ล็อกซเล่ย์เริ่มธุรกิจราวๆ ปลายสงครามโลกครั้งที่ ผู้เริ่มก่อตั้งคือ อึ้งยุกหลง
ล่ำซำ (โง่ยจุ๋มนั้ม) กับ W.R.LOXLEY COMPANY ของฮ่องกง
อึ้งยุกหลง มีลูกชายสามคน คือ โชติ จุลินทร์ และเกษมในจำนวนลูกชายทั้งสามของเขาคนที่มีบทบาทมากที่สุดคือโชติและมีผลต่อเนื่องมาถึงทายาทของเขาด้วย
ทายาทของโชติที่ดูจะผูกพันกับล็อกซเล่ย์มากที่สุดคงจะเป็นคุณหญิงชัชนี
จาติกวณิช น้องสาวของบัญชา ล่ำซำ พี่สาวของบรรยงค์ ล่ำซำ และเป็นภรรยาของเกษม
จาติกวณิช
คุณหญิงชัชนี จาติกวณิช เป็นผู้ที่เห็นการเจริญเติบโตของล็อกซเล่ย์ (กรุงเทพ)
และเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการบริหารบริษัทนี้
ถึงจะเป็นผู้หญิงแต่ก็บริหารงานได้ดีไม่แพ้ผู้ชาย ล็อกซเล่ย์ (กรุงเทพฯ)
ภายใต้การบริหารงานของคุณหญิงก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง
คุณหญิงชัชนีเริ่มต้นบริหารอย่างจริงๆ จังๆ ในปี 2518 และก้าวลงจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการตอนสิ้นปี
2525 หลังจากนั้นญาติผู้น้องต่างวัย คือธงชัย ล่ำซำก็ขึ้นรับช่วงแทน
ปี 2526 เป็นปีแรกที่ธงชัย ล่ำซำ ก้าวขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการยอดขายในปีนั้นพุ่งทะยานขึ้นไปถึง
538 ล้านบาท ราวกับจะเป็นการต้อนรับผู้บริหารคนใหม่ผลกำไรยิ่งเป็นตัวบ่งบอกถึงความสามารถของล่ำซำที่ผ่านฮาร์วาร์ดบิสสิเนสสกูลคนนี้
กำไรเพิ่มจากปี 2525 ถึง 7 ล้านบาท
แต่นับจากปี 2527 เป็นต้นมา ไต้ฝุ่นลูกใหญ่ก็โหมกระหน่ำ "ถ้าเปรียบเป็นเรือก็โคลงเคลงเชียวละ"
คนที่ติดตามบอก
นับจากปี 2527 เป็นต้นมาล็อกซเล่ย์ (กรุงเทพฯ) ประสบการขาดทุนมาโดยตลอด
ปี 2527 ขาดทุน 24.4 ล้านบาท ปี 2528 ขาดทุนลดน้อยลงเพียง 7.75 ล้านบาท ยิ่งในปี
2529 ขาดทุนหนักถึง 34.95 ล้านบาท "เป็นการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่แต่ส่วนหนึ่งก็เป็นผลมาจากการบริหารงานด้วย"
ผู้ติดตามเรื่องล็อกซ์เล่ย์บอก
แต่ปี 2530 เป็นปีที่มรสุมอันเลวร้ายได้พัดผ่อนล็อกซเล่ย์ไปแล้ว "ปี
2530 เราแก้ปัญหาการขาดทุนได้ เราทำกำไรได้ 20 ล้านบาท" ผู้บริหารคนหนึ่งบอก
หลังจากแก้ปัญหาได้แล้วก้าวต่อไปของล็อกซเล่ย์คือ การรุกครั้งใหญ่ล็อกซเล่ย์คือการรุกครั้งใหญ่ล็อกซเล่ย์ในปีนี้มีแผนการจอยน์เวนเจอร์กับ
2 บริษัทต่างชาติ บริษัทแรกคือบริษัทจอห์นไลซาท แห่งออสเตรียลงทุน 60 ล้านบาท
สร้างโรงงานผลิตแผ่นหลังคาเคลือบเหล็ก โดยจดทะเบียนชื่อ บริษัทจอห์นไลซาท
ไทยแลนด์ จำกัด ทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท
บริษัทที่สองคือบริษัทโนโบแห่งประเทศนอรเว ผลิตเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้สำนักงานด้วยงบลงทุน
200 ล้านบาท จดทะเบียนในนาม บริษัท โนโบ ไทยแลนด์ จำกัด
มองการร่วมทุนของล็อกซเล่ย์กับ 2 บริษัทต่างชาติครั้งนี้ก็คงจะแสดงถึงทิศทางในอนาคตของล็อกซเล่ย์ได้เป็นอย่างดี
"เราคงจะเข้าไปสู่ในส่วนการผลิตมากขึ้น มากกว่าจะมัวมาแต่พึ่งพาการเป็นบริษัทเทรดดิ้งคัมปะนีอยู่"
คำพูดขอธงชัย ล่ำซำ คงพอจะบอกอะไรได้บ้าง
ดูผลประกอบการในปีนี้ของล็อกซเล่ย์ก็ต้องว่าขึ้นเอามากๆ ซอฟท์แวร์โรงพยาบาลของล็อกซเล่ย์
ได้รับความนิยมมาก ถึงกับส่งไปขายต่างประเทศทางด้านฝ่ายวิศวกรรมสื่อสารยอดขายในปีที่ผ่านมาก็พุ่งไปถึงกว่า
90 ล้านบาท ว่ากันว่าโครงการในอนาคตจะทำการผลิตชิ้นส่วนโทรศัพท์ในประเทศ
และในปีนี้มีโครงการกระโจนเข้าสู่ตลาดเครื่องใช้โทรศัพท์ตามบ้านที่เป็นตลาดที่ใหญ่เอามากๆ
และหลายๆ บริษัทกำลังจะจ้องกันอยู่
ปีนี้อีกเช่นกันล็อกซเล่ย์เตรียมตัวบุกตลาดเครื่องเอทีเอ็มยี่ห้อ โอลิเว็ตตี้
ในวันนี้ของล็อกซเล่ย์ผ่านมรสุมแล้ว ก้าวต่อไปคือการรุกครั้งใหญ่ อนาคตของล็อกซเล่ย์อยู่ในกำมือของพวกเขาแล้ว
ธงชัย ล่ำซำ และขุนพลคู่ใจ