Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2552
Yokoso Japan             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 

   
related stories

DESTINATION ความท้าทายของการท่องเที่ยวไทย
จุดขายระดับภูมิภาคภายใต้กรอบ IMT-GT
KOREA SPARKLING
Incredible India เหลือเชื่อจริงๆ!! อินเดีย
มนตร์เสน่ห์...ดูไบ

   
search resources

Tourism




ภาพพระอาทิตย์ตกต้นฤดูใบไม้ผลิ ณ สนามบินนาริตะ ที่มีสายการบินออล นิปปอน แอร์เวย์เป็นฉากเบื้องหลัง เสมือนดั่งสัญญาณโบกมือลานักท่องเที่ยว และก่อนสิ้นแสงสุดท้ายเหมือนกำลังบอกว่า ยังรอคอยให้กลับมาเยือนดินแดนอาทิตย์อุทัยนี้อีกครั้ง

แม้ว่าสายการบินออล นิปปอนแอร์เวย์ (ANA) และสายการบินเจแปนแอร์ไลน์ (JAL) ของประเทศญี่ปุ่นจะได้รับผลกระทบเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นผลกระทบที่รุนแรงในรอบ 35 ปีหลังจากที่ได้รับกระทบ มาจากฝั่งสหรัฐอเมริกาและยุโรป

จนทำให้สายการบินเจแปนแอร์ไลน์ ต้องรณรงค์ออกแคมเปญให้พนักงานหยุดพักการทำงานโดยไม่รับเงินค่าจ้างเพื่อพยุงธุรกิจให้อยู่รอด

ผลกระทบดังกล่าวส่งผลให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวในญี่ปุ่นมีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้ามาเยือนน้อยลงโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวไทยลดลงประมาณ 30%

แต่จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่ลดลงดูเหมือนว่าไม่ได้ส่งผลกระทบมากนักเมื่อประเทศญี่ปุ่นยังพึ่งพิงนักท่องเที่ยวภายในประเทศที่เป็นคนญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นเชื่อมั่นว่าเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้นเป็นลำดับนักท่องเที่ยวก็ยังถวิลหาที่จะมาเยี่ยมเยือนญี่ปุ่นเช่นเคยเพราะเสน่ห์ที่ดึงดูดญี่ปุ่นมีทั้งวัฒนธรรมและธรรมชาติที่โดดเด่นมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนชาติใดหรือแม้กระทั่งมีความเป็นผู้นำเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมรถยนต์และบันเทิง

การท่องเที่ยวในเชิงธรรมชาติเป็นจุดหมายปลายทางที่กระตุ้นความสนใจของนักท่องเที่ยวทั่วโลก โดยเฉพาะการเดินทางเพื่อเยี่ยมชมภูเขาไฟฟูจิ

ภูเขาไฟฟูจิมีชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า "ฟูจิซัง" เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของประเทศญี่ปุ่นที่เห็นผ่านสื่อโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต เอกสารท่องเที่ยวในบริษัทท่องเที่ยวและภายในโรงแรมต่างๆ

ภูเขาไฟฟูจิเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ราว 3,776 เมตร ตั้งอยู่บริเวณจังหวัด ชิซึโอะกะและจังหวัดยะมะนะชิที่อยู่ทางตะวันตกของจังหวัดโตเกียวและในวันที่อากาศแจ่มใสสามารถมองเห็นจากโตเกียวได้อย่างชัดเจน

ภูเขาไฟฟูจิเป็นภูเขาไฟที่ยังดับไม่สนิทและแม้นอนหลับใหลมายาวนาน 302 ปี แต่ภูเขาไฟแห่งนี้ได้ปะทุครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ.2550

ภูเขาไฟฟูจิจึงเป็นภูเขาที่มีทัศนียภาพสวยงามที่สุดในโลก

การเข้าไปสัมผัสใกล้ๆ จนถึงปล่องไฟย่อมเป็นความฝันของนักท่องเที่ยวที่จะไม่ยอมพลาดโอกาสแต่การเข้าไปเชยชมภูเขาไฟฟูจิในระยะใกล้ๆ นั้นไม่สามารถทำได้ทุกคนเพราะขึ้นอยู่กับฤดูกาลและเจ้าหน้าที่ที่ดูแลจะอนุญาตให้เข้าไปใกล้ได้มากน้อยเพียงใด

ระยะทางที่สามารถเยี่ยมชมภูเขาฟูจิได้จะมีทั้งหมด 5 ชั้นเรียงตามลำดับความสูงชัน แม้ว่าอากาศในฤดูใบไม้ผลิในช่วงกลางเดือนมีนาคมจะแจ่มใสและปลอดโปร่งแต่ก็มีโอกาสได้เยี่ยมชมภูเขาไฟฟูจิเพียงแค่ชั้นหนึ่งเท่านั้น ซึ่งเจ้าหน้าที่จะปิดทางเข้าไปยังชั้นที่สองเนื่องจากหิมะกำลังละลายเป็นการป้องกันไม่ให้นักท่องเที่ยวได้รับอันตราย

แต่ไม่ได้นึกเสียดายมากนักเพราะหลังจากที่ได้ชื่นชมภูเขาไฟฟูจิติดกับทะเลสาบที่ใกล้กับที่พัก Kawagushiko Yamagishi Hotel จังหวัด Yamanashi

ภาพมิติที่มีทะเลสาบ โรงแรม ตึกรามบ้านช่องอยู่เบื้องหน้าและมีภูเขาไฟฟูจิเป็นฉากอยู่เบื้องหลังสร้างความมีชีวิตชีวาให้กับภูเขาฟูจิและสะท้อนให้เห็นว่าภูเขาฟูจิเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่นไม่ว่าจะอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่โตเกียวที่คลาคล่ำไปด้วยผู้คนหลายล้านคนหรือผู้คนที่อาศัยอยู่อย่างสงบเรียบง่ายในต่างจังหวัด

แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่ถูกรังสรรค์ขึ้นในญี่ปุ่นเป็นมนตร์เสน่ห์ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี

แต่แหล่งท่องเที่ยวที่สร้างขึ้นด้วยฝีมือของมนุษย์อย่างสวนสนุก โตเกียว ดิสนีย์แลนด์ และโตเกียว ดิสนีย์ซีก็สามารถเป็นแม่เหล็กดึงดูดได้ดุจเดียวกัน

ภาพรอยยิ้มและเสียงหัวเราะของนักท่องเที่ยวที่เดินออกมาจาก โตเกียว ดิสนีย์ซี ได้บ่งบอกถึงความประทับใจที่ไม่รู้ลืมของผู้ที่ได้มีโอกาสได้สัมผัสดินแดนที่มีความสนุกสนาน

บนพื้นที่ 400 ไร่ของโตเกียว ดิสนีย์ซีมีระบบการบริหารจัดการค่อนข้างดี นักท่องเที่ยวที่ไปครั้งแรกอาจจะยังสับสนและสถานที่ที่ต้องการจะไป

ดิสนีย์ซีมีพนักงานที่พร้อมให้คำแนะนำตลอดเส้นทางแม้ว่าจะมีอุปสรรคในการสื่อสารบ้างเพราะส่วนใหญ่จะพูดภาษาญี่ปุ่นเป็นหลัก

ด้านความสะอาดได้รับการดูแลเอาใจใส่จากพนักงานเป็นอย่างดี บนถนนตามสถานที่ และเครื่องเล่นต่างๆ แม้ว่าจะมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากแต่ไม่มีเศษขยะจากอาหารหรือกระดาษให้เห็น เพราะมีพนักงานกวาดขยะตลอดเวลา

ในส่วนของห้องน้ำแม้ว่าจะมีคนเข้าออกสลับสับเปลี่ยนทั้งวันแต่ห้องน้ำกลับไม่มีกลิ่นเหม็นและห้องน้ำจะแห้งอยู่เสมอ ซึ่งนักท่องเที่ยวจะช่วยกันรักษาความสะอาดโดยไม่มีเจ้าหน้าที่ยืนดูแลภายในห้องน้ำแต่อย่างใด

ระบบการบริหารจัดการความสะอาดในห้องน้ำไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในดิสนีย์ซีเท่านั้น ในห้องน้ำสาธารณะ อาทิ นอกเมือง ในห้างสรรพสินค้า หรือในสนามบินจะสะอาดและคำนึงถึงการใช้งานอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยว ประชาชนญี่ปุ่น เด็ก หรือคนพิการ

โดยเฉพาะความสะดวกของคนพิการที่ได้รับบริการทางเดินของผู้พิการจะมีเส้นรอยนูนสีเหลืองนำทางตลอดเส้นทางที่พบเห็นในห้องน้ำสาธารณะ สถานีรถไฟ สนามบิน

ระบบขนส่งมวลชนที่เชื่อมต่อด้วยรถไฟฟ้าทั้งในเมืองและต่างจังหวัดเหมือนใยแมงมุมทำให้การเดินทางสะดวกปลอดภัย

เหมือนดั่งเช่นขึ้นรถไฟฟ้าจากสถานีรถไฟโอดาวาระที่อยู่นอกเมืองเดินทางเข้าสู่โตเกียวด้วยรถไฟชินกันเซนหรือรถไฟหัวกระสุน (bullet train) ใช้เวลาเดินทางไม่ถึง 1 ชั่วโมง

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอัตลักษณ์เป็นของตนเอง ทั้งเรื่องของธรรมชาติอย่างเช่น ภูเขาไฟฟูจิ ดอกซากุระ หรือแม้แต่สิ่งที่สร้างขึ้นมาเองได้ผนวกกับการบริหารจัดการที่ดี สะอาด สะดวก และปลอดภัย

ทำให้ญี่ปุ่นไม่ต้องลงแรงประโคมโหมโฆษณามากมายให้เปลืองงบประมาณ แต่การเล่าขานผ่านนักท่องเที่ยวที่บอกกันปากต่อปากย่อมทำให้ผู้คนหลั่งไหลเข้าไปยังดินแดนอาทิตย์อุทัยอย่างไม่ขาดสาย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us