|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ขณะที่ สป.จีนทุ่มเทกับนโยบาย "ตงหมง" คือการเปิดเส้นทางให้มณฑลทางตะวันตกเฉียงใต้ได้มีทางออกสู่ทะเลผ่านโครงข่ายคมนาคมเชื่อมกับพม่า ลาว เวียดนาม และไทย ซึ่งกำลังเห็นผลเป็นรูปธรรมมากขึ้นเรื่อยๆ นั้น
ณ ใจกลางนครคุนหมิง เมืองหลักของมณฑลหยุนหนัน สป.จีน จุดเริ่มต้นของเส้นทางคุน-มั่ง กงลู่ (คุนหมิง-กรุงเทพฯ) มีตลาดค้าส่งขนาดใหญ่ชื่อ "หลอซือหวัน" ที่มีสารพัดสินค้าวางจำหน่ายในราคาขายส่งอยู่ มีผู้คนผ่านเข้า-ออกมากกว่า 150,000-200,000 คนต่อวัน
แม้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นคนจีนในท้องถิ่นที่แวะเวียนเข้าไปซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคก็ตาม แต่ล่าสุด ผู้จัดการ 360 ํ พบว่าในตรอกซอกซอยของ "หลอซือหวัน" แห่งนี้มีป้ายบอกทาง-บอกโซนที่สินค้าแต่ละชนิดวางจำหน่ายถึง 3 ภาษา คือ จีน อังกฤษ และไทย ติดตั้งตามทางแยกทุกจุด เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางเข้าคุนหมิงหนาตาขึ้นเรื่อยๆ ทั้งที่เดินทางเพื่อการท่องเที่ยวหรือติดต่อค้าขาย
พร้อมกับการใช้เครื่องบันทึกเสียง ออกอากาศประชาสัมพันธ์โซนร้านค้าเป็น "ภาษาไทย" เป็นระยะๆ อีกทางหนึ่ง เป็นช่องทางให้คนไทยที่กำลังเดินจับจ่ายซื้อของใน "หลอซือหวัน" ได้รู้ถึงจุดเป้าหมายร้านค้าที่ต้องการซื้อสินค้า
ทั้งที่ในจำนวนผู้คน 150,000-200,000 คนต่อวันที่หมุนเวียนเดินเข้า-ออกในหลอซือหวันนั้น กล่าวได้ว่ามีคนไทยปะปนอยู่ไม่กี่คนเท่านั้น
แต่ด้วยโครงข่ายคมนาคมที่กำลังได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งถนนคุนมั่ง กงลู่ ผ่านเส้นทางสาย R3a (อ.เชียงของ จ.เชียงราย-สปป.ลาว-สิบสองปันนา-คุนหมิง) ที่เปิดใช้กันได้แล้ว หรือเส้นทางสาย R3b (ผ่านทาง อ.แม่สาย จ.เชียงราย-พม่า-สิบสองปันนา-คุนหมิง) ย่อมทำให้ปริมาณคนไทยที่จะเดินทางขึ้นไปถึงคุนหมิงมีเพิ่มมากขึ้นอีกในอนาคตแน่นอน
เช่นเดียวกับป้ายบอกทางริมถนนคุนมั่ง กงลู่ ช่วงเมืองโม่หาน (ชายแดน สปป.ลาว-จีน) ตั้งแต่จุดเชื่อมต่อกับ R3a ไปจนถึงเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา มณฑลหยุนหนัน ทางการจีนก็นำภาษาไทยมาใช้เขียนบอกเส้นทาง-ข้อความเตือนต่างๆ เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับคนไทยที่เดินทางผ่านเส้นทางนี้อีกทางหนึ่ง
การที่ทางการจีนให้ความสำคัญกับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างเรื่องภาษาในป้ายบอกเส้นทาง เป็นการสะท้อนถึงมุมมองเชิงยุทธศาสตร์ในการเพิ่มตลาดผู้ซื้อ และนักท่องเที่ยวกลุ่มที่เป็นคนไทย
ตรงกันข้ามกับประเทศไทยที่แม้ว่ากำลังแสวงหาตลาดใหม่ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยว เพื่อให้มาทดแทนกลุ่มนักท่องเที่ยวกลุ่มเก่าจากยุโรป อเมริกา ที่กำลังผจญกับวิกฤติเศรษฐกิจ "แฮมเบอร์เกอร์ไครซิส" อยู่ในขณะนี้
ในการวางยุทธศาสตร์ดูเหมือนจะมองข้าม หรือละเลย ให้ความสนใจในรายละเอียดที่มีผลทางด้านจิตใจ อย่างประเด็นเล็กๆ น้อยๆ นี้ไปอย่างน่าเสียดาย
|
|
|
|
|