Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2531
รวมการบินไทย-บดท. งานใหญ่แบบธรรมดาๆ             

 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

   
search resources

การบินไทย, บมจ.
เดินอากาศไทย
Aviation




ถ้ามีคนเก่าคนแก่ครั้งที่บดท. ยังใช้ชื่อบริษัท เดินอากาศ จำกัด (บตอ.) ยังคงทำงานอยู่ เชื่อว่าเขาคงจะไม่ตื่นเต้นอะไรมากนักกับเรื่องการรวมกิจการ 2 สายการบินของไทย แถมยังผิวปากเพลง "ธรรมดา…มันเป็นเรื่องธรรมดา" เสียอีก

เมื่อปี พ.ศ.2494 รัฐบาลมีนโยบายให้รวมกิจการบินของบริษัทแปซิฟิค โอเวอร์ซี (สยาม) จำกัด กับบริษัทเดินอากาศ จำกัด เข้าด้วยกัน บริษัททั้งสองจึงควบเข้าเป็นบริษัทเดียวกันตามความประสงค์ของรัฐโดยใช้ชื่อบริษัท เดินอากาศไทย

หลังจากนั้นการรวมของกิจการทำให้กิจการของบริษัทเดินอากาศไทย จำกัดขยายกว้างขวางออกไป โดยมีทั้งสายการบินภายในและสายการบินระหว่างประเทศ

บริษัท การบินไทย จำกัด แท้จริงแล้วก็ถูกจัดตั้งขึ้นโดยบริษัท เดินอากาศไทย จำกัด เช่นกันที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพทางการบินระหว่างประเทศ จึงร่วมทุนกับบริษัทการบิน SCANDINAVIAN AIRLINES SYSTEM (SAS) จัดตั้งบริษัท การบินไทยจำกัด ขึ้นในปี 2503 เพื่อศึกษา KNOWHOW เกี่ยวกับการบินระหว่างประเทศ ทำให้แยกการบินระหว่างประเทศออกมาจากบริษัทเดินอากาศไทย จำกัด ซึ่งดำเนินการบินเฉพาะสายภายในประเทศและประเทศใกล้เคียงบางแห่งเท่านั้น

ความจริงแผนการรวมกิจการทั้งสองของของการบินไทยและบดท.มีมานานแล้วแต่การดำเนินการอย่างจริงจังเพิ่งเริ่มต้นประมาณกลางปี 2530 ที่ผ่านมานี้เอง

ว่ากันว่าการศึกษาแผนงานรวมกิจการ เริ่มขึ้นหลังจากที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์นายกรัฐมนตรี ใช้บริการของบดท.ตรวจราชการทางภาคใต้ และพบกับข้อบกพร่องหลายประการ อาทิ การล่าช้า (DEPLAY) ค่อนข้างมากจากตารางการบินตามปกติ การบริการของพนักงานประจำเครื่อง รวมทั้งการตรวจราชการรับทราบผลการดำเนินงานของบริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์เมื่อปีที่แล้ว

ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2530 พล.อ.ท.ณรงค์ ดิถีเพ็ง กรรมการผู้จัดการบริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ก็ออกมาให้ข่าวว่าแผนการรวมการบินไทยกับบริษัทเดินอากาศไทย จำกัด เริ่มต้นขึ้นแล้วโดยแผนดังกล่าวกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษา

ความจริงแล้วการรวมกิจการทั้งสองอาจไม่รวดเร็วเช่นนี้ หากโบอิ้ง 737 ของบดท. ไม่ตกทะเลและสังเวยชีวิตอีก 83 ชีวิต ในเดือนสิงหาคม

เพราะหลังจากนั้น ได้มีการวิเคราะห์ถึงประสิทธิภาพการทำงานของบดท.อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น แผนงานที่ว่าจึงได้รับการสนองตอบของทุกๆ ฝ่ายอย่างเร่งด่วน

คณะกรรมการพิจารณาการรวมถูกตั้งขึ้นมีศรีภูมิ ศุขเนตร ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 2 ชุด ชุดหนึ่งมีไพจิตร โรจนวนิชย์รองปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน พิจารณาเรื่องทรัพย์สิน หนี้สิน

อีกชุดหนึ่งมีศรีสุข จันทรางศุ รองปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานพิจารณาเกี่ยวกับโครงสร้างการบินไทยเมื่อมีการรวมแล้ว

ปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการรวมกิจการมีเพียงสองประการประการแรกเป็นปัญหาทางด้านกฎหมาย และอีกประการหนึ่งเป็นปัญหาในส่วนของพนักงานจากบดท. ที่จะถูกโอนเข้าไปอยู่กับการบินไทยจำนวน 1,800 คน

ปัญหาด้านกฎหมายจริงๆ แล้ว ไม่มีอะไรเกินไปกว่าการค้นหาวิธีที่ถูกต้องตามกฎหมายและให้มีผลเสียแก่บริษัททั้งสองน้อยที่สุด

ขั้นแรกในส่วนของการรวม ใช้วิธีโอนทรัพย์สินและหนี้สินที่มีส่วนต่างประมาณ 1,000 ล้านบาทมาอยู่ในงบดุลของการบินไทย ซึ่งการบินไทยจะเพิ่มทุนเท่าทรัพย์สินที่โอนมาโดยออกหุ้นเพิ่มให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบดท. แทนการยุบบริษัททั้งสอง แล้วตั้งบริษัทใหม่ ซึ่งจะต้องคำนวณเสียภาษีของแต่ละบริษัทที่ยุบก่อน แต่ก็ยังคงมีปัญหาการเสียภาษี 35% จากส่วนต่าง 1,000 ล้านบาทที่กำลังเสนอของดเว้นภาษีจากกระทรวงการคลังอยู่

อีกปัญหาหนึ่งทางด้านกฎหมายคือการโอนที่ดินของบดท.มาให้การบินไทย ที่การบินไทย ต้องการให้เสียภาษีจากราคาที่บดท.ประเมินที่มีราคาต่ำกว่า แทนที่จะใช้ราคาที่กรมที่ดินประเมิน โดยอ้างว่าเป็นการโอนตามนโยบายของรัฐไม่ใช่การซื้อขายตามปกติ

ปัญหาของพนักงานเองก็คลี่คลายไปในระดับหนึ่ง ในเรื่องของเงินเดือน ผลตอบแทนที่ธรรมนูญ หวั่งหลี ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายการเงินของการบินไทยบอกว่าจะให้เงินเดือนในอัตราที่ได้รับจากบดท. แถมยังจะเสียภาษี ณ ที่จ่ายให้

ส่วนที่ยังคาราคาซังอยู่คือปัญหาโครงสร้างที่ทางบดท. ให้จัดองค์กรตามรูปแบบที่พิสิฎฐ ภัคเกษม รองเลขาฯ สภาพัฒน์ฯ ในฐานะคณะกรรมการประสานงานจัดองค์กรและการรวมพนักงานการบินไทยกับเดินอากาศไทยเสนอ คือรวมพนักงานทั้ง 2 บริษัทแล้วจัดตั้งเป็นองค์กรใหม่แทนที่จะเป็นการที่พนักงานบดท. เข้าไปทำงานร่วมกับการบินไทยในแต่ละส่วน

นอกจากนี้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการสรรหาคณะกรรมการร่วมของทั้งสองบริษัท ที่ต่างฝ่ายต่างต้องการให้มีตัวแทนของตนเข้าไปคอยเป็นปากเป็นเสียงให้ ซึ่งค่อนข้างยากที่จะจัดสรรให้ลงตัวเพราะติดโควตาตัวแทนจากกองทัพ และรัฐบาลที่ตายตัวอยู่ส่วนหนึ่งแล้ว

จะอย่างไรก็ตาม การรวมกิจการของทั้งสองบริษัทก็ต้องแล้วเสร็จแน่นอนภายใจ 31 มีนาคม 2531 ตามมติของคณะรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ

ก็คงจะเหลือเวลาน้อยนิดแล้วสำหรับการคลี่คลายทุกๆ ปัญหาที่มี

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us