|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
จีน
รัฐบาลทหารพม่าได้ประกาศโครงการก่อสร้างทางรถไฟระยะทาง 480 กิโลเมตร เชื่อมเมืองท่า Sittwe ริมทะเลเบงกอลในรัฐยะไข่ ไปต่อเข้ากับทางรถไฟหลักของประเทศทางฝั่งตะวันตกแม่น้ำอิรวดี ใกล้กับเมืองพุกาม เมืองท่าดังกล่าวเป็นต้นทางระบบท่อส่งก๊าซและน้ำมันดิบของจีนที่จะเริ่มการก่อสร้างปลายปีนี้ เมื่อสร้างแล้วเสร็จจากเมืองท่าริมทะเลเบงกอลก็จะสามารถเดินทางเชื่อมต่อไปตามทางรถไฟสายปัจจุบันจนถึงเมือง Lashio ในรัฐฉานตะวันออก ซึ่งอยู่ห่างจากชายแดนจีนเพียงประมาณ 100 กม.
ก่อนหน้านี้มีรายงานว่าจีนตกลงจะช่วยพม่าสร้างทางรถไฟส่วนที่เหลือไปยังชายแดนมณฑลหยุนหนัน ทางรถไฟจะมีบทบาทสำคัญในการขนส่งสินค้า หากทุกอย่างเป็นตามแผนการ ในระยะ 10 ปีข้างหน้าทางรถไฟสายนี้จะมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ เป็นครั้งแรกที่จีนจะสามารถออกสู่ทะเลตะวันตกอันหมายถึงมหาสมุทรอินเดียได้ด้วยการขนส่งระบบราง
พม่า
บริษัทพัฒนาพลังงานชีวภาพญี่ปุ่น (Japan Bio Energy Development Corp : JBEDC) ประกาศเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ว่ามีแผนการร่วมทุนกับบริษัทท้องถิ่นของพม่า ก่อตั้งบริษัท Japan-Myanmar Green Energy ตั้งเป้าส่งออกเมล็ดละหุ่ง 5,000 ตันในปี 2552 ก่อนจะตั้งโรงงานสกัดน้ำมันแห่งที่ 1 ในปี 2553 และยังมีแผนจะส่งออกเชื้อเพลิงชีวภาพที่สกัดจากเมล็ดสบู่ดำในปี 2553 โครงการนี้ใช้เงินลงทุน 1.5 ล้านดอลลาร์ JBEDC ถือหุ้น 60% อีก 40% ถือโดยบริษัทพม่า
JBEDC เซ็นความตกลงกับทางการพม่าตั้งแต่เดือนธันวาคม 2549 เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมผลิตเชื้อเพลิงทางเลือกระบุว่า ปัจจุบันพม่าเป็นประเทศผลิตสบู่ดำรายใหญ่ที่สุดของโลก รัฐบาลได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2549 จนถึงสิ้นปี 2551 พื้นที่ปลูกขยายออกไปเป็น 2 ล้านเฮกตาร์ (12.5 ล้านไร่) หรือกว่า 90% ของเนื้อที่ปลูกสบู่ดำในประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวมกัน
ลาว
วิสาหกิจผสมปากซองพัดทะนาขาออก-ขาเข้า (Pakxong Development Export-Import State Enterprise) เซ็นความตกลงเพื่อจำหน่ายผักผลไม้ปลอดสารพิษให้กับไทยรวม 9 สัญญา โดย 2 สัญญาเป็นความร่วมมือกับบริษัทธุรกิจอาหารฮาลาลจากกรุงเทพฯ ที่เหลือเป็นสัญญากับคู่ค้าในจังหวัดอุบลราชธานี ที่มีเขตแดนติดกับแขวงจำปาสัก
ปัจจุบันเขตเมืองปากเซ-ปากซอง เป็นแหล่งปลูกพืชเกษตรอินทรีย์แหล่งใหญ่ โดยอาศัยดินภูเขาไฟที่อุดมด้วยธาตุอาหารสำหรับพืชผัก และภูมิอากาศที่เย็นสบายตลอดทั้งปี นอกจากนี้เมืองปากซองยังเป็นแหล่งปลูกกาแฟใหญ่ที่สุดของ สปป.ลาว เพราะอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 600-1,200 เมตร ในเขตที่ราบสูงโบโลเวน ซึ่งมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปี 25 องศาเซลเซียส
กัมพูชา
องค์การแรงงานสากล (International Labour Organization) รายงานในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ว่ามีคนงานราว 17,000 คนในกัมพูชาที่ถูกเลิกจ้างหรือว่างงาน เนื่องจากโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าส่งออกต้องปิดลง และจำนวนคนว่างงานจะสูงขึ้นอีกในปลายปี 2552 อันเป็นสาเหตุมาจากวิกฤติการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีของกัมพูชา บอกว่าคนงานที่ถูกเลิกจ้างนับหมื่นดังกล่าว ควรกลับคืนสู่ภาคการเกษตร เพราะทุกคนจะมีงานทำ มีรายได้ สามารถดำรงชีพต่อไปได้
ขณะเดียวกันสมเด็จฮุนเซ็นยืนยันว่าวิกฤตเศรษฐกิจโลกไม่ได้กระทบต่อเศรษฐกิจกัมพูชามากนัก หากเทียบกับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐฯ กับยุโรป
เวียดนาม
สายการบินแห่งชาติเวียดนามจะเริ่มนำเครื่องบินโดยสารพิสัยปานกลางแบบ ATR72-500 เข้าประจำการได้ครบทั้ง 14 ลำ ตั้งแต่เดือนมิถุนายนนี้เป็นต้นไป เพื่อแทนที่รุ่นเก่าที่ใช้งานมานานและเริ่มเสื่อมสภาพ
ปัจจุบันสายการบินแห่งชาติเวียดนามมีเครื่องบินในฝูงเพียง 50 ลำ แต่ในเดือนพฤศจิกายน 2550 สายการบินแห่งนี้กับบริษัทลูก คือ VALC (Vietnam Aircraft Leasing Co.) ได้เซ็นสัญญาซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 787-9 จำนวน 12 ลำ รวมกับ 4 ลำ ที่สั่งซื้อเมื่อปี 2548 เป็นทั้งหมด 16 ลำ
ล่าสุด สายการบินเวียดนามกับ VALC เซ็นสัญญาซื้อเครื่องบินจากบริษัทแอร์บัสอินดัสตรี (Airbus Industrie) คราวเดียว 30 ลำ เป็น A350XWB-900 จำนวน 10 ลำ และ A321 จำนวน 20 ลำ
|
|
|
|
|