Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2544
ธุรกิจนอกไลน์โทรศัพท์จับจ้อง 3G ตาเป็นมัน             
 

   
related stories

3G โทรศัพท์มือถือรุ่นที่สาม บริษัทญี่ปุ่นพร้อมชนโนเกีย-อีริคสัน

   
search resources

Palm, Inc.
PDA
3G




ในขณะที่การแข่งขันในธุรกิจโทรศัพท์มือถือกำลังระอุ เพราะบรรดาผู้ทำตลาดต่างช่วงชิงการนำในตลาดอุปกรณ์ 3G ปรากฏว่า บริษัทนอกไลน์อย่าง Palm ซึ่งได้ชื่อว่า เป็นผู้ผลิตคอมพิวเตอร์พกพาก็สนใจเข้าร่วมชิงส่วนแบ่งตลาดนี้กับเขาบ้างเช่นกัน

บริษัทวิจัยอินเตอร์ เนชันแนล เดตา คอร์ป ระบุว่า ปัจจุบัน Palm มีส่วนแบ่งตลาดอุปกรณ์พีดีเอทั่วโลกอยู่ราว 70% ซึ่งเป็นพีดีเอ ที่ทำหน้าที่เป็นทั้งไดอารี่ สมุดจดที่อยู่ และบันทึกข้อความในตัว พีดีเอส่วนใหญ่ใช้กับอีเมล และอิน เทอร์เน็ตโดยผ่านโทรศัพท์มือถือ โมเด็มหรือพีซี โดย พีดีเอรุ่นล่าสุดนั้น เป็นการติดต่อสื่อสารแบบไร้สายได้อีกด้วย จุดอ่อนประการเดียวของพีดีเอเห็นจะได้แก่การที่ใช้เป็นโทรศัพท์พูดคุยไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้จะเปลี่ยนไปเมื่อมีเทคโนโลยี 3G ซึ่งจะเป็นโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ ที่มีคุณสมบัติของพีดีเอรวมอยู่ด้วย

คำถาม ที่ตามมาก็คือ หากพีดีเอทำหน้าที่ของโทรศัพท์ได้แล้ว ตลาดโทรศัพท์มือถือจะเป็นอย่างไร

ต่อไป ปัจจุบันยอดขายโทรศัพท์มือถือ และพีดีเอเทียบกันแล้วยังเหมือนยักษ์กับคนแคระ บริษัทการ์ตเนอร์ กรุ๊ปคาดหมายไว้ว่า ยอดขายพีดีเอจะทะยานจากระดับต่ำกว่า 7 ล้านเครื่องในปีนี้เป็น 28 ล้านเครื่องในปี 2004 ส่วนยอดขายมือถือคาดว่า จะเพิ่มสองเท่าตัวในช่วงเวลาเดียวกันโดยอาจสูงถึง 908 ล้านเครื่องทีเดียว แต่เมื่อลูกค้ามองเห็นความแตกต่างระหว่า งอุปกรณ์สื่อสารทั้งสองชนิดไม่ชัด โอกาส ที่จะเกิดการช่วงชิงตลาดก็จะสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม เอียน เบอร์ แตรม ผู้อำนวยการภูมิภาคของการ์ตเนอร์กล่าวว่า "ตลาดจะแยกย่อยลงไปมากขึ้น และมีอุปกรณ์ให้เลือกอาจจะถึง 7 แบบ" ทั้งนี้ในตลาดบน ข้อแตกต่างระหว่า งอุปกรณ์โทรศัพท์ ที่มีคุณสมบัติ

ใช้งานหลากหลายกับพีดีเอประเภทใช้เสียงยังคงมีต่อไป "แต่อีก 5-10 ปีข้างหน้า อุปกรณ์สองอย่างจะเข้าใกล้กันมากขึ้น"

ทั้งนี้ ในระยะสั้น ความพึงพอใจของลูกค้ายังจะขึ้นอยู่กับว่า พวกเขาต้องการใช้โทรศัพท์หรือมินิคอมพิวเตอร์กันแน่ หากเป็นนักแชตหรือนิยมส่งข้อความ พีดีเอก็ไม่ใช่ทางเลือกเพราะเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วราคายังสูงมาก แต่ในกลุ่มนักธุรกิจ ที่ต้องการคุณสมบัติใช้งาน ที่หลากหลายกว่า พีดีเอขนาดพกพาย่อมน่าสนใจมากกว่า ลูกค้าบางรายอาจมีอุปกรณ์ทั้งสองอย่างไว้ในมือ กล่าวคือ โทรศัพท์ขนาดเล็กสำหรับพูดคุย และพีดีเอสำหรับงาน

อย่างไรก็ตาม พีดีเออาจเบียดตัวขึ้นมาเป็นทางเลือกใหม่ได้มากขึ้นหากเทคโนโลยี 3G ที่ใช้จอภาพของ

พีดีเอ ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า มีการพัฒนาคุณสมบัติใหม่ๆ เพิ่มเติม เช่น เป็นวิดีโอให้เลือกดูภาพยนตร์ตัวอย่างก่อนจองตั๋วชมจริง จอภาพ ที่ใหญ่ขึ้นยังช่วยให้การอ่านแผนที่ออนไลน์ง่ายขึ้นด้วย ส่วนผู้ที่นิยมเล่นเกมแบบอินเตอร์ แอคทีฟ ย่อมชื่นชอบอุปกรณ์ขนาดพกพาสะดวก ที่ว่า นี้

ความไม่แน่นอนเช่นนี้ยังสะท้อนให้เห็นว่า ผู้เล่นรายใหญ่จะต้องเดิมพันสูงยิ่งขึ้น เห็นได้จากผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือต่างกำลังพัฒนาพีดีเอของตนเอง ในขณะที่บริษัทอีกจำนวนหนึ่งก็เริ่มจับตาตลาดนี้เช่นกัน อย่างเช่นคอมแพค และฮิวเลตต์-แพคการ์ด ที่เพิ่งเปิดตัวพีซีแบบพกพาไปเมื่อปีที่แล้ว และมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ไม่น้อย หรือค่ายโซนี่เองก็เริ่มจำหน่ายพีดีเอแล้วเหมือนกัน ทั้งหมดนี้นี่คือ เหตุผลที่คีธ วูลค็อก หัวหน้าฝ่ายวิจัยเทคโนโลยีของโนมูระ อินเตอร์เนชั่นแนล ในลอนดอนคาดการณ์ว่า ตลาด 3G จะเป็นการปะทะกันระหว่า งยักษ์ใหญ่ด้านคอมพิวเตอร์กับผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ แต่เขาเชื่อว่า "บริษัทโทรศัพท์ถือไพ่เหนือกว่า " ทั้งนี้เนื่องจาก

มีข้อได้เปรียบในแง่ชื่อยี่ห้อ ที่แข็งแกร่ง ประสบการณ์ในตลาดที่มียอดจำหน่ายสูงมาก อีกทั้งมีความเข้าใจลึกซึ้งในเทคโนโลยีเกี่ยวกับเสียง

การสู้รบอีกด้านหนึ่งจะอยู่ ที่ซอฟต์แวร์ Palm นั้น หวังว่า จะใช้ระบบปฏิบัติการแบบไอคอนสร้างตัวให้เป็นเหมือนกับไมโครซอฟท์ในโลกของโมบาย แต่ขณะเดียว กันไมโครซอฟท์ก็ไม่ได้อยู่นิ่ง และกำลังพยายามรุกเข้าสู่ตลาดอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ด้วยเช่นกัน ดังจะเห็นได้ว่า คอมแพค และเอชพีนั้น ใช้ระบบปฏิบัติการของวินโดว์ใน

พีซีขนาดพกพา ที่วางจำหน่ายแล้ว แต่ไมโครซอฟท์มีแผนการของตนในตลาดอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่โดยจะ

ขอมีส่วนแบ่งรายได้จากลูกค้าโทรศัพท์บ้าง ซึ่งจะเป็นการได้กำไรถึงสองทางคือ ทั้งจากผู้ปฏิบัติการเครือข่าย และจากผู้ผลิตอุปกรณ์พกพาทั้งหลาย แต่นี่ก็คือ เหตุผลเช่นกัน ที่โนเกีย และอีริคสันกำลังพัฒนาระบบปฏิบัติการของตนเองขึ้นมา โดยมีบริษัทในเครือคือ "ซิมเบียน" (Symbian) รับผิดชอบ และไม่ว่า การแข่งขันรอบนี้จะดุเดือดเท่าไร

ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือไม่มีทาง ที่จะยอมยกธงขาวโดย

ไม่ออกศึกสักตั้งก่อนอย่างแน่นอน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us