดถึง 92.9% รองลงมา คือ มีปัญหาด้านหลักทรัพย์ค้ำประกัน 5% แหล่งเงินกู้ไม่ปล่อยสินเชื่อ 1.5% และลูกค้าไม่จ่ายค่าสินค้า 0.6% สำหรับวิธีแก้ปัญหา ส่วนใหญ่ตอบว่า ใช้กำไรสะสม รองลงมาคือ ขอสินเชื่อจากธนาคารอื่นๆ เจรจาขอผ่อนผันชำระหนี้ หรือชำระหนี้เท่าที่มีอยู่ หยุดชำระหนี้ หรือเลิกกิจการ
นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ภาคธุรกิจที่มีปัญหาขาดสภาพคล่องนั้น โดยเฉลี่ยแล้วมีความสามารถประคับประคองธุรกิจได้เพียง 8.6 เดือนเท่านั้น โดยธุรกิจที่ขาดสภาพคล่องถึง 100% ได้แก่ อาหาร สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ อิเล็กทรอนิกส์ เหล็ก เครื่องใช้ไฟฟ้า โรงแรมและภัตตาคาร สุขภาพ (สปา นวด) ค้าส่ง และค้าปลีก ในขณะนี้จึงยังไม่มีแผนขยายการลงทุน และขยายตลาด แต่จะขอสินเชื่อเพิ่มเพื่อดำเนินธุรกิจต่อ ส่วนการลงทุนเพิ่ม และขยายตลาดจะเริ่มต้นปี 2553
เมื่อถามถึงทัศนะต่อเศรษฐกิจและธุรกิจไทยนั้น ส่วนใหญ่ระบุว่า ปัญหาการเมืองภายในประเทศที่เกิดขึ้นอีกครั้งเป็นปัจจัยลบต่อการทำธุรกิจ และเศรษฐกิจไทย ตามมาด้วยวิกฤติเศรษฐกิจโลก นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐบาล ที่ยังไม่เพียงพอ รวมถึงความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวม ที่ยังไม่ฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม ภาคธุรกิจส่วนใหญ่คาดว่า ในปีนี้เศรษฐกิจไทยจะขยายตัว ลบ 2% ถึงลบ 1% ส่วนปี 2553 ส่วนใหญ่คาดขยายตัว 3-4%
ทั้งนี้ ภาคธุรกิจยังมองว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลกระตุ้นให้เกิดการจ้างงาน เกิดสภาพคล่องทางธุรกิจ เกิดการลงทุนภาคเอกชน และเกิดการส่งออก ได้น้อยมาก นอกจากนี้ ยังระบุว่า ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศมาเที่ยวไทยลดลง ทำให้ขาดสภาพคล่อง การส่งออก รวมถึงยอดขาย ยอดรับคำสั่งซื้อ กำไร และการจ้างงานลดลงมาก โดยธุรกิจที่ยอดขาย และการจ้างงานลดลงมาก เช่น เครื่องดื่ม เครื่องหนัง/รองเท้า สุขภาพ ก่อสร้าง/วัสดุก่อสร้าง เครื่องเรือน เป็นต้น
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ภาคธุรกิจมองว่าเศรษฐกิจไทยยังมีสัญญาณถดถอยต่อเนื่อง และปีนี้จะขยายตัวติดลบ 2% ถึง ลบ 1% สอดคล้องกับคาดการณ์ของศูนย์ฯ ที่คาดขยายตัวติดลบ 2.8% ส่วนปี 2553 คาดว่าจะดีขึ้น โดยภาคธุรกิจคาดขยายตัวที่ 3-4% เช่นเดียวกับที่ศูนย์ฯ คาดขยายตัว 3-5% แต่รัฐบาลต้องเร่งลงทุนโครงการเมกะโปรเจกต์ ภายในไตรมาส 3 ของปีนี้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่าย การจ้างงาน ขณะเดียวกัน ต้องเร่งรัดให้ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐบาลปล่อยสินเชื่อให้ภาคธุรกิจมากขึ้นด้วย
“ธุรกิจขาดสภาพคล่องหนัก และนำกำไรสะสมมาใช้ ซึ่งจะประคองธุรกิจได้ภายใน 8 เดือนเท่านั้น หากในระหว่างนี้ เศรษฐกิจไม่ฟื้นจนทำให้ยอดขายภาคธุรกิจดีขึ้น ประกอบกับ ธนาคารยังไม่ปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น ภาคธุรกิจซึ่งลดต้นทุนด้านต่างๆ อยู่แล้ว ก็จะเริ่มปลดพนักงานมากขึ้น ขณะเดียวกัน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจก็จะเริ่มช้าออกไป และการส่งออกจะติดลบมากขึ้น ทั้งปีคาดติดลบถึง 15%” นายธนวรรธน์กล่าว
นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า ผู้ประกอบการมีความสามารถผ่อนชำระหนี้ลดลง และเสี่ยงที่จะเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพราะมีรายได้และกำไรจากการขายสินค้าลดลง ลูกค้าขอยืดเวลาการชำระค่าสินค้านานถึง 30-90 วัน และไม่สามารถขอสินเชื่อจากธนาคารได้ เพราะธนาคารเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อ จึงต้องการให้รัฐบาลแก้ปัญหา เช่น ออกเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ 6 เดือน ผ่อนปรนเกณฑ์ขอกู้ หรือประสานธนาคารยอมให้ผู้ส่งออกเอาแอล/ซีจากลูกค้าที่ขอยืดเวลาชำระเงินค่าสินค้ามาขึ้นเงินสดได้ทันที เพราะหากไม่สามารถแก้ปัญหาสภาพคล่องได้ ก็จะทยอยปลดคนงาน เพื่อประคอธุรกิจให้อยู่รอด ทั้งที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น
|
|
|
|
|