Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน1 เมษายน 2552
ก.ล.ต.ล็อกกองอสังหาฯ ต่ำกว่าพันล้านตั้งไม่ได้             
 


   
www resources

โฮมเพจ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

   
search resources

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
Funds




สำนักงาน ก.ล.ต. ปิดประตูพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์ขนาดเล็ก เสนอแนวคิดตั้งกองทุนขั้นต่ำเป็น 1,000 ล้านบาทจาก 500 ล้านบาท ให้เหตุผลต้องการเพิ่มสภาพคล่อง และปริมาณการซื้อขายในตลาด ขณะเดียวกัน เล็งออกกฏแก้ปัญหาซ้ำรอยกอง "TU-PF" ระบุชัด ต้องลงทุนในสินทรัพย์ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ พร้อมจัดหาผลประโยชน์แล้วเท่านั้น ด้านผู้จัดการกองทุนไม่เห็นด้วยเกณฑ์ขั่นต่ำ 1 พันล้าน เหตุไม่มีความหลากหลายให้ผู้ลงทุน จี้สนับสนุนการลงทุนในสินทรัพย์อื่นจะดีกว่า เหตุตลาดยังจำกัดในวงแคบ

รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า สำนักงาน ก.ล.ต. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นการแก้ไขหลักเกณฑ์กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์) โดยมีแนวคิดที่จะเพิ่มขนาดขั้นต่ำของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์จาก 500 ล้านบาทเป็น 1,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มสภาพคล่องและปริมาณการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่ากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่มีขนาดกองไม่ใหญ่นักมักประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการเติบโตและความสำเร็จในการจัดตั้งกองทุนรวมประเภทนี้ในอนาคต

นอกจากนี้ สำนักงาน ก.ล.ต. ยังได้แก้ไขหลักเกณฑ์การลงทุนของกองทุนดังกล่าวให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยอนุญาตให้กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สามารถลงทุนในหุ้นของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ บริษัทใดบริษัทหนึ่งไม่เกิน 15% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ พร้อมทั้งกำหนดให้กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ต้องลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ไม่น้อยกว่า 75% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ภายใน 3 เดือนนับแต่วันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม จากเดิมที่ให้ลงทุนภายในรอบระยะเวลาบัญชีปีแรก นอกจากนี้ ยังกำหนดให้กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ต้องลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จและพร้อมที่จะจัดหาผลประโยชน์แล้วเท่านั้น

โดยสำนักงาน ก.ล.ต. จะเผยแพร่หลักการที่จะปรับปรุงและแบบแสดงความคิดเห็นดังกล่าวไว้ที่เว็บไซต์ www.sec.or.th เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจร่วมแสดงความคิดเห็นตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 17 เมษายน 2552

นายนกุล ไชยนิล ผู้จัดการกองทุนอสังหาริมทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) บีที จำกัด กล่าวว่า โดยส่วนตัวมีความเห็นว่า ไม่ค่อยเห็นด้วยกับการที่จะมากำหนดขนาดของขนาดมูลค่าของกองทุน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้กองทุนมีขนาดที่ใหญ่มากเกินไป และขาดความหลากหลายต่อการลงทุน ดังนั้น สิ่งที่ ก.ล.ต. ควรจะทำ น่าจะเป็นรูปแบบในตัวของผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายเพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุนมากยิ่งขึ้นจะดีกว่า เนื่องจากว่าปัจจจุบันกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่ในบ้านเรายังคงมีแค่ ธุรกิจโรงแรม หรือเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ หรือบ้านจัดสรร เป็นต้น ซึ่งบ้างครั้งนักลงทุนอาจจะอย่างเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่น ๆ บ้าง เช่น ธุรกิจสนามกอล์ฟ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์แบบมีกรรมสิทธิ์ 101 สโตร์เรจ มีมูลค่าโครงการ 603 ล้านบาทที่บริษัทมีแผนจะเปิดขายในช่วงหลังช่วงหลังสงกรานต์นี้ ไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด เนื่องจากว่าบริษัทเองได้ยื่นเรื่องกับทาง ก.ล.ต. ไปก่อนหน้านี้แล้ว

สำหรับประเด็นเรื่องของการผ่อนผันให้ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ สามารถถือหน่วยลงทุนเพิ่มได้อีกไม่เกิน 50% นั้น มองว่าเป็นเรื่องที่ดีน่าสนับสนุนเพราะจะเป็นการเปิดโอกาสให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนได้เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังจะสามารถปิดกองทุนได้ง่ายขึ้นอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวที่ ก.ล.ต. จะใช้นั้นเป็นเพียงชั่วคราวเพื่อมากระตุ้นเศรษฐกิจเท่านั้น จึงไม่ค่อยเห็นด้วยนัก เพราะถ้าจะให้เพิ่มถือหน่วยลงทุนได้ก็ไม่ควรที่จะกำหนดระยะเวลา เนื่องจากว่ากฎเกณฑ์ข้อบังคับของการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ก็มีอยู่แล้ว

ด้านนางโชติกา สวนานนท์ กรรมการผู้อำนวยการ บลจ.ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า กรณีที่สำนักงาน ก.ล.ต. เตรียมเปิดให้ผู้ลงทุนถือหน่วยลงทุนรวมกองทุนอสังหาริมทรัพย์ได้ไม่เกิน 50% ของจำนวนหน่วยลงทุนทั้งหมดนั้น จะต้องดูว่าเปิดทางให้ถือเป็นระยะเวลานานแค่ไหน ซึ่งการที่มาตรการดังกล่าวเป็นมาตรการชั่วคราว ต้องมีมาตรการออกมารองรับเมื่อจะขายหน่วยลงทุนคืนด้วย นอกจากนี้ ต้องห้ามโหวตเสียงในส่วนที่ถือเกิน 33% ด้วย

ขณะเดียวกัน มองว่าการแก้ปัญหาสภาพคล่องในการซื้อขายกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์นั้น ควรให้บริษัทหลักทรัพย์หรือโบรกเกอร์ทำหน้าที่ดูแลสภาพคล่องหรือมาร์เก็ตเมกเกอร์

ก่อนหน้านี้ สำนักงาน ก.ล.ต. เพิ่งเปิดรับฟังความคิดเห็นการผ่อนผันหลักเกณฑ์การถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เกิน 1 ใน 3 เป็นการชั่วคราว โดยจุดประสงค์ของการเปิดรับฟังความคิดเห็นดังกล่าว เพื่อเพิ่มความต้องการซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และลดจำนวนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวที่ซื้อขายหมุนเวียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ อันน่าจะส่งผลดีต่อสภาพการซื้อขายและราคาหน่วยลงทุนในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว

โดยแนวคิดดังกล่าว สำนักงาน ก.ล.ต. จะผ่อนผันให้ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สามารถถือหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนหน่วยลงทุนทั้งหมดได้เป็นการชั่วคราว แต่จะให้ถือได้ไม่เกิน 50% ของจำนวนหน่วยลงทุนทั้งหมด โดยมีการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับ (1) ระยะเวลาการซื้อและขายหน่วยลงทุนส่วนที่เกินกว่า 1 ใน 3 (2) ราคาและวิธีการซื้อขายหน่วยลงทุน (3) การนับคะแนนเสียงในการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุน (4) การได้รับเงินปันผล และ (5) การเปิดเผยข้อมูลของผู้ซื้อหน่วยลงทุน

ทั้งนี้ เมื่อเร็วๆนี้ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้ปรับปรุงการจัดกลุ่มของหลักทรัพย์ประเภทกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund) โดยทำการแยกกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ออกจากหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เป็นหมวดกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (PFUND) ภายใต้กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง (Property & Construction Industry) เพื่อทำการสะท้อนกลุ่ม Property Fund และกำหนดดัชนีการรายงานข้อมูลให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น โดยให้เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2552 เป็นต้นไป

โดยวานนี้ (31 มี.ค.52) เอง เป็นวันแรกของการเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เอ็มเอฟซี-นิชดาธานี ซึ่งจากการสำรวจราคาปรากฏว่า กองทุนดังกล่าว ไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใด

**แนะลงทุนกองทุนอสังหาฯ 15% ของพอร์ต**

ด้านสถาบันวิจัยนครหลวงไทย ได้วิเคราะห์ถึงการลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ว่า ปัจจัยหลักที่ใช้ในการพิจารณาการลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ปัจจัยแรกคือ ผลตอบแทนจากเงินปันผลในระดับสูงเป็นปัจจัยสนับสนุนในระยะยาว เพราะด้วยระดับของการจ่ายเงินปันผลที่ไม่ต่ำกว่า 90% ของกำไรสุทธิ ส่งผลให้กองทุนอสังหาริมทรัพย์เป็นที่สนใจของนักลงทุน ด้วยระดับของผลตอบแทนจากเงินปันผลในระดับสูง โดยเมื่อเปรียบเทียบจากราคาปิดในวันที่ 27 มี.ค. 2552 กองทุนที่มีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงที่สุดคือ SPF (14.5%) รองลงมาคือ QHPF (12.7%)

ปัจจัยต่อมา คือ กองทุนที่แนวโน้มการเพิ่มทุนในอนาคตเป็นช่องทางหนึ่งที่เพิ่มการเติบโตในอนาคต ซึ่งประเมินว่านอกจากอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลในรับสูงแล้ว การเพิ่มทุนหรือการเพิ่มการลงทุนของสินทรัพย์ในกองทุนแต่ละกองทุน จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยขยายการเติบโตของผลประกอบการของกองทุนนั้นๆ และเป็นปัจจัยหนึ่งที่สนับสนุนการตัดสินใจการลงทุนโดยกองทุนที่มีแนวโน้มการเพิ่มทุนหรือการขยายการลงทุน เช่น TFUND / CPNRF /QHPF เป็นต้น

ปัจจัยที่ 3 คือขนาดของ Market Capital และสภาพคล่อง ซึ่งสำหรับนักลงทุนที่ไม่มีความตั้งใจจะลงทุนยาวถึง 30 ปี ปัจจัยด้านขนาดของ Market Capital และสภาพคล่องของกองน่าจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่นอกเหนือจากผลตอบแทนที่นักลงทุนควรพิจารณาเมื่อเข้ามาลงทุนในหน่วยกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น กองทุนที่มีขนาด Market Capital ขนาดใหญ่และสภาพคล่องดี 5 อันดับแรกคือ CPNRF / TFUND / SPF / QHPF / FUTUREPF

ทั้งนี้ สถาบันวิจัยนครหลวงไทย ได้แนะนำลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ 15% ของเงินลงทุนสำหรับนักลงทุนระยะยาว พร้อมทั้ง ประเมินว่าการลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้อาจจะมีแรงกดดันจากสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของกองทุนโดยตรงและอาจจะมีผลกระทบต่อระดับของการจ่ายปันผลที่น้อยกว่าคาดและน้อยกว่าช่วงปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม คาดว่าธุรกิจประเภทพื้นที่เช่าศูนย์การค้าหรือ (Retail) จะเป็นธุรกิจหนึ่งที่จะสามารถมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องในปีนี้ ถึงแม้ว่าจะมีแรงกดดันจากระดับของความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่อ่อนตัวลงแต่คาดจะไม่ส่งผลกระทบต่อระดับอัตราการเช่าพื้นที่มากนัก โดยเฉพาะในศูนย์การค้าที่มีระดับการเข้าใช้พื้นที่เกือบ 100% เช่น CPNRF /FUTUREPF

สำหรับ TFUND นั้นจะเพิ่มทุนใน ไตรมาสที่ 3ของปี 2552 และหากสำเร็จจะขนาดของกองทุนใหญ่เป็นอันดับ 2รองจาก CPNRF โดย TFUND จะเพิ่มทุนประมาณ 2,500 ล้านบาท ใน ไตรมาสที่3ของปีนี้ ซึ่งสินทรัพย์ที่จะเพิ่มทุนคือ โรงงาน (30,000 ตร.ม.) และ warehouse (90,000 ตร.ม.) รวมพื้นที่ 120,000ตร.ม. ซึ่งมีอัตราการเช่าเต็ม 100% โดยหากการเพิ่มทุนครั้งนี้สามารถขายหน่วยได้ตามเป้าจะทำให้ TFUND มีเงินทุนเพิ่มขึ้นจาก 7,771 ล้านบาทเป็น 10,271 ล้านบาทมากเป็นอันดับที่ 2 รองจาก CPNRF   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us