Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2531
ฐานะทางประวัติศาสตร์ของนายชิน โสภณพนิช             
 

   
related stories

หลังชิน "เส้นทางการบริหารมรดกธุรกิจ?"

   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ

   
search resources

ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
ชิน โสภณพนิช
Economics




มรณกรรมของนายชิน โสภณพนิช เมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม 2531 ไม่เพียงแต่จะยังความสูญเสียแก่ตระกูลโสภณพนิชเท่านั้น หากยังความสูญเสียแก่กลุ่มทุนนิยมไทยอย่างสำคัญอีกด้วย อาจจะไม่ผิดนักที่จะกล่าวว่า ประวัติชีวิตของนายชินก็คือ ภาพลักษณ์แห่งการเติบโตระบบทุนนิยมในประเทศไทยในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

อัจฉริยภาพของนายชิน โสภณพนิชในด้านความสามารถในการประกอบการและความสามารถในการเก็งกำไรเป็นเรื่องที่ยอมรับกันทั่วไปแต่ดังที่นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ประธานกรรมการธนาคารกรุงเทพ จำกัด ให้สัมภาษณ์นิตยสารมติชนสุดสัปดาห์โดยนัยว่า ลำพังแต่อัจฉริยภาพดังกล่าวนี้คงไม่เพียงพอที่จะทำให้สมาชิกแห่งชนชั้นผู้ยากไร้ถีบตัวขึ้นมาเป็นนายทุนผู้ยิ่งใหญ่ได้ หากปราศจากโชคและจังหวะชีวิตที่เอื้ออำนวย หรือที่นายประสิทธิ์กาญจนวัฒน์กล่าวว่า "ทั้งเก่งทั้งเฮง"

ในขณะที่ "ความเก่ง" เป็นปัจจัยที่สามารถแยกแยะแจกแจงได้ แต่อะไรเล่าคือความเฮงที่นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์กล่าวถึง?

นายชิน โสภณพนิชอาจเป็นตัวอย่างของนิทานปรัมปราที่กล่าวถึงชาวจีนอพยพผู้สร้างฐานะทางเศรษฐกิจจากสภาพอันแร้นแค้นที่มีเพียงแต่ "เสื่อผืนหมอนใบ" วัฒนธรรมการทำงานและการต่อสู้ชีวิต ซึ่งหล่อหลอมขึ้นภายใจครอบครัวชาวจีน โดยได้รับอิทธิพลไม่โดยตรงก็โดยอ้อมจากศาสนาขงจื้อ นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ชาวจีนอพยพเหล่านี้ยืนหยัดสู้ชวิตอย่างไม่ท้อถอยหลายคนประสบความสำเร็จในการเขยิบฐานะทางเศรษฐกิจ แต่น้อยคนนักที่ประสบความสำเร็จเทียบเท่านายชินที่สามารถไต่เต้าจากอาชีพ "พะจั๊บ" ไปสู่ยอดปิรามิดแห่งโลกทุนนิยมโดยที่เส้นทางชีวิตดังกล่าวนี้มีขวากหนามและอุปสรรคที่ต้องฟันฝ่าเป็นอันมาก ความเฮงประการแรกของนายชินคงจะอยู่ที่ข้อเท็จจริงที่ว่า เมื่อนายชินกำลังไต่บันไดชีวิตไปสู่ยอดพีระมิดแห่งโลกทุนนิยมในทศวรรษ 2490 นั้นหน่อของทุนนิยมในเมืองไทยยังไม่เติบใหญ ่และการรวมศูนย์ของทุนยังไม่ปรากฎ ช่วงโอกาสที่จะผลักดันตนเองไปสู่ยอดปิรามิดดังกล่างจึงยังมีอยู่ แต่ในปัจจุบัน (ทศวรรษ 2530) ระบบทุนนิยมในเมืองไทยได้ขยายตัวออกไปอย่างมาก โดยที่มีการรวมศูนย์ของทุนมากขึ้น ลำพังแต่ความสามารถในการประกอบการและความขยันขันแข็งเอาการเอางานไม่เพียงพอที่จะแปรสภาพจาก "เสื่อผืนหมอนใบ" มาเป็นธนราชันย์ได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เส้นทางชีวิตของนายชิน ซึ่งเริ่มต้นเมื่อทศวรรษ 2490 ยากที่จะจำลองมาใช้ในทศวรรษ 2530 ได้ ทั้งนี้เนื่องจากสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจได้แปรเปลี่ยนไปนั่นเอง ข้อที่พึงสังเกตก็คือการรวมศูนย์ของทุนเกิดจากการเติบใหญ่ของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งรวมกลุ่มโสภณพนิชไว้ด้วยการเติบใหญ่ของเศรษฐกิจของนายชินโสภณพนิชซึ่งมีส่วนไม่มากก็น้อยในการปิดช่องโอกาส "พะจั๊บ" จะแปรสภาพเป็นธนราชันย์ในเวลาต่อมา

การพึ่งพาผู้มีอำนาจทางการเมืองในการแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เป็นเรื่องที่นายชิน โสภณพนิชยอมรับอย่างเปิดเผย ทั้งนายชินก็มีความชาญฉลาดในการดูทิศทางทางการเมืองด้วย ดังจะเห็นได้ว่า ในช่วงก่อนการรัฐประหารปี 2490 นายชินมีความสัมพันธ์และผลประโยชน์ร่วมกับสมาชิกคณะราษฎรระดับผู้ก่อการ แต่ภายหลังการก่อรัฐประหารปี 2490 นายชินกลับมีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับกลุ่มซอยราชครู โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้ได้ช่วยป้องกันมิให้ธนาคารกรุงเทพ จำกัด ร่วงหล่นสู่หุบเหวแห่งความหายนะ เพราะเมื่อนายชินดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ในปี 2459 นั้นธนาคารกรุงเพท จำกัด กำลังเผชิญกับวิกฤติการณ์ร้ายแรงอันเกิดจากปัญหาการขาดสภาพคล่อง แต่ด้วยความสัมพันธ์อันแนบแน่นกับกลุ่มซอยราชครู นายชินก็สามารถพานาวาของธนาคารกรุงเทพ จำกัดฝ่ามรสุมทางการเงินออกไปได้ผู้ทรงอำนาจแห่งซอยราชครูได้ฉกฉวยทรัพยากรจากคลังแผ่นดินมาประคองฐานะทางธนาคารกรุงเทพ จำกัด ในปี 2496 พร้อมทั้งกดดันให้หน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจนำเงินเข้าฝาก ตลอดจนบีบบังคับให้บรรดาพ่อค้าข้าวส่งออกเปิด L/C กับธนาคารกรุงเทพ จำกัด โดยอาศัยอำนาจและอิทธิพลทางการเมืองเช่นนี้เองธนาคารกรุงเพท จำกัด จึงสามารถเบี่ยงเบนออกจาเส้นทางแห่งหายนภัยมาได้ แต่ความสัมพันธ์ที่นายชินมีกับกลุ่มซอยราชครูกลับเป็นเหตุให้นายชินจำต้องลี้ภัยออกนอกประเทศเมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ยึดกุมอำนาจรัฐได้ภายหลังการรัฐประหารปี 2500 กระนั้นก็ตาม ความสามารถในการคาดการณ์ทำให้นายชินดึงพลเอกประภาส จารุเสถียรเข้าดำรงตำแหน่งประธานกรรมการแทนพลตรีศิริ สิริโยธิน แม้นายชินต้องลี้ภัยอยู่ต่างประเทศ แต่ธนาคารกรุงเทพ จำกัดก็รอดพ้นปากเหยี่ยวปากกาไปได้ มิหนำซ้ำกลับสามารถเสริมฐานสำหรับการเติบใหญ่ต่อไปอีก ยิ่งภายหลังจากมรณกรรมของจอมพลสฤษดิ์และนายชินกลับคืสู่ประเทศไทยด้วยแล้ว กระบวนการรวมศูนย์ของทุนอันเกิดจากการเติบใหญ่ต่อไปอีก ยิ่งภายหลังจากมรณกรรมของจอมพลสฤษดิ์และนายชินกลับคืนสู่ประเทศไทยด้วยแล้ว กระบวนการรวมศูนย์ของทุนอันเกิดจากการเติบใหญ่ของเศรษฐกิจของกลุ่มโสภณพนิชยิ่งขยายตัวอย่างยากที่จะหยุดยั้งได้ ธนาคารกรุงเทพ จำกัดไม่เพียงแต่จะมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยนั่งเป็นประธานกรรมการเท่านั้น หากยังมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังนั่งเป็นกรรมการอยู่ด้วย ทั้งๆ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีหน้าที่พื้นฐานในการควบคุมและกำกับการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ตลอดช่วงเวลาระหว่างปี 2490-2516 ระบอบการเมืองปกครองของไทยมีลักษณะเผด็จการและคณาธิปไตยการใช้อำนาจทางการเมืองต่างๆ พากันสร้างและขยายฐานเศรษฐกิจเพื่อเสริมฐานอำนาจทางการเมืองของตน ในสภาวการร์ดังกล่าวนี้ธุรกิจมิอาจเติบโตได้เพียงด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและประสิทธิภาพการตลาด พ่อค้านายทุนทั้งหลายจึงพากันอิงแอบอยู่กับกลุ่มการเมืองกลุ่มต่างๆ เพื่ออาศัยอำนาจและอภิสิทธิ์ทางการเมืองในการสร้างกำไรทางเศรษฐกิจ นายชินก็ได้อาศัยยุทธวิธีเดียวกันนี้ในการสร้างอาณาจักรเศรษฐกิจของตน ความเฮงของนายชินคงอยู่ที่การปรับยุทธวิธีอย่างทันการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหันเข้ากลุ่มซอยราชครูหลังการรัฐประหารปี 2490 และการหันเข้าหาสมาชิกคนสำคัญของกลุ่มสี่เสาเทเวศร์เมื่อกลุ่มซอยราชครูสิ้นอำนาจหลังการรัฐประหารปี 2500 ครั้นเมื่อระบอบการเมืองการปกครองของไทยเดินสู่เส้นทางประชาธิปไตยภายหลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเดือนตุลาคม 2516 กลุ่มโสภณพนิชก็มิจำต้องพึ่งพาผู้มีอำนาจทางการเมืองอีกต่อไป

หากนายชิน โสภณพนิชมิได้มีเชื้อจีนและมีสายสัมพันธ์กับนายทุนจีนโพ้นทะเลในแถบเอเชียตะวันออกไกล กลุ่มโสภณพนิชก็คงยากที่จะเติบใหญ่ในระดับที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้ ชะตาชีวิตที่ผลักดันให้นายชินจำต้องลี้ภัยทางการเมืองในยุคสมัยที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เรืองอำนาจทำให้นายชินปักหลักสร้างอาณาจักรเศรษฐกิจที่ฮ่องกงและนี่เองที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญ ที่ทำให้กลุ่มโสภณพนิชมีสายสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับระบบทุนนิยมแห่งโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มนายทุนจีนโพ้นทะเลมากยิ่งขึ้น ชะตากรรมทางการเมืองในด้านร้ายจึงถูกพลิกกลับเป็นชะตาเศรษฐกิจในด้านดี

เส้นทางชีวิตของนายชิน โสภณพนิชสะท้อนให้เห็นภาพลักษณ์แห่งการเติบโตของระบบทุนนิยมในประเทศไทยได้ไม่น้อย นายชินผันชีวิตตัวเองจากอาชีพ "พะจั๊บ" ไปสู่นายทุนพาณิชย์จากนายทุนพาณิชย์ไปสู่นายทุนการเงิน และจากนายทุนการเงินไปสู่นายทุนอุตสาหกรรม นายทุนคนสำคัญของไทยหลายต่อหลายคนก็มีเส้นทางชีวิตในลักษณาการเดียวกัน พัฒนาการดังกล่าวนี้นับว่าแตกต่างจากทุนนิยมตะวันตก ซึ่งเส้นทางการพัฒนาเรียงลำดับจากทุนพาณิชย์ไปสู่ทุนอุตสาหกรรมและทุนการเงินในที่สุด แต่ในสังคมที่ด้อยพัฒนาและไม่มีประชาธิปไตย การเติบโตของกลุ่มทุนนิยมจำต้องอาศัยการอุปถัมภ์ทางการเมือ เส้นทางชีวิตของนายชินก็ยืนยันความข้อนี้ได้ดี ยิ่งลำพังแต่อัจฉริยส่วนบุคคลคงไม่สามารถที่จะทำให้นายชินแปรสภาพจากสมาชิกแห่งชนชั้นผู้ยากไร้ไปเป็นนายทุนผู้ยิ่งใหญ่ได้ หากปราศจากการอุปถัมภ์ทางการเมือง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us