Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2552
อีก 1 ยุทธศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-จีน             
โดย เอกรัตน์ บรรเลง
 


   
search resources

International




ถ้าทุกคนยอมรับว่า จีนคือคู่ค้าที่ใหญ่และใกล้ชิดกับไทยมากที่สุดแล้ว ยุทธศาสตร์ในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ ก็ไม่จำเป็นต้องอาศัยมิติในเชิงเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว

ณ วัดเฉวียงจรู๋ วัดในศาสนาพุทธนิกายเซน ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาสูงทางตะวันตกเฉียงเหนือของนครคุนหมิง มณฑลหยุนหนัน สาธารณรัฐประชาชน (สป.) จีน ที่ก่อสร้างขึ้นในสมัยปลายราชวงศ์ซ้อง ต่อเนื่องถึงต้นราชวงศ์หยวน ถือเป็น "วัดพุทธ" ที่ยังเหลืออยู่อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่ถูกทำลายไปในสมัยปฏิวัติวัฒนธรรมของจีน

ปัจจุบันวัดแห่งนี้กำลังเป็นสื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างจีน-ไทยได้อย่างลงตัว

หลังจาก "หลวงพ่อญาท่าน" หรือพระครูปภัศรคุณ (มรณภาพเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2548) เดินทางมาแสวงบุญ ณ นครคุนหมิง ร่วมกับศาสตราจารย์หนิว ซือ เหว่ย ผู้เรียบเรียงพระธรรม "สุญญตา" เผยแผ่ ซึ่งต่อมามีนักธุรกิจฮ่องกงนำมาพิมพ์เผยแผ่แก่ผู้สนใจศาสนาพุทธในจีนแก่ผู้ที่ได้ไปยังวัดแห่งนี้

ณ ขณะนั้นหลวงพ่อญาท่านได้นำคณะศิษยานุศิษย์บุกเข้าไปในป่าหลังวัด ที่ปกติจะปิดล็อกด้วยกุญแจแน่นหนา จนพบหมู่เจดีย์เก่าแก่กลุ่มแรกจำนวน 3 องค์ ที่ต่อมามีการตรวจสอบยืนยันแล้วว่าเจดีย์องค์กลางสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หยวน เป็นเจดีย์บรรจุอัฐิของปรมาจารย์ "เสวียงเปี้ยน" ที่ได้ชื่อว่าเป็นพระที่องค์กุบไลข่าน พระราชทานทินนามให้ว่า "หงจิ้ง" ผู้เผย แผ่คัมภีร์ "อนัตตา"

องค์ด้านซ้ายเป็นเจดีย์ของท่าน "เสวียงเจียน" ศิษย์เอกของปรมาจารย์ "เสวียงเปี้ยน" ที่ต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดเฉวียงจรู๋ ส่วนองค์ด้านขวาเป็นเจดีย์บรรจุอัฐิท่านอู๋เซี่ยง สมัยราชวงศ์หมิง

เจดีย์ 3 องค์นี้ถือเป็นโบราณสถาน ของวัดในพระพุทธศาสนาที่ล้ำค่าในนครคุนหมิงในปัจจุบัน

"หลวงพ่อญาท่าน" นำศิษย์บุกฝ่าป่ารกเหนือเจดีย์หมู่ 3 องค์แรกจนพบเจดีย์ องค์ใหญ่เป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ที่อยู่ในสภาพเอียงเกือบทรุด ก่อนที่จะคุก เข่าก้มลงกราบพร้อมกับบอกว่า "พระธาตุประดิษฐานที่นี่"

ทั้งนี้ตามหนังสือแบบเรียนภาษาไทยสำหรับรายวิชาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของกระทรวงศึกษาธิการให้คำอธิบายเพิ่มเติมว่า "ไม้สิบสอง" เป็นชื่อแบบสถาปัตยกรรมของไทย ซึ่งมีวิธีย่อมุมไม้ มุมละ 3 หยัก 4 มุม รวมเป็น 12 หยัก เรียกชื่อสิ่งของตามวิธีนี้เช่น เจดีย์ไม้ 12 ถือเป็นสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมในกระบวนการช่างไทยรูปแบบหนึ่ง และพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถานฉบับ พ.ศ.2525 ให้ความหมายไม้สิบสองว่าเป็นลักษณะของสถาปัตยกรรมไทย และศิลปกรรมไทยที่ย่อมุม

จากการสืบค้นเอกสารเก่าแก่ประจำวัด พบว่าพระเจดีย์องค์นี้ภายในบรรจุไว้ด้วย "พระธาตุ 5 สี" แต่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม ไม่มีผู้ใดดำเนินการขออนุมัติซ่อมแซมจากรัฐบาลกลางของ สป.จีน เพราะถือเป็นโบราณสถานอันเป็นเรื่องยากมากที่จะได้รับการอนุมัติให้บูรณะซ่อมแซมได้

เวลานั้น "หลวงพ่อญาท่าน" ได้สั่งให้ศิษยานุศิษย์ที่ร่วมคณะ รวมทั้ง "กัลยาณี รุทระกาญจน์" ประธานกรรมการบริษัทมณีต้าหมิง จำกัด นิติบุคคลไทยใน สป.จีน ที่ถือหุ้นโดยคนไทย 100% และ "โสรัต พรหมนารท" รองประธานบริษัทฯ ร่วมอยู่ด้วยขอตั้งจิตอธิษฐานให้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพบูรณะหมู่เจดีย์พร้อมพัฒนาภูมิทัศน์ ให้เหมาะแก่การนั่งวิปัสสนากรรมฐาน

(อ่านเรื่อง "มณีต้าหมิง ทัพหน้าทุนไทยในจีนตอนใต้" นิตยสาร "ผู้จัดการ" ฉบับเดือนสิงหาคม 2551 หรือ www. gotomanager.com ประกอบ)

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 "หลวงพ่อญาท่าน" สั่งให้ศิษยานุศิษย์ร่วมกันตั้งจิตอธิษฐาน แล้วทุกครั้งที่มีโอกาสบรรดาศิษยานุศิษย์กลุ่มนี้เข้าไปนั่งสมาธิในวัดแห่งนี้เรื่อยมาจนกระทั่งปลายปี พ.ศ.2548 จึงมีโอกาสเสนอความร่วมมือของชาวพุทธไทย-ไต้หวัน ต่อกรมการศาสนา สป.จีน เพื่อขออนุญาตซ่อมแซมบูรณะหมู่เจดีย์ พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์รวมถึงสร้างโบสถ์เจ้าแม่กวนอิม ต่อมาได้รับอนุมัติจากกรมการศาสนา นครปักกิ่ง เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2549

โสรัตเล่าให้ผู้จัดการ 360 ํ ฟังว่า ที่วัดเฉวียงจรู๋แห่งนี้มีรูปปั้นพระอรหันต์ 500 องค์ ซึ่งเป็นผลงานของประติมากร "หลี่ถ่วงชิง" ชาวเสฉวนที่ใช้เวลานานถึง 7 ปี กว่าจะปั้นเสร็จ (พ.ศ.2426-2433) ถือเป็นรูปปั้นพระอรหันต์ 500 องค์ที่สมบูรณ์ที่สุดที่ยังเหลืออยู่ในแผ่นดินจีนปัจจุบัน

นอกจากนี้คณะศิษยานุศิษย์ "หลวงพ่อญาท่าน" ตลอดจนผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมกันบริจาคปัจจัยอัญเชิญ "พระธาตุ" จากประเทศไทยไปประดิษฐานไว้ในวัด พร้อมกับการบูรณะซ่อมแซมหมู่พระเจดีย์ ปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบ พร้อมจัดสร้างวิหารเจ้าแม่กวนอิมขึ้นภายในวัดแห่งนี้ด้วย

ความพยายามของเหล่าศิษยานุศิษย์ของ "หลวงพ่อญาท่าน" ในการขออนุญาตจากทางการ สป.จีนในการเข้าไปบูรณะซ่อมแซมหมู่พระเจดีย์ และการที่รัฐบาลกลาง สป.จีนตัดสินใจอนุญาตให้มีการบูรณะได้ ถือเป็นภาพสะท้อนความสัมพันธ์ และความใกล้ชิดกันในเชิงวัฒนธรรมระหว่างจีนและไทย โดยเฉพาะมณฑลทางตอนใต้อย่างหยุนหนันที่มีมาอย่างช้านาน

ความสัมพันธ์ในเชิงวัฒนธรรมที่ว่านั้นยังสามารถต่อยอดพัฒนาเป็นความสัมพันธ์เชิงธุรกิจ ภายใต้วิถีตะวันออกได้อีกมหาศาลในภายหลัง

ขึ้นอยู่กับว่าใครจะมองยุทธศาสตร์ตรงนี้ออก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us