Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2552
Eyewitness: American Economy in Collapse (no.5)             
โดย มานิตา เค.เบนท์ลี่ย์
 


   
search resources

Warren Buffett
Economics




ผลกระทบวิกฤติเศรษฐกิจสหรัฐฯ บรมครูแห่งการลงทุนอย่าง Warren Buffett ยังเจ็บตัว เขาเปรียบนักลงทุนในภาวะเช่นนี้เหมือนนกน้อยที่หลงเข้าไปกลางสนามแบดมินตัน ทั้งสับสนและถูกตบถูกตีจนเลือดอาบกันถ้วนหน้า

Warren Buffett เปิดใจในจดหมายถึงผู้ถือหุ้นบริษัท Berkshire Hathaway (Berkshire) ต่อวิกฤติการณ์เศรษฐกิจที่ทั้งโลกกำลังเผชิญ พร้อมยอมรับว่าผลการดำเนินงานของปี 2008 แย่ที่สุดในรอบ 44 ปีของชีวิตการทำงานและทีมบริหารหลายคน โดยรายได้สุทธิอยู่ที่ 4.99 พันล้านเหรียญหรือ 3,224 เหรียญต่อหุ้น (Class A) ซึ่งลดลงถึง 62% จากปี 2007 ที่มีรายได้สุทธิที่ 13.21 พันล้านเหรียญ หรือ 8,548 เหรียญต่อหุ้น

โดยเฉพาะผลการดำเนินงานไตรมาสสุดท้ายที่ฉุดทั้งปีให้ร่วงตามไปด้วย ที่มีกำไรสุทธิเพียงแค่ 117 ล้านเหรียญ หรือ 76 เหรียญต่อหุ้น ซึ่งลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2007 ที่มีกำไรสุทธิ 2.95 พันล้านเหรียญ หรือ 1,904 เหรียญต่อหุ้น นับตั้งแต่ข่าววิกฤติสถาบันการเงินรายใหญ่ ระดับโลก ส่งผลให้เกิดความสับสนในตลาดสินเชื่อจนในที่สุดถึงขั้นหยุดทำงาน บรรดาสถาบันการเงินทั้งใหญ่เล็กหยุดให้สินเชื่อ ร่วมด้วยตลาดบ้านและตลาดหุ้นที่หกคะเมน ตีลังกา ทั้งประเทศตกอยู่ในภาวะเป็นอัมพาตจากความกลัว ธุรกรรมและการลงทุนต่างๆ หดหายไปอย่างรวดเร็ว ชนิดที่ Warren Buffett ไม่เคยประสบมาก่อน

ความกลัวสามารถแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว เมื่อผู้คนเกิดความกลัว ความสับสนก็เกิดความเชื่อมั่นก็หดหายตาม ซึ่งการขาดความเชื่อมั่นถือเป็นเรื่องใหญ่ เนื่องจากความกลัวหายได้ในเวลาสั้นๆ แต่ความเชื่อมั่นต้องสั่งสมและสร้างเป็นเวลานาน รัฐบาลเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างความเชื่อมั่นให้กลับมาได้รวดเร็วเพียงใดซึ่งเขาคิดว่ารัฐบาลยังไม่มีความชัดเจนในการแก้ปัญหาอย่างแท้จริง อันเป็นธรรมชาติของการเมือง

กระนั้นก็ตาม ทั้งกระทรวงการคลัง และธนาคารกลางชุดก่อนได้ "เทหน้าตัก" ไปแล้วในการอุ้มสถาบันการเงิน เรียกว่ายาที่ให้จากเต็มถ้วยเป็นเต็มถังไปแล้ว และการให้ยาหรือการช่วยแบบไม่คิดแบบนั้น ได้นำมาซึ่งปัญหาที่ไม่พึงประสงค์ คือสถาบันการเงินเหล่านั้นเกิดการได้ใจ ร้องขอความช่วยเหลืออย่างไม่หยุดหย่อนจากรัฐบาล ที่ใช้เงินภาษีของประชาชนมารักษา ชีวิตของสถาบันการเงินที่พลาดเพราะความโลภ พร้อมตอบแทนประชาชนด้วยการจ่ายโบนัสให้แก่บรรดาพนักงานของบริษัทที่เป็นผู้ก่อให้เกิดวิกฤติการณ์ครั้งนี้อย่างไรก็ตาม แม้ Warren Buffett จะวิจารณ์การช่วยเหลือแบบไม่มีข้อแม้ของรัฐบาล แต่เขาคิดว่า "เป็นสิ่งถูกต้องที่รัฐบาลได้ทำลงไป เพื่อป้องกันหายนะใหญ่ หลวงที่จะตามมาในขณะนั้น จะชอบหรือไม่ชอบทุกชีวิตใน "Wall Streets" "Main Streets" และ "Side Streets" เราอยู่บนเรือลำเดียวกันแล้ว"

สำหรับผลการดำเนินงานของ Berkshire ในปี 2008 ที่ผ่านมา มีสินทรัพย์สุทธิลดลง 11.5 พันล้านเหรียญ ส่งผลให้มูลค่าต่อหุ้นลดลง 9.6% เท่ากับ 70,530 เหรียญต่อหุ้น ธุรกิจกลุ่ม Manufacturing กลุ่ม Service และกลุ่ม Retailing เป็นกลุ่มที่ขาดทุนมากที่สุด เนื่องจากเป็นกลุ่มที่เกี่ยวเนื่องกับการก่อสร้าง งานบริการ การบริโภค การผลิตและจำหน่ายสินค้าปลีก ซึ่ง Warren Buffett คาดว่าหุ้นในกลุ่มเหล่านี้จะขาดทุนต่อเนื่องถึงปี 2009 ส่วนกลุ่มธุรกิจประกันและกลุ่มสาธารณูปโภคให้ผลตอบแทนที่โดดเด่นที่สุดในปี 2008 และมีโอกาสในการลงทุนที่ดีเยี่ยมต่อไป

เมื่อปีที่ผ่านมา Berkshire ลงทุนเป็นมูลค่า 14.5 พันล้านเหรียญในการเข้าซื้อหุ้นบุริมสิทธิของ 3 บริษัทยักษ์ใหญ่คือ บริษัทหมากฝรั่งและลูกกวาด Wrigley สถาบันการเงิน Goldman Sachs และบริษัท General Electric และในการลงทุน ครั้งนี้ Berkshire ต้องตัดใจขายหุ้นบางส่วน ของบริษัท Johnson & Johnson บริษัท Procter & Gamble และบริษัท Conoco Phillips ซึ่ง Warren Buffett รับประกันว่า การลงทุนของ Berkshire เป็นการลงทุนที่มาจากเงินทุนของบริษัทที่มีอย่างเกินพอ ไม่ได้มีการกู้มาลงทุน และเขาจะไม่ยอมอดนอนเพื่อกำไรพิเศษจากการลงทุนในหุ้นของธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง

อย่างไรก็ตาม Warren Buffet ยอมรับว่าเขาได้ตัดสินใจลงทุนพลาดไปใน ช่วงปี 2008 ที่ผ่านมา คือการซื้อหุ้น Conoco Phillips เพิ่มเป็น 84.9% ในช่วงที่ราคาน้ำมันและแก๊สเกือบถึงจุดสูงสุด เขาคิดว่าราคาจะขึ้นสูงกว่า 40-50 เหรียญ จนถึงวันนี้เขารู้ดีว่าเขาคาดการณ์ผิดทำให้ Berkshire ต้องลงทุนไปหลายพันล้านเหรียญ นอกนั้นเขายังทุ่มทุนมูลค่า 244 ล้านเหรียญ ซื้อหุ้นของธนาคารสัญชาติไอริชจำนวนสองแห่ง จนถึงวันนี้หุ้นของทั้ง 2 ธนาคารยังร่วงกราวรูด เหลือมูลค่าล่าสุดเพียงแค่ 27 ล้านเหรียญ เขาเขียนไว้ในจดหมายผู้ถือหุ้น อย่างมีอารมณ์ขันว่า "ความผิดพลาดเช่นนี้ ในวงการเทนนิสเรียกว่า 'ตีลูกเสียเองโดยไม่สมควร (unforced errors)'" แต่การลงทุนนี้เป็นการลงทุนระยะยาว...เมื่อมีลงก็มีขึ้น เมื่อมีขึ้นก็มีลง...

สำหรับการลงทุนในตลาดตราสารหนี้และพันธบัตร ไม่ว่าจะออกโดยรัฐบาลหรือเอกชน จะเป็นระยะสั้นหรือระยะยาว ยังไม่ดึงดูดมากนัก เนื่องจากผลตอบแทนต่ำมากหรืออาจถึงขั้นขาดทุน เขาตั้งข้อสังเกตว่า การบูมของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ในช่วงปี 2008 เป็นปรากฏการณ์ที่ผิดปกติ เช่นเดียวกัน การบูมของอินเทอร์เน็ต และการบูมของตลาดบ้านที่อยู่อาศัย ในอดีตที่จบด้วยฟองสบู่แตก ส่วนเรื่องของการวิเคราะห์การลงทุน ที่นักลงทุนส่วนใหญ่ยังคงพึ่งพานักวิเคราะห์จากบริษัทต่างๆ เขาเตือนให้ระวังการวิเคราะห์ที่ดูดีเกินจริง ทั้งโมเดลการคาดการณ์ที่อิงข้อมูลในอดีต (history-based models) มีฟอร์มูล่าแปลกๆ ที่วิเคราะห์โดยนักวิเคราะห์ประเภท nerdy-geeky

ขณะเดียวกัน Warren Buffett ได้เตือนผู้ถือหุ้นในช่วงนี้ให้ระมัดระวังการลงทุนในอนุพันธ์การเงิน (Derivatives) ซึ่ง ถือเป็นสินค้าอันตรายที่มีอิทธิพลและความ เสี่ยงสูงต่อระบบการเงินของสหรัฐฯ และทั่วโลก ทำให้นักลงทุนยากที่จะเข้าใจ และ วิเคราะห์ธนาคารพาณิชย์ และวาณิชธนกิจรายใหญ่ๆ ได้

อนุพันธ์การเงินนี่เองที่เป็นตัวการให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์อย่าง Fannie Mae และ Freddie Mac สามารถตกแต่ง บัญชี บิดเบือนผลประกอบการที่แท้จริงนานนับหลายปี แม้กระทั่ง OFHEO (Office of Federal Housing Enterprise Oversight) ที่มีหน้าที่กำกับดูแล 2 องค์กรนี้โดยตรง ยังพลาด ซึ่งเป็นปัญหาไม่รู้จบของการกำกับดูแลสถาบันการเงินของภาครัฐบาลที่ไม่มีประสิทธิภาพ

ส่วนกรณีของ Berkshire ที่เข้าซื้อบริษัทรับประกันภัยใหม่ General Re เมื่อปี 1998 พบว่า General Re มีอนุพันธ์การ เงินมากถึง 23,218 อนุพันธ์ เขาและทีมบริหารต้องใช้เวลาถึง 5 ปีและสูญเงินกว่า 400 ล้านเหรียญ ในการจัดการกับอนุพันธ์ให้หมดสิ้น

ทั้งหมดนี้เป็นข้อความที่เรียบเรียงจากบางส่วนของจดหมายที่ Warren Buffett เขียนถึงผู้ถือหุ้น Berkshire เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สะท้อนผลประกอบการในช่วงวิกฤติและมุมมองของเขาที่มีต่อการลงทุนในอนาคต คงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยต่อนักลงทุนทั่วไป

เขาฝากแง่คิดไว้ว่าท่ามกลางกระแสข่าวร้ายต่างๆ ต้องอย่าลืมว่าอเมริกาเคยผ่านความยากลำบากมากกว่านี้มาแล้วในอดีต ไม่ว่าจะเป็นช่วงศตวรรษที่ 20 ที่ต้องเผชิญสงครามโลกถึง 2 สงคราม ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจภายหลังสงครามหลายครั้ง พิษเงินเฟ้อที่ทำให้ดอกเบี้ยเงินกู้ ลูกค้าชั้นดีสูงถึง 21.5% ในปี 1980 และ The Great Depression ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 30-40 ส่งผลให้ตัวเลขผู้ว่างงานอยู่ระหว่าง 15-25% หลายปีกว่าจะฟื้นตัว

อเมริกาไม่เคยว่างเว้นจากความท้าทาย สามารถเอาชนะได้ทุกครั้ง ยิ่งกว่านั้นเขามีความเชื่อว่า "แม้ว่าจะไม่ราบรื่น ไปบ้าง แต่ระบบเศรษฐกิจของอเมริกาที่เคยประสบความสำเร็จมาเป็นเวลาช้านาน เปิดโอกาสให้มนุษย์ได้แสดงศักยภาพที่จะพัฒนาขึ้นได้ต่างจากระบบอื่นและยังคงดำเนินต่อไป วันที่ดีที่สุดของอเมริการออยู่ข้างหน้า" ...แต่วันนั้นจะมาถึงเร็วหรือช้า ยังเป็นคำถาม

ที่มา:
www.berkshirehathaway.com
www.nytimes.com
www.CNBC.com   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us