Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน1 เมษายน 2552
ธปท.ลุ้นศก.ไทยผงกหัว ใช้จ่ายภาครัฐกระเตื้อง-เมินทุบบาท             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Economics




แบงก์ชาติเผยเศรษฐกิจไทยสัญญาณเริ่มดีขึ้น แม้การลงทุนและการบริโภคภาคเอกชนชะลอตัว แต่การผลผลิตอุตสาหกรรม การใช้จ่ายภาครัฐที่ปรับตัวดีขึ้น และต้นทุนที่ต่ำมีแรงส่งให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจปรับสู่ความสมดุลมากขึ้น แนะปัจจัยการเมืองเหมือนก้อนหินก้อนใหญ่ที่ทำให้แสงสว่างปลายอุโมงค์ที่เริ่มเห็นแวบๆ จึงไม่ควรให้ความสำคัญมากนัก และพยายามใช้ชีวิตปกติทั่วไป ปัดใช้นโยบายบาทอ่อน

นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น แม้การลงทุนและการบริโภคภาคเอกชนชะลอตัว แต่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมบางกลุ่มเริ่มปรับตัวดีขึ้นจากการลดสต็อกสินค้าที่มีอยู่ เพื่อให้สอดคล้องกับอุปสงค์ในและต่างประเทศ การส่งออกสุทธิเพิ่มขึ้น รวมถึงการใช้จ่ายภาครัฐมีมากขึ้น ทำให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนสู่ระบบเศรษฐกิจ ขณะที่ต้นทุนและอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำ จึงส่งผลให้กิจกรรมเศรษฐกิจปรับสู่ความสมดุลมากขึ้นทั้งการผลิตและการท่องเที่ยว

ทั้งนี้ รายได้ของเกษตรไทยปรับตัวลดลงตามจากราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกที่ลดลงมาก ขณะที่การท่องเที่ยวหดตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนผลจากเศรษฐกิจของประเทศในตลาดท่องเที่ยวหลักของไทยชะลอตัวลงและฐานปีก่อนสูงจากเทศกาลตรุษจีน ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนหดตัวทั้งช่วงเดียวกันปีก่อนและเดือนก่อนหน้า ติดลบ 7.1%และติดลบ 4.8%ตามลำดับ ซึ่งเครื่องชี้เกือบทุกตัวหดตัว สอดคล้องกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมในเดือนนี้อยู่ที่ 74 ลดลงเป็นเดือนแรก หลังจากที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องใน 2 เดือนที่ผ่านมา

ส่วนการลงทุนหดตัวเช่นกัน โดยเครื่องชี้ในหมวดก่อสร้างหดตัวต่อเนื่อง การนำเข้าสินค้าทุนลดลงทุกหมวด ประกอบกับปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์หดตัวต่อเนื่อง สะท้อนให้ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในปัจจุบันและในอีก 3 เดือนข้างหน้าทรงตัวจากเดือนก่อน แต่ยังคงต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งสะท้อนถึงความกังวลของผู้ประกอบการต่อปัญหาเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศ โดยผู้ประกอบการเห็นว่าความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจและความต้องการภายในประเทศที่ลดลงเป็นข้อจำกัดที่สำคัญในการทำธุรกิจ

สำหรับภาคต่างประเทศ การส่งออกมีมูลค่า 11,582 ล้านเหรียญ หรือหดตัว 11.1%ในช่วงเดียวกันปีก่อน แต่หากไม่รวมส่งออกทองคำที่มีมูลค่าสูงถึง 1,865 ล้านเหรียญ ทำให้การส่งออกเดือนนี้หดตัว 24.5% โดยเป็นการหดตัวด้านปริมาณทุกหมวด โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 7,635 ล้านเหรียญ หรือติดลบ 43.5% ด้านปริมาณเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นการลดลงเกือบทุกหมวด เนื่องจากความพยายามลดสินค้าคงคลังของผู้ประกอบการที่นำเข้ามามากในช่วงก่อนหน้า ทำให้ลดการนำเข้าลง และเมื่อสต็อกหมด และมีการลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้นการนำเข้าจะเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 3,946 ล้านเหรียญ

ขณะเดียวกันเริ่มเห็นการใช้จ่ายภาครัฐบาลที่เพิ่มขึ้นของความมุ่งมั่นรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 รัฐบาลมีการเบิกจ่าย 706,000 ล้านบาทหรือ 38.5% เทียบกับการเบิกจ่าย 614,600 ล้านบาท หรือ 37% ในปีงบประมาณก่อน ขณะเดียวการจัดเก็บรายได้ลดลง 16.1% ในเดือน ก.พ. โดยภาษีมูลค่าเพิ่มลดลง 25.2%

นางอมรากล่าวว่า สถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ไม่ได้มีผลต่อเศรษฐกิจมากนัก แม้ว่าผู้ประกอบการมองว่าปัจจัยการเมืองมีความสำคัญในระดับต้นๆ ต่อการตัดสินใจลงทุน แต่ภาคเอกชนได้มีการปรับตัวได้แล้ว ซึ่งหากเปรียบการเมืองกลายเป็นก้อนหินก้อนใหญ่ที่ทำให้แสงสว่างปลายอุโมงค์ที่เริ่มเห็นแวบๆ จากการเดินหน้าของรัฐบาลในมาตรการต่างๆ ด้านที่ดี จึงอย่าให้ความสำคัญเรื่องนี้มากนัก และพยายามใช้ชีวิตปกติทั่วไป ฉะนั้น หากมีปัจจัยการเมืองมาแทรกอาจจะส่งผลให้อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจกลับแย่ลงอีกจากเดิมที่มองว่าติดลบแล้ว

สำหรับกรณีที่นายโอฬาร ไชยประวัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรีแนะนำให้ ธปท.ดูแลค่าเงินบาทคงที่ระดับ 37 บาทต่อเหรียญสหรัฐ เพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออกนั้น นางอมรา กล่าวว่า ธปท.ได้มีการใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ เพื่อลดความผันผวนในช่วงระยะสั้นและไม่ให้ค่าเงินเคลื่อนไหวฝืนพื้นฐานเศรษฐกิจที่ควรจะเป็น ซึ่งหากเงินบาทอ่อนค่ามากจนเกินไปก็อาจส่งผลให้หนี้ต่างประเทศตามมาด้วย ประกอบกับช่วงที่เงินบาทแข็งค่าในปีก่อน ผู้ส่งออกมีการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศ (Hedging) 60% แต่เมื่อเงินบาทอ่อนค่ากลับมีการทำสัญญาดังกล่าวน้อยลง ฉะนั้นหากทุกประเทศแข่งขันกันให้ค่าเงินอ่อนจะไม่ส่งผลประโยชน์กับใครทั้งนั้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us