Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน31 มีนาคม 2552
คลังลุ้นเช็คดันจีดีพี1.4% รายได้ปีนี้วูบ2.4แสนล.             
 


   
www resources

โฮมเพจ กระทรวงการคลัง

   
search resources

กระทรวงการคลัง
Economics




กระทรวงการคลังยอมรับรายได้รัฐปีนี้อาจลดลง 2.4 แสนล้านบาท จากประมาณการเดิมที่ตั้งไว้เพียง 1.8 แสนล้านเท่านั้น ชี้ปรับโครงสร้างภาษีใหม่เมษายนนี้อาจช่วยต่อลมหายใจได้ ยังหวังเช็คช่วยชาติกระตุ้นจีพีดีโต 1.4 % ขณะที่ สศค.แนะใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแทนนโยบายการเงินการคลังหวังเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันต่อสู้กับประเทศในภูมิภาคได้

นพ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รมช.คลัง เปิดเผยว่า สถานการณ์จัดเก็บรายได้ ล่าสุดถึงเดือนมี.ค.นี้ คาดว่าแนวโน้มการจัดเก็บรายได้ภาครัฐสุทธิ อาจลดลงถึง 2.4 แสนล้านบาท หรือลดลงถึง15% จากที่ก่อนหน้านี้ คาดว่ารายได้รัฐบาลน่าจะลดลง 1.8 แสนล้านบาท หรือ ลดลงเพียง 10% เท่านั้น ทำให้กระทรวงการคลัง ต้องหาช่องทางในการหารายได้อื่นมาชดเชย ซึ่งกระทรวงกำลังดูเรื่องการหลบเลี่ยงภาษี โดยให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ไปหาแนวทางอุดช่องโหว่ ที่ทำให้การจัดเก็บรายได้ลดลง พร้อมทั้งดูภาษีตัวใหม่ที่จัดเก็บเพิ่มได้ โดยเพาะภาษีสรรพสามิต คาดว่าในดือน เม.ย.นี้ จะได้ข้อสรุป ว่าจะขึ้นภาษีรายการใดบ้าง

“การเก็บภาษีสรรพสามิต ชา กาแฟ สุรา เบียร์ และเอสเอ็มเอส เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาล นั้น ยังต้องรอความชัดเจนจากคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นในการศึกษาการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตใหม่ทั้งระบบ คาดว่า จะสรุปเสนอให้พิจารณาได้ภายในกลางเดือนนี้ และเมื่อได้ข้อสรุปแล้ว จะเสนอต่อนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เพื่อเสนอต่อครม.ตัดสินว่าจะเก็บภาษีสินค้าชนิดใดบ้าง โดยยืนยันว่าการปรับโครงสร้างระบบการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตใหม่นี้ เพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกันและเกิดความเป็นธรรมกับสินค้าทุกชนิด ส่วนจะเก็บภาษีชา กาแฟ ด้วยหรือไม่นั้น ต้องรอผลสรุปจากคณะกรรมการก่อน” นพ.พฤฒิชัยกล่าวและว่า ส่วนเช็คช่วยชาตินั้นจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ตัวเลขจีดีพีโต 0.2% ได้ และหากหมุนได้ 7 รอบ จะมีเงินหมุนในระบบมากถึง 1.4 แสนล้านบาท ช่วยกระตุ้นจีดีพีให้โตได้ 1.4% โดยสรุปถึงวันที่ 30 มี.ค.นี้ มีผู้มารับเช็คฯไปแล้วกว่า 60% จากจำนวนผู้ที่มีสิทธิ์เกือบ 9 ล้านคน

จี้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนบริหารเศรษฐกิจ

นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการ สศค. กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาไทยใช้นโยบายการคลังและการเงินอย่างเต็มที่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแล้วแต่ภาพรวมเศรษฐกิจก็ยังชะลอลงเนื่องจากผลกระทบหนักจากวิกฤตโลก ที่มีปัญหาทำให้ผู้ซื้อสินค้าส่งออกหลักของไทยซื้อสินค้าได้น้อยลงทำให้การส่งออกไทยติดลบต่อเนื่อง 2 เดือนติดต่อกัน ดังนั้นนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนจึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะต้องนำมาใช้บริหารเศรษฐกิจ แต่ข้อมูลเมื่อวันที่ 24 มี.ค.ที่ผ่านมาพบว่า ตั้งแต่ต้นปี 52 ค่าเงินบาทไทยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในเอเชียอ่อนค่าลงเพียง 1.61% ขณะที่ประเทศคู่แข่งและคู่ค้าอย่างอินโดนีเซียค่าเงินอ่อนลงที่ 5.53% สิงคโปร์อ่อนลง 4.68% และเกาหลีอ่อนลง 9.57% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สื่อให้เห็นบางอย่าง ฉะนั้นรัฐจำเป็นต้องใช้เครื่องมืออัตราแลกเปลี่ยนเพื่อบริหารเศรษฐกิจมากขึ้น

นอกจากนี้แม้ผลกระทบจากวิกฤตโลกจะส่งผลต่อสถาบันการเงินไทยน้อยมาก แต่คาดว่าหนี้เสียในปีนี้จะปรับตัวสูงขึ้นจากขณะนี้ที่หนี้เสีย(เอ็นพีแอล)ทั้งระบบอยู่ที่ 5-6% ดังนั้นทางออกคือธนาคารพาณิชย์จำเป็นต้องเร่งปล่อยกู้แก่เอกชนเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลได้ดูแลเต็มที่จากนโยบายให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปล่อยกู้หรือค้ำประกัน แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมทั้งหมด ฉะนั้นหากธนาคารพาณิชย์ไม่ช่วยด้วยก็อาจเกิดวิกฤตกับเอกชนต่อไปได้

ยันเลื่อนขึ้น VAT ออกไปก่อน

สำหรับการประมาณการรายได้ใหม่ ขอยืนยันว่าขณะนี้ยังไม่เรียบร้อยและยังไม่ได้เสนอให้ครม.พิจารณาได้ในวันที่ 31 มี.ค.นี้ แต่สัปดาห์นี้จะเชิญสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) สำนักงบประมาณและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มารับฟังประมาณการใหม่ว่าเห็นด้วยหรือไม่ ซึ่งเบื้องต้นอาจจัดเก็บต่ำกว่าเป้าเกือบ 2 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตามยังยืนยันจะไม่มีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มภายในปีนี้ แม้ว่าการจัดเก็บเพิ่ม 1% จะทำให้รายได้เพิ่ม 5-6 หมื่นล้านบาท เนื่องจากไม่ใช่ช่วงเวลาที่เหมาะสมและจะไปซ้ำเติมการจับจ่ายประชาชนเพิ่มเติมได้ แต่สิ่งที่จะทำได้คือเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บ

ส่วนกรณีการออกมาโฟนอินของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีไม่เห็นด้วยกับการออกพรก.กู้เงินฉุกเฉินเพิ่มเป็น 60% ต่อจีดีพีซึ่งจะมีผลให้ต้องจัดเก็บภาษีกับประชาชนเพิ่มนั้น ขอยืนยันว่าในภาวะเศรษฐกิจชะลอรัฐจำเป็นต้องหาเงินเพิ่มเพื่อใช้ลงทุนในโครงการเมกะโปรเจ็กต์ โครงสร้างพื้นฐาน ต่อยอดรายได้ของประชาชนและสร้างความมั่นใจแก่เอกชน ซึ่งเงินเพิ่มเหล่านี้จะไม่มีเพื่อแจกเงินอย่างเช่นที่ผ่านมาอีก ฉะนั้นเมื่อโครงการลงทุนชัดเจนและเงินที่ลงไปนั้นคุ้มค่าสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริงก็จะเป็นการส่งกลับรายได้คืนมาอัตโนมัติด้วย ก็เท่ากับขยายฐานภาษีไปในตัวไม่จำเป็นต้องจัดเก็บภาษีเพิ่มหรือเพิ่มฐานภาษีแต่อย่างใด

แนะล้อโมเดลส่งออกเกาหลี

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค กล่าวว่า ในช่วงทั่วโลกขาดกำลังซื้อ อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือสำคัญ เช่น เกาหลีใต้เงินอ่อนค่าถึง 9% ส่งผลดีต่อการชะลอเลิกจ้างแรงงานในภาคส่งออก อีกทั้งยืดระยะเวลาที่เงินงบประมาณจะลงไปกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ พร้อมไปกับการให้ซอฟต์โลนส่งออก มาตรการเหล่านี้สามารถทำให้เกาหลีใต้สามารถแย่งตลาดส่งออกจากประเทศคู่แข่งได้ส่วนหนึ่ง ซึ่งโครงสร้างเศรษฐกิจเกาหลีใต้คล้ายประเทศไทยที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก

นายสมชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบภาคราชการ กระทรวงการคลัง และประธานมูลนิธิสถาบันพัฒนาสยาม กล่าวว่า เห็นด้วยที่จะใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือช่วยบริหารเศรษฐกิจ แต่ต้องเป็นในช่วงระยะสั้นไม่ฝืนธรรมชาติระยะยาว และสิ่งสำคัญต้องไม่ประกาศต่อสาธารณะ ทั้งนี้สำหรับวิกฤตเศรษฐกิจโลกตนยังมองว่ายังไม่ถึงจุดต่ำสุด ต้องติดตามต่อเนื่อง แต่ที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิดคือค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ หากอ่อนค่าลงมากจนนำไปสู่สถานการณ์ที่หลายประเทศไม่อยากถือครองอีกจะเกิดวิกฤตอย่างมาก ซึ่งผลการประชุมจี 20 ครั้งนี้ค่อนข้างสำคัญ หากมีการเสนอให้เปลี่ยนแปลงการใช้เงินตราระหว่างประเทศใหม่ก็จะเปลี่ยนอำนาจของเศรษฐกิจโลกทันที

ด้านนายวิศาล บุปผเวส ที่ปรึกษาฝ่ายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วยกับการทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่ากว่าความเป็นจริง เพราะเท่ากับว่าเรานำเงินงบประมาณไปปรนเปรอผู้บริโภคต่างประเทศ จากการที่ได้เงินเท่าเดิมแต่ต้องขายของจำนวนมากขึ้น ดังนั้นรัฐจึงควรมีเครื่องมือบริหารเศรษฐกิจเพิ่มเติม เช่นการสกัดเงินทุนไหลเข้าออกให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม หรือการใช้เวทีระดับโลกเพื่อต่อรองมากขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us