Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน1 เมษายน 2552
CIMBใช้BTปล่อยกู้รายใหญ่             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารไทยธนาคาร

   
search resources

ธนาคารไทยธนาคาร, บมจ.
Banking and Finance




ไทยธนาคารเปิดแผนดำเนินธุรกิจหลัง "สุภัค" นั่งซีอีโอ-เอ็มดี มุ่งขยายฐานลูกค้ารายใหญ่ผ่านเครือข่ายซีไอเอ็มบี ปรับโครงสร้างการบริหาร กดดันระดับผู้จัดการสาขาต้องมีศักยภาพชัดเจน รับปีนี้อาจยังไม่มีกำไรสุทธิเหตุต้องลงทุนเพิ่มหลังลุยขยายธุรกิจ และเดินหน้ารวมบล.บีที-บล.ซีไอเอ็มบี จีเค คาดเสร็จสิ้นใน 6 เดือน พร้อมสรุปแผนโดยรวมภายในเดือนพ.ค.นี้ ยันไม่มีแผนเออร์รีไทร์ หรือเปิดให้พนักงานหยุดโดยไม่รับเงินเดือนเหมือน บ.แม่

นายดาโต๊ะ ศรี นาเซียร์ ราซัค ประธานบริหารกลุ่มซีไอเอ็มบี กรุ๊ป ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) หรือ BT เปิดเผยว่า การเพิ่มทุนของธนาคารไทยธนาคารโดยการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนและการออก Hybrid Tier 2 ซึ่งมีมูลค่ารวมประมาณ 5,000 ล้านบาทนั้น ขณะนี้ได้ดำเนินการเสร็จแล้ว ทำให้ทางซีไอเอ็มบีมีสัดส่วนการถือหุ้นในธนาคารเพิ่มเป็น 93.15% ซึ่งการเพิ่มทุนดังกล่าวช่วยให้ธนาคารมีฐานเงินทุนที่แข็งแกร่งขึ้นและมีความพร้อมที่จะเดินหน้าการทำธุรกิจธนาคารพาณิชย์แบบเต็มรูปแบบ โดยปัจจุบันเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคารอยู่ที่ 12% เป็นเงินกองทุนขั้นที่ 1 (Tier1) 6%

ทั้งนี้ ในส่วนของกระบวนการปรับเปลี่ยนชื่อธนาคารไทยธนาคารมาเป็น ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) นั้น คาดว่าจะทำได้แล้วเสร็จในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมหรือต้นมิถุนายนนี้ โดยขณะนี้รอเพียงการได้รับอนุญาตจากทางการเท่านั้น ส่วนโครงการปรับเปลี่ยนไทยธนาคาร (BankThai's Transformation Programme) นั้น ขณะนี้ได้เสร็จสิ้นขั้นตอนการวิเคราะห์แล้ว และได้เริ่มต้นเข้าดำเนินการเกี่ยวกับงานที่สามารถบรรลุผลสำเร็จโดยเร็ว ได้แก่ การปรับปรุงกระบวนการทำงาน การเพิ่มผลิตภัณฑ์ และการพิจารณาทบทวนเกี่ยวกับเครือข่ายของธนาคาร

อย่างไรก็ตาม การดำเนินธุรกิจของธนาคารนั้นจะยังคงมุ่งไปที่ลูกค้าธุรกิจรายใหญ่เป็นหลัก เนื่องจากการปรับปรุงธุรกิจสามารถดำเนินการได้รวดเร็ว ส่วนของธุรกิจรายย่อยนั้นธนาคารก็ยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง แต่ในการปรับปรุงพัฒนาจะมีขั้นตอนที่มีรายละเอียดมากกว่า จึงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง

"ตอนนี้ยังไม่มีแผนที่จะนำหุ้นของไทยธนาคารออกจากตลาดหลักทรัพย์ แต่เมื่อกระบวนการต่างๆเสร็จสิ้นแล้ว ก็เพียงแต่จะเปลี่ยนชื่อที่ใช้เท่านั้น ส่วนเงินทุนของไทยธนาคารจะเพียงพอต่อการธุรกิจนานแค่ไหนนั้น เชื่อว่าเมื่อทำธุรกิจแล้วมีกำไรก็จะสามารถเดินต่อไปได้เรื่อย ๆ แต่ถ้าขาดเหลือทางซีไอเอ็มบีก็พร้อมจะใส่เติมเข้าไป"

สำหรับผลการดำเนินงานในปีนี้ บริษัทยังมีผลขาดทุนสุทธิ แม้ว่าการทำธุรกิจตามปกติจะมีกำไร หลังจากขยายธุรกิจเพิ่ม อาทิ ด้านคอร์เปอร์เรท วาณิชธนกิจ แต่ธนาคารจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมากเพื่อลงทุนปรับปรุงระบบ ,โครงสร้างองค์กร จึงทำให้ปีนี้อาจจะยังไม่มีกำไรสุทธิ

เปิด3แผนงานเร่งด่วน

ด้านนายสุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยธนาคาร กล่าวว่า แผนดำเนินการเร่งด่วนภายหลังจากเข้ารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของธนาคารนั้น มี 3 อย่างคือ การจัดระบบตำแหน่งการบริหารโดยจะต้องมีการพิจารณาและปรับปรุงกระบวนการทำงานของโครงสร้างการบริหารใหม่ โดยเฉพาะผู้จัดการสาขาต่างๆ ต้องแสดงศักยภาพให้เห็นได้อย่างชัดเจน โดยอาจปิดบางสาขาที่ไม่ทำกำไร หรือโยกย้ายผู้จัดการสาขา อย่างไรก็ตาม การปิดสาขาไม่ได้ทำเพื่อลดต้นทุนเพียงอย่างเดียว เพราะจะมีการย้ายไปเปิดสาขาใหม่ในพื้นที่ที่มีศักยภาพในการแข่งขัน เช่น ศูนย์การค้า หรือสถานที่สำคัญต่างๆ

นอกจากนี้ จะเร่งผลักดันธุรกิจสินเชื่อประเภท Corporate และ Investment Banking โดยจะขยายขอบเขตในการรุกสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงการปล่อยสินเชื่อแต่เมื่อมีพันธมิตรที่แข็งแกร่งอย่างซีไอเอ็มบีเข้ามาชี้นำแนวทาง และให้การสนับสนุนในเครือข่ายธุรกิจน่าจะทำให้สายงาน Corporate เติบโตขึ้นได้อย่างรวดเร็วและเพิ่มการบริการใหม่เช่นที่ปรึกษาทางการเงิน Trade Finance, Cash Management รวมถึงเป็นที่ปรึกษาในการออกหุ้นกู้และควบรวมกิจการ โดยซีไอเอ็มบีเป็นกลุ่มผู้ให้บริการทางการเงินขนาดใหญ่ของประเทศมาเลเซียและเป็นกลุ่มธนาคารผู้นำด้านธุรกิจธนาคารแบบครบวงจร (Universal Bank) ชั้นนำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีเครือข่ายสำนักงานกระจายอยู่ทั่วภูมิภาค ทั้ง สิงคโปร์ อินโดนีเซียและประเทศไทย

"ธนาคารจึงเล็งเห็นว่าจะเป็นการเอื้ออำนวยให้มีฐานลูกค้าเป็นกลุ่มบริษัทที่ประกอบธุรกิจข้ามชาติและมีการทำธุรกรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเท่าที่เห็นก็มีบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หลายแห่งเข้าไปลงทุนในมาเลเซียและอินโดนีเซีย ไม่ว่าจะเป็น BANPU, PTT ,CPF ซึ่งด้วยเครือข่ายของซีไอเอ็มบีที่มีครอบคลุมน่าจะทำให้กลุ่มธุรกิจเหล่านี้หันมาทำธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคาร ซึ่งเป็นสาขาของซีไอเอ็มบี แต่ธนาคารยังคงมุ่งเน้นสร้างการเติบโตของสินเชื่อรายย่อย ซึ่งถือเป็นฐานลูกค้าสำคัญของธนาคารอยู่ต่อไปเช่นกัน"

และอีกด้านเป็นการปรับปรุงด้านการให้บริการกับลูกค้า โดยทางซีไอเอ็มบี กรุ๊ปได้ส่งทีมงานเข้ามาแนะนำเกี่ยวกับการให้บริการที่รวดเร็วและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วรวมทั้งการที่ซีไอเอ็มบีเป็นผู้ประกอบธุรกิจธนาคารแบบครบวงจรจะช่วยในเรื่องจำนวนสาขาที่ครอบคลุมความต้องการ นอกจากนี้ยังมีบริการและผลิตภัณฑ์ด้านการเงินอื่นๆ ทั้งการประกันภัยและบริษัทหลักทรัพย์

ส่วนแผนงานธุรกิจโดยรวมนั้นขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำแผนซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนเมษายนหรือพฤษภาคม ส่วนแผนงานของสายงานธุรกิจรายใหญ่นั้น กลยุทธ์ในการทำตลาดต่อจากนี้จะไม่มุ่งแค่การปล่อยสินเชื่อเท่านั้น แต่จะมีการให้บริการในหลายรูปแบบมากขึ้น เช่น วาณิชธนกิจ การเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการออกหุ้นกู้รวมถึงการควบรวมกิจการ การรับบริหารเงินสด หรือธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น เนื่องจากการมีซีไอเอ็มบีร่วมเป็นพันธมิตรนั้นจะเป็นส่วนช่วยให้การทำธุรกิจในสายงานนี้จะมีการเติบโตขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

"เดิมเราเป็นแบงก์ที่อยู่เดี่ยว ๆ แต่ตอนนี้เรามาอยู่ในกลุ่มซีไอเอ็มบีทำให้เรามีเครือข่ายอยู่ในต่างประเทศ ซึ่งเป็นที่มีคุณค่าในการทำธุรกิจ และตอนนี้ก็ความพร้อมในด้านพนักงานตอนนี้ก็มีพร้อมเพราะในสายงานธุรกิจรายใหญ่นี้ก็มีผู้บริหารที่มีความเชี่ยวชาญ อีกทั้งทางซีไอเอ็มบียังได้ส่งตัวแทนเข้ามาช่วยในการทำงานร่วมกับไทยธนาคารประมาณ 15-20 คน"

นายสุภัคกล่าวว่า ทางคณะกรรมการธนาคารมีแผนที่จะให้ควบรวมกิจการของบริษัทหลักทรัพย์บีทีซึ่งมุ่งเน้นลูกค้าทั่วไปกับบริษัทหลักทรัพย์ซีไอเอ็มบี จีเค ซึ่งมุ่งเน้นลูกค้าสถาบันเข้าไว้ด้วยกัน โดยคาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการควบรวม รวมถึงผ่านขั้นตอนการขออนุญาตจากผู้ถือหุ้นประมาณ 6 เดือน ซึ่งภายหลังการควบรวมจะผลักดันให้มาร์เก็ตแชร์เพิ่มขึ้นเกิน 1% จากเดิมบล.บีทีมีมาร์เก็ตแชร์อยู่ที่ 0.5% ขณะที่บล.ซีไอเอ็มบีมีมาร์แชร์ประมาณ 0.5% เช่นกัน

ยันไม่มีแผนลดพนักงาน

ส่วนกรณีที่มีข่าวว่าทางซีไอเอ็มบี กรุ๊ป มีนโยบายลดต้นทุนระยะสั้นด้วยการให้ให้พนักงานสามารถลาหยุดได้สูงสุด 6 เดือนโดยที่จะไม่ได้รับค่าจ้างนั้น นายสุภัค กล่าวว่า ทางประเทศไทยไม่ได้มีโปรแกรมที่จะดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว เนื่องจากธนาคารทั้งผู้บริหารและพนักงานยังมีงานที่จะต้องทำอีกมาก เพื่อเดินหน้าการทำธุรกิจ ทั้งนี้โครงการดังกล่าวเป็นแนวทางที่ซีไอเอ็มบี ซึ่งเป็นบริษัทแม่มอบอำนาจให้แต่ละธนาคารในเครือไปดำเนินการได้หากมีความจำเป็นต้องลดต้นทุนและพนักงานกลุ่มดังกล่าวอยู่ในหน่วยงานที่ไม่ได้มีภาระหนักแต่ไม่ใช่เป็นการบังคับให้หยุดงาน โดยถือเป็นโครงการที่จะให้พนักงานซึ่งทำงานหนักมาตลอดได้พักในเวลาที่เหมาะสมและมีโอกาสกลับมาทำงานได้อีก

"จะมีการเปิดโครงการเออร์รีรีไทร์หรือไม่นั้น จริง ๆ แล้วอยากให้คนอยู่แต่ก็เป็นไปได้ที่จะมีคนที่พอเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วรับวัฒนธรรมใหม่ไม่ได้แล้วจะออกก็ไม่เป็นไร เพราะที่ผ่านมาในอินโดนีเซีย มาเลเซีย ก็มีคนที่อาจจะรู้สึกกดดันบางคนที่ลาออกไปบ้าง"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us