Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2552
แอฟริกาคุณคือจุดอ่อน             
 


   
search resources

Economics




แอฟริกาซึ่งอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติเคยรุ่งเรืองในยามที่เศรษฐกิจโลกเติบโตเช่นไรก็ได้รับผลกระทบหนักเช่นนั้นในยามที่เศรษฐกิจโลกเกิดวิกฤติ

ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจในแอฟริกาได้ช่วยให้คนนับล้านๆ พ้นจากความยากจน ประชาธิปไตยเบ่งบานอย่างรวดเร็วไปทั่วทั้งทวีปอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ในเดือนธันวาคม ธนาคารโลกรายงานว่าเศรษฐกิจของแอฟริกา ซับซาฮาราเติบโตถึง 5.4% ในปีที่แล้ว เทียบเท่ายุโรปและสูงกว่าละตินอเมริกา ทำให้ละตินอเมริกากลายเป็นภูมิภาคที่เศรษฐกิจชะลอตัวมากที่สุดในโลกแทนที่แอฟริกาไป แม้กระทั่งบัดนี้ ชาวแอฟริกันจำนวนมากก็ยังคงเชื่อว่า พวกเขาจะรอดพ้นวิกฤติเศรษฐกิจโลกในครั้งอย่างแทบจะปราศจากรอยขีดข่วน

แต่คงจะไม่เป็นเช่นนั้น IMF เพิ่งจะคาดการณ์ว่า แอฟริกาจะเติบโต 3% ในปีนี้ เทียบกับ 4% ในประเทศที่มีรายได้ต่ำ มี 3 ปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อแอฟริกาคือ สินค้าโภคภัณฑ์ซึ่งเป็นกระดูกสันหลังของแอฟริกา กลับมีราคาตกต่ำลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความต้องการซื้อที่ตกต่ำลงเนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก ปัจจัยต่อมาคือประเทศแอฟริกาจำนวนมาก อยู่ได้ด้วยการได้รับความช่วยเหลือจากต่างชาติ และชาติตะวันตกที่เป็นผู้บริจาคความ ช่วยเหลือรายใหญ่ ซึ่งกำลังประสบวิกฤติเศรษฐกิจก็คงจะให้ความช่วยเหลือน้อยลง ในทำนองเดียวกัน การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในแอฟริกาและการส่งเงินกลับประเทศของแรงงานที่ไปทำงานนอกประเทศ ซึ่งคงจะลดต่ำลงเช่นกันจะยิ่งซ้ำเติมเศรษฐกิจของแอฟริกา ส่วนปัจจัยสุดท้าย การล่มสลายของเศรษฐกิจอาจทำลายการเมืองในประเทศที่ไร้เสถียรภาพในแอฟริกา

เมื่อรายได้ลดต่ำลง ธุรกิจและรัฐบาลชาติต่างๆ ในแอฟริกา ก็อาจจำเป็นต้องล้มเลิกแผนพัฒนาต่างๆ ซึ่งย่อมทำให้ประชาชน ไม่พอใจ ทั้งๆ ที่ชาวแอฟริกาเพิ่งเริ่มจะมีความหวังว่า ชีวิตความเป็นอยู่จะดีขึ้นแท้ๆ นักวิเคราะห์ในแอฟริกาใต้ชี้ว่า ชาวแอฟริกาส่วนใหญ่เชื่อว่า พวกเขาจะไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกครั้งนี้ แต่พวกเขาประเมินขนาดและความเข้มของวิกฤติครั้งนี้ต่ำเกินไป

สิ่งแรกที่ส่งผลกระทบต่อแอฟริกาไปแล้วคือราคาสินค้า โภคภัณฑ์ หากไม่นับทองคำและเมล็ดโกโก้แล้ว ราคาสินค้าประเภทวัตถุดิบต่างๆ ตกต่ำโดยถ้วนหน้า หลังจากราคาสินค้า โภคภัณฑ์พากันพุ่งกระฉูดทำลายสถิติมานาน 5 ปี ไม่ว่าจะเป็นราคาพลังงานที่พุ่งขึ้นถึง 320% ราคาโลหะและแร่พุ่งขึ้นเกือบ 300% และราคาอาหารพุ่งขึ้น 138% ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ก็เริ่มตกต่ำลงในช่วงปลายปีที่แล้ว เดือนธันวาคม ธนาคารโลกคาดการณ์ว่า ราคาอาหารจะตกลงอีก 26% ระหว่างปี 2008-2010 ราคาน้ำมันจะตกลง 25% และราคาโลหะจะตกลง 32%

สำหรับประเทศในแอฟริกาที่ต้องพึ่งพารายได้จากน้ำมัน โลหะและแร่แล้ว นี่คือหายนะทางเศรษฐกิจโดยแท้ เศรษฐกิจของบอตสวานาแทบจะพึ่งพาการผลิตเพชรเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่บริษัทเพชร De Beers ซึ่งเกือบจะเป็นบริษัทเดียวที่ทำให้บอตสวานาเติบโต ได้ปิดเหมืองเพชรเป็นเวลาหลายสัปดาห์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ และยังประกาศจะลดการผลิตลง 50% ตลอดเดือนนี้ (เมษายน) ส่วนโครงการเหมืองถ่านหินขนาดใหญ่หลายแห่ง ในโมซัมบิกก็ต้องปิดฉากลง เนื่องจากการผลิตเชื้อเพลิงลดต่ำลง

ในแอฟริกาใต้ การผลิตทองคำในปีที่แล้วลดลง 13.6% หรือ ลดลงจนเท่ากับระดับการผลิตในปี 1922 ส่วนราคาทองแดงที่ร่วง ลงถึง 60% ทำให้ต้องปิดเหมืองและเลิกจ้างหลายพันตำแหน่งในเขต Copperbelt แหล่งผลิตทองแดงของแซมเบีย ซึ่งมีทองแดงเป็นแหล่งสร้างรายได้ถึง 80% ของรายได้เงินตราต่างประเทศ และเป็นตัวขับเคลื่อนหลักที่ทำให้เศรษฐกิจของแซมเบียเติบโต แทบจะไม่มีรัฐบาลชาติใดเลยในแอฟริกาที่มีความสามารถมากพอที่จะอาศัยช่วงที่เศรษฐกิจยังดีๆ เร่งเดินหน้าด้านการพัฒนา เมื่อเศรษฐกิจมาวิกฤติเช่นนี้โอกาสที่จะทำเช่นนั้นก็ยิ่งเลือนรางลงอีก

ประเทศในแอฟริกาที่จะได้รับผลกระทบเป็นรายต่อไป คือประเทศที่พึ่งพาความช่วยเหลือจากต่างประเทศเป็นหลัก อย่างเช่นรวันดาและแทนซาเนีย รวมทั้งโมซัมบิกที่นอกจากจะพึ่งพาสินค้าโภคภัณฑ์แล้ว ยังพึ่งพาความช่วยเหลือจากต่างประเทศ คิดเป็นสัดส่วนถึง 20% ของ GDP ด้วย ซึ่งเท่ากับยิ่งได้รับผลกระทบสองต่อ และประธานาธิบดีบารัค โอบามาของสหรัฐฯ ไม่ได้กล่าวถึงสัญญาตอนช่วงหาเสียงที่จะเพิ่มเงินช่วยเหลือที่ให้ต่อแอฟริกาเป็นสองเท่าอีกต่อไปแล้ว นักเศรษฐศาสตร์จากสถาบัน Nordic Africa Institute ในสวีเดนชี้ว่า ชาติตะวันตกซึ่งประสบวิกฤติเศรษฐกิจหนัก คงจะไม่เคารพพันธะที่จะเพิ่มเงินช่วยเหลือที่ให้แก่แอฟริกาเป็นสองเท่าจาก 4 หมื่นล้านดอลลาร์ภายในปี 2010 อีกต่อไป

การลงทุนในแอฟริกาก็จะหดตัวลงเช่นกัน สถาบัน Institute of International Finance ประเมินว่า การลงทุนที่จะไหลเข้าสู่ชาติกำลังพัฒนาซึ่งรวมถึงแอฟริกา อาจลดลงมากถึง 80% ในปีหน้า สัปดาห์ก่อน IMF เตือนว่า หากวิกฤติเศรษฐกิจโลกยังรุนแรง ต่อไป จำนวนประเทศที่จะเข้าขั้นอันตรายอาจเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า เป็นเกือบ 40 ประเทศ และส่วนใหญ่จะอยู่ในแอฟริกาที่อยู่ใต้ทะเลทรายซาฮาราหรือแอฟริกาซับซาฮารา ซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตเหนือ 3% เล็กน้อยในปีนี้ เทียบกับ 4% ของประเทศที่มีรายได้ต่ำอื่นๆ ทั้งหมด

วิกฤติเศรษฐกิจอาจทำให้แอฟริกาไร้เสถียรภาพทางการเมือง ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังในแอฟริกามานาน แม้ก่อนที่จะได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก เคนยาก็เกิดความขัดแย้งทางเชื้อชาติ หนึ่งปีหลังจากนั้นรายได้จากการท่องเที่ยวของเคนยา ตกฮวบลงถึง 35% การผลิตกาแฟ ชา และดอกไม้เมืองร้อน ซึ่งเป็น อุตสาหกรรมการเกษตรที่ได้ราคาดีของเคนยาได้รับผลกระทบอย่าง หนัก เนื่องจากเกษตรกรกลัวจนไม่กล้ากลับบ้านเพราะกลัวจะถูกฆ่าตาย ไลบีเรียกับเซียรา ลีโอนพึ่งพารายได้จากการขายยางเป็น หลัก แต่ราคายางก็ตกต่ำอย่างต่อเนื่องตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา

เมื่อราคาน้ำมันพุ่งกระฉูดถึง 140 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลนั้น ระดับความรุนแรงในไนจีเรียอยู่ในระดับต่ำ แต่เมื่อราคาน้ำมันอยู่ที่ ประมาณ 40 ดอลลาร์ในขณะนี้ ความไร้เสถียรภาพในไนจีเรียก็เพิ่มขึ้น ในขณะที่ในชาติตะวันตกหวังพึ่งการแทรกแซงจากภาครัฐในยามวิกฤติ แต่ในแอฟริกาภาครัฐคือตัวปัญหาเสียเอง การล่มสลายของเศรษฐกิจซิมบับเวเป็นผลมาจากนโยบายที่ผิดพลาด และสิ่งสุดท้ายที่ซิมบับเวต้องการ ก็คือการแทรกแซงจากภาครัฐโดยรัฐบาลที่นำโดยประธานาธิบดี Robert Mugabe

ปัญหาทั้งหมดข้างต้นนี้ยังถูกซ้ำเติมด้วยความจริงที่ว่า ประเทศเพียงหนึ่งเดียวที่เป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อนการเติบโตของแอฟริกาที่ใหญ่ที่สุด คือแอฟริกาใต้ ก็กำลังเจ็บตัวอย่างหนักจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกเช่นกัน แอฟริกาใต้เป็นประเทศเดียวในแอฟริกา ที่เชื่อมโยงกับตลาดการเงินโลก จึงได้รับผลกระทบเต็มๆ จากวิกฤติการเงินโลกครั้งนี้ ธุรกิจต่างๆ ของแอฟริกาใต้ที่ได้เข้าไปลงทุนทั่วแอฟริกา ได้ช่วยกระตุ้นการเติบโตของแอฟริกาโดยรวม แอฟริกาใต้เพียงประเทศเดียวก็ผลิตสินค้าเกือบครึ่งหนึ่งของผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งหมดของแอฟริกาแล้ว มีการประเมินว่า ทุกๆ 1% ที่เพิ่มขึ้นของ GDP ต่อหัวในแอฟริกาใต้ในระยะ 5 ปี จะทำให้ประเทศอื่นๆ ที่เหลือในแอฟริกาพลอยได้รับอานิสงส์เติบโต ไปด้วย ประมาณครึ่งหนึ่งของการเติบโตที่เพิ่มขึ้นในแอฟริกาใต้

มาบัดนี้หลังจากเศรษฐกิจเจริญรุ่งเรืองมาตลอดกว่า 10 ปี แอฟริกาใต้กลับถึงคราวที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว เศรษฐกิจ แอฟริกาใต้ติดลบ 1.8% ในไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว เดือนกุมภาพันธ์ยอดขายรถใหม่ในแอฟริกาใต้ตกลง 36% เมื่อเทียบกับ หนึ่งปีก่อน บริษัทผลิตรถยนต์ขอให้รัฐบาลแอฟริกาใต้เข้าอุ้มถึง 1 พันล้านดอลลาร์ Bank of America Corp.-Merrill Lynch & Co เพิ่งทำนายว่า เศรษฐกิจแอฟริกาใต้จะติดลบ 0.6% ในปีนี้ เนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจทำให้ความต้องการสินค้าส่งออกของแอฟริกาใต้และการบริโภคภายในประเทศลดต่ำลง

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีสิ่งดีอยู่บ้างสำหรับแอฟริกา การที่ราคาน้ำมันและอาหารตกลงนำความโล่งใจมาสู่ชาติยากจนในแอฟริกา ที่เคยได้รับผลกระทบหนักจากวิกฤติราคาอาหารแพงเมื่อปีก่อน Antoinette Sayeh จาก IMF ชี้ด้วยว่า ประเทศในแอฟริกาสามารถรับมือกับวิกฤติเศรษฐกิจโลกได้ดีกว่าในอดีตมาก เนื่องจากมีระดับทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่สูงพอสมควร คำถามคือแอฟริกาจะทำอย่างไรต่อไป วิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้ทำให้มองเห็นแล้วว่า การพึ่งพาเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศและ ใช้นโยบายพัฒนาตามอย่างตะวันตกนั้น ยังไม่เพียงพอเพราะหลังจากเงินช่วยเหลือหลายแสนล้านดอลลาร์ถูกใช้หมดไป ปรากฏว่าชาวแอฟริกาในปัจจุบันนี้กลับยิ่งยากจนลงกว่าเมื่อ 60 ปีก่อนเสียอีก

นอกจากนี้ วิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้ยังทำให้มองเห็นความล้มเหลวของรัฐบาลประเทศต่างๆ ในแอฟริกา ที่ไม่อาจวางนโยบายเศรษฐกิจอย่างสอดคล้องต้องกัน และในยามวิกฤติเช่นนี้ก็คงจะยากยิ่งขึ้นไปอีกหากจะพยายามทำเช่นนั้น แต่ถ้าหากจะบอกว่า ถึงเวลาแล้วที่แอฟริกาจะต้องจับมือกันทางด้านเศรษฐกิจ ก็คงจะไม่มีเวลาไหนที่จะเหมาะสมไปกว่าเวลานี้อีกแล้ว


แปล/เรียบเรียง เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์
เรื่อง นิวสวีค 16 มีนาคม 2552   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us