Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2552
KOREA SPARKLING             
โดย สุภัทธา สุขชู
 

   
related stories

DESTINATION ความท้าทายของการท่องเที่ยวไทย
จุดขายระดับภูมิภาคภายใต้กรอบ IMT-GT
Yokoso Japan
Incredible India เหลือเชื่อจริงๆ!! อินเดีย
มนตร์เสน่ห์...ดูไบ

   
www resources

Korea Tourism Organization Homepage

   
search resources

Tourism
องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาหลี




"ซารางเฮโย" คำบอกรักติดหูและติดปากคนไทยจากละครเกาหลีรักโรแมนติก ซึ่งไม่เพียงทำให้สาวๆ ในหลายประเทศทั่วโลกโดยเฉพาะสาวเอเชีย รวมถึงสาวไทยต้องน้ำตาพรากเพราะสงสารพระเอกนางเอก จนกลายเป็นความชื่นชอบดาราเกาหลี สืบทอดมานานเข้าก็เปลี่ยนเป็นความคลั่งไคล้ทั้งดาราและนักร้องเกาหลีมาตราบจนวันนี้

ในยุคที่หนังและละครเกาหลีทรงอิทธิพล หรือปรากฏการณ์ที่วัฒนธรรมเกาหลีกลายเป็นที่นิยม (Hallyu) ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศเกาหลีเติบโตขึ้นในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว โดยเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว Drama Tour หรือทัวร์ตามรอยละครดังกลายเป็น "สินค้าท่องเที่ยว" ที่ขายดี ทำรายได้ให้กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเกาหลีเป็นอันดับต้นๆ ก็ว่าได้

อีกทั้งยังช่วยทำให้การท่องเที่ยวเกาหลีสามารถเจาะตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่อย่างตลาดอาเซียนและตะวันออกกลางได้อีกด้วย

ต้องยอมรับว่าฉากและเนื้อเรื่องถือเป็นจุดเด่นของหนังและละครเกาหลีหลายๆ เรื่อง

แค่ทิวทัศน์อันงดงามที่ปรากฏในฉากหนังและละครเกาหลีเกือบทุกเรื่องก็ยั่วน้ำลายนักท่องเที่ยวได้อยู่แล้ว แต่เมื่อได้เนื้อเรื่องโรแมนติกผูกเข้าไปเป็น story ให้กับสถานที่เหล่านั้น สาวๆ ที่ "อิน" จัดหลายคนมุ่งมั่นจะไปเยือนให้ได้

ไม่ว่าจะเป็นเกาะนามิ ฉากรักของพระเอกนางเอกเรื่อง Winter Love Song หรือจะเป็นบ้านบนเกาะเจจูในละคร Full House ที่ "เรน" เล่น นักท่องเที่ยวหลายคนยอมข้ามน้ำข้ามทะเลและค่าเข้าชมเพื่อไปดูฉากภายในบ้านของคู่พระนางเรื่องนี้และ "แดจังกึม ธีมปาร์ค" โรงถ่ายละครเรื่องดังเรื่องแดจังกึมที่ทำให้กิมจิกับชุดฮันบกกลายเป็นที่พิสมัยขึ้นมาอย่างมาก

ทั้งโปรโมตแหล่งท่องเที่ยวหรือวัฒนธรรม ในแง่นี้หนังและละครเกาหลีจึงทำหน้าที่ดุจหนังโฆษณาขององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาหลี (Korea Tourism Organization) โดยปริยาย

แต่ไม่ใช่ว่า KTO จะทำแค่อาศัยเกาะชายผ้าเหลืองของอุตสาหกรรมหนังและละคร แต่ทุกส่วนล้วนร่วมมือกันโดยมีรัฐบาลเป็นเจ้าภาพและผู้อำนวยความสะดวก (facilitator)

เพื่อรักษากระแสความคลั่ง "K-pop" ให้อยู่ได้นานขึ้น KTO ก็เลยแต่งตั้งดาราและนักร้องเกาหลีขวัญใจมหาชนชาวโลกหรือชาวเอเชียให้เป็นทูตทางวัฒนธรรมและทูตทางการท่องเที่ยวเกาหลี เพื่อทำหน้าที่โปรโมตการท่องเที่ยวของประเทศ ยิ่งกว่านั้น KTO ยังแต่งตั้งนักร้องขวัญใจวัยรุ่นของไทยที่มีสไตล์คล้าย K-pop ให้เป็นทูตการท่องเที่ยวเกาหลี อีกด้วย ...เรียกได้ว่า KTO ขยันทำการตลาดแบบไม่ลืมหูลืมตาจริงๆ

"Hallyu" แปลได้ว่า Korean Wave เมื่อเป็นคลื่น ดังนั้น เมื่อมีขึ้นก็ย่อมต้องมีลง

เพื่อเป็นการสร้างรายได้การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนรัฐบาลเกาหลีจึงพยายามขยายฐานนักท่องเที่ยวเพิ่มจากกลุ่มเดิม โดยได้วางเป็นยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเกาหลีใหม่ นั่นคือการรุกตลาดท่องเที่ยวแบบ "นิช" ที่ให้มูลค่ามากกว่าการท่องเที่ยวทั่วไป และยั่งยืนกว่าการท่องเที่ยวตามกระแสละคร ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 ตลาดหลัก ดังนี้

ตลาดแรกได้แก่ Medical Tourism ด้วยเล็งเห็นว่า ในปี 2550 ทั่วโลกมีนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ร่วม 26 ล้านคน ก่อให้เกิดรายได้มากถึง 26,700 ล้านเหรียญสหรัฐ อีกทั้งเห็นว่าอุตสาหกรรมด้านการแพทย์ของเกาหลีมีศักยภาพสูงอยู่แล้ว รัฐบาลเพียงสนับสนุนและเร่งกระตุ้นให้เกิดการพัฒนามากขึ้น ขณะเดียวกัน KTO ก็เร่งโปรโมต "เมดิคัลทัวร์" ไปพร้อมกัน

แม้รัฐบาลเกาหลีกับ KTO จะเพิ่งเริ่มทำการโปรโมตตลาดนี้อย่างจริงจังในปีนี้ แต่ทว่านักท่องเที่ยวไทยจำนวนไม่น้อยที่ลงทุนซื้อทัวร์พร้อมแพ็กเกจกรีดตา ทำจมูก ทำปาก ฯลฯ เพื่อเปลี่ยนแปลงใบหน้าให้ดูแอ๊บแบ๊วเหมือนสาวเกาหลีกันมาแล้ว ...เรียกว่าสาวไทยไม่ยอมตกกระแสการท่องเที่ยวของเกาหลีเลยจริงๆ

ตลาดหลักที่สองที่รัฐบาลเกาหลีพยายามส่งเสริมอย่างหนัก ได้แก่ ตลาดไมซ์ (MICE) อันที่จริงต้องย้ำว่า เป็นการส่งเสริมอย่างต่อเนื่องและจริงจัง โดยในปีนี้ KTO ได้จัดโครงสร้างองค์กรใหม่ด้วยการยกระดับของ Convention & Visitor Bureau ของแต่ละท้องถิ่นที่มีศูนย์ประชุม ให้กลายเป็น Headquarter พร้อมกับเพิ่มงบประมาณให้เป็น 2 เท่า เพื่อพัฒนาศักยภาพของตน

ปลายปี 2550 ผู้จัดการ 360 ํ มีโอกาสได้ไปเยี่ยมชมสถานที่จัดงานหลายแห่งของเกาหลี (อ่านรายละเอียดฉบับกุมภาพันธ์ 2551) ต้องบอกว่า ณ วันนั้น ความพร้อมของประเทศเกาหลีก็ดูจะนำหน้าไทยอยู่หลายก้าว มาปีนี้ที่รัฐบาลเกาหลีประกาศตัวเดินหน้าชัดเจนเช่นนี้ ความหวังในการเป็น MICE Hub of Asia ของประเทศไทยก็คงจะยิ่งยากขึ้นมาอีกหลายเปลาะ

สุดท้าย ได้แก่ ตลาดนักท่องเที่ยวหัวใจสีเขียว (Green Tourism) เนื่องจากเกาหลีมีแหล่งท่องเที่ยวที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวที่ชอบชื่นชมท่องธรรมชาติอยู่มากมาย ซึ่งในหลายแห่งมีเรื่องเล่า (storytelling) ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และสังคมให้ได้เรียนรู้เพิ่มเติม ถือเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับการท่องเที่ยวแหล่งธรรมชาติตรงนั้นได้ด้วย

เช่น ทางเดินชมบ้านโบราณบนเกาะเจจู ซึ่งจะได้ชมธรรมชาติที่สวยงามของเกาะเจจูเป็นของแถมด้วย และการล่องแม่น้ำ Namhan ความยาวร่วม 50 ไมล์ ที่จะทำให้ได้ชมทัศนียภาพทั้งวิถีชีวิตของชุมชนริมฝั่งน้ำและธรรมชาติที่สวยงามของเกาหลีไปพร้อมกัน เป็นต้น

ทั้งนี้ การกระตุ้น Green Tourism ของ KTO ยังมีเป้าหมายเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางการท่องเที่ยวของเกาหลีอย่างยั่งยืนอีกด้วย เพราะจะมี "มาตรการสีเขียว" ที่ออกมาบังคับให้ทั้งนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวต้องร่วมดูแลสิ่งแวดล้อม

ไม่เพียง 3 ตลาดหลักข้างต้นรัฐบาลเกาหลียังพยายามส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและจิตวิญญาณ โดยขายเป็นแพ็กพร้อมกับแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติในรูปแบบ Temple-stay เนื่องจากวัดเกาหลีหลายแห่งมักตั้งอยู่ริมผาหรือบนภูเขา ซึ่งปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวตะวันตกมากขึ้น อีกทั้งยังมีการจัดตั้ง Zen Buddhism Center ในกรุงโซลอีกด้วย

นอกจากนี้รัฐบาลเกาหลียังพยายามจะสร้างศูนย์รวมวัฒนธรรมขนาดใหญ่ตามศูนย์ประชุมและตามแหล่งชอปปิ้งชื่อดังที่นักท่องเที่ยวคุ้นเคย ซึ่งหากเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ศูนย์รวมวัฒนธรรมที่ว่าจะไม่ได้มีแค่วัฒนธรรมเกาหลีดั้งเดิมหรือวัฒนธรรม K-pop แต่จะเป็นศูนย์รวมของวัฒนธรรมเอเชีย โดยกระทรวงท่องเที่ยวและวัฒนธรรมของเกาหลีได้ตั้งหน่วยงานที่ชื่อ Office for the Hub City of Asian Culture ขึ้นมาดูแล

นอกจากดำเนินตามยุทธศาสตร์ของภาครัฐ ในปีนี้ KTO ยังมีแผนปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานทั่วประเทศให้ดียิ่งขึ้น ทั้งที่ค่อนข้างจะดีมากอยู่แล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อแย่งชิงตลาดนักท่องเที่ยวทั่วโลกที่มีจำนวนและกำลังซื้อลดลงอย่างมาก โดยตั้งเป้าจะดึงนักท่องเที่ยวเข้าประเทศให้ได้ถึง 7.5 ล้านคน คาดหวังรายได้มากกว่า 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วซึ่งมียอดนักท่องเที่ยวราว 6.89 ล้านคน เป็นรายได้การท่องเที่ยว 9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

และเพื่อกระตุ้นให้ตัวเลขเป็นไปตามเป้า รัฐบาลเกาหลีและ KTO จึงจัดคอนเสิร์ต ใหญ่ที่มีชื่อว่า "2009 Sparkling Concert in Seoul" โดยระดมเหล่านักร้องขวัญใจสาวเอเชียมาร่วมแสดง เช่น บิ๊กแบง, ดงบังชินกิ, FTIsland และ SG Wannabe เป็นต้น เพื่อเรียกเม็ดเงินจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่คลั่งไคล้ K-pop

...นี่จะเป็นข้อพิสูจน์ว่า มนตร์รักนักร้องเกาหลีกับกระแส K-pop จะคงความขลังอยู่หรือไม่ จะต้านพิเศษเศรษฐกิจโลกครั้งนี้ไหวไหม พิสูจน์ได้กลางเดือนเมษายนนี้...   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us