Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์30 มีนาคม 2552
อี-แคตาล็อก มาร์เก็ตติ้งต้องมีลูกเล่น             
 


   
search resources

News & Media




- โอเพ่นเซิร์ฟ กลายพันธ์โปรแกรมอีบุ๊ก สร้างผู้ช่วยนักการตลาดแนวใหม่
- พลิกโฉมอี-มาร์เก็ตติ้ง ด้วยสื่อแนวๆ 'อี-แคตาล็อก' พลิกอ่านได้ เชื่อมข้อมูลแบบเรียลไทม์
- หมดยุคเครื่องมือตัวแม่ที่ไร้สีสัน

หากกล่าวถึง นิวมีเดีย ที่จะน่าจับตามองในช่วง 2-3 ปีต่อจากนี้ คงจะหนีไม่พ้น 'อีบุ๊ก' ที่มีความพยายามทั้งผลักทั้งดันจากนายใหญ่ของอเมซอนดอทคอม 'เจฟฟ์ เบซอส' ที่ผลักดันทั้งอุปกรณ์อ่านอีบุ๊กอย่าง 'Kindle' รวมถึงตัวซอฟต์แวร์อีบุ๊กที่ให้อ่านถึง 88,000 เรื่อง โดยสามารถดาวน์โหลดผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่มาอ่านกัน

นั้นเป็นความพยายามที่จะขับเคลื่อนให้อีบุ๊กเป็นที่นิยมในตลาดต่างประเทศ แต่สำหรับในประเทศไทย บริษัท โอเพ่น เซิร์ฟ (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2549 โดยมีบริษัท โซลูชั่น คอนเนอร์ (1998) จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI ถือหุ้นอยู่ 99.99% ได้พัฒนาโปรแกรม I love Library โดยทีมโปรแกรมเมอร์ของบริษัท ขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถสร้างหนังสือ แคตาล็อก อัลบั้มภาพ ให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างง่ายดาย โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องมีความรู้ในคอมพิวเตอร์แต่อย่างไร นอกจากจะสามารถเรียนรู้การใช้งานได้อย่างง่ายดายแล้ว การสร้างก็เป็นเรื่องง่ายและสามารถสร้างได้อย่างรวดเร็ว

'หลังจากเปิดตัว I love Library ประมาณช่วงเดือนเมษายนปีที่แล้ว มาจนถึงวันนี้ ตอนแรกๆ ก็มีคนเข้ามาดาวน์โหลดโปรแกรมไปใช้งานไม่มากนัก แต่หลังจากผ่านมาได้สัก1-2 เดือน ก็เริ่มมีคนดาวน์โหลดโปรแกรม I love Library ไปใช้งานกันมากขึ้นเรื่อยๆ จนเวลานี้มีคนเข้ามาดูโปรแกรม I love Library ไม่น้อยกว่า 2 ล้านครั้ง' ชัชพงศ์ มัญชุภา กรรมการผู้จัดการ บริษัท โอเพ่น เซิร์ฟ (ประเทศไทย) จำกัด และรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท โซลูชั่น คอนเนอร์ (1998) จำกัด (มหาชน) เล่าให้ฟังถึงความสำเร็จที่เกิดขึ้นของโปรแกรม I love Library ให้ฟัง

ปัจจุบัน โปรแกรม I love Library มีการดาวน์โหลดไปใช้งานกว่า 100,000 ราย โดยเฉพาะนิสิตนักศึกษาตามสถาบันการศึกษาต่างๆ ได้มีการประยุกติ์ใช้เป็นเครื่องมือในการทำสื่อการเรียนการสอน ด้วยจุดเด่นตรงที่เป็นโปรแกรมที่สามารถนำเสนอภาพเคลื่อนไหวได้ดี อีกทั้งยังเป็นโปรแกรมที่นำมาใช้สร้างงานได้ง่าย หลังจากที่ทางบริษัทจัดทำโครงการที่เรียกว่า E-Book Dee for School สำหรับโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร 145 โรงงาน

ชัชพงศ์ ยังกล่าวถึงความนิยมโปรแกรม I love Library ว่า ถ้าหากเสิร์ชคำว่า e-book ในกูเกิล ชื่อของ I love Library จะอยู่หน้าแรก อันดับที่ 4 ซึ่งเป็นอันดับที่เราค่อนข้างพอใจ จึงทำให้ทางบริษัทเร่งพัฒนาโปรแกรมให้มีความสามารถมากยิ่งขึ้น

โปรแกรม I love Library เป็นบริการหนึ่งในเว็บไซต์ที่ชื่อว่า www.ilovelibrary.com โดยมีบริการ 2 ส่วน คือ บริการคอนเทนต์ให้อ่านฟรี โดยจะอยูในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หรืออีบุ๊กสำหรับบุคคลทั่วไป และสมาชิกซึ่งเป็นคลังหนังสือที่มีหมวดหมู่หนังสือมากกว่า 25 หมวด ประกอบไปด้วย หนังสือการศึกษา หนังสือเทคโนโลยี เรื่องสั้น นิตยสารและอื่นๆ

แหล่งที่มาของหนังสือที่อยู่ภายในเว็บได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนหลายแห่ง เช่น สำนักงาน กปร สำนักฝนหลวง กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มูลนิธิหมอชาวบ้าน คนรักกอล์ฟ เป็นต้น โดยแต่ละเดือนจะมีหนังสือปกใหม่ๆ ให้บริการอย่างต่อเนื่อง มากกว่าเดือนละ 300 ปก

กับบริการเปิดให้ผู้สนใจทั่วไปและสมาชิกดาวน์โหลดโปรแกรมสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟรี สามารถนำไปใช้สร้างอีบุ๊ก อัลบั้มภาพและแคตตาล็อคสินค้า บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวเท่านั้น โดยไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์

โปรแกรม I love Library ประกอบไปด้วย I Love Library Builder เป็นโปรแกรมสำหรับสร้างอีบุ๊ก และ I Love Library Viewer เป็นโปรแกรมที่ใช้อ่านอีบุ๊ก สามารถสร้างหนังสือ 1 เล่มเพียงแค่ 7 คลิก และมีลูกเล่นในการเปิดอ่านหนังสือมากมาย ทำให้เพลินเพลินกับการอ่านหนังสือ เพราะให้ความรู้สึกเสมือนการเปิดหนังสือจริง

ชัชพงศ์ กล่าวอีกว่า นอกเหนือจากการเปิดกว้างให้นำโปรแกรม I love Library ไปใช้ฟรีแล้ว ทางบริษัทยังได้พัฒนาโปแกรม I Love Library สำหรับใช้ในการสร้างงานอีบุ๊กเชิงพาณิชย์ โดยแบ่งเป็น 3 เวอร์ชั่น ประกอบไปด้วย เวอร์ชั่นที่เรียกว่า คอมเมอร์เชียล อิดิชั่น เป็นเวอร์ชั่นสำหรับการใช้งานในองค์กร หน่วยงาน และบริษัท สามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หรือธุรกิจได้โดยไฟล์ที่สร้างจากชุดคอมเมอร์เชียล เมื่ออัปโหลดเข้าเว็บไวต์ I Love Library จะไม่มีการจำกัดขนาดไฟล์ที่อัปโหลด

เวอร์ชั่นที่ 2 เรียกว่า 'เน็ตเวิร์ก อิดิชั่น' ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นสำหรับการใช้งานแบบเครือข่ายในองค์กร หน่วยงาน หรือบริษัท เหมาะสำหรับการใช้งานในลักษณะของห้องสมุด คือ มีการติดตั้งบนระบบอินทราเน็ตหรืออินเทอร์เน็ตภายในองค์กร เพื่อให้มีการกระจายของสื่ออิเล็กทรอนิคส์ที่สร้างไว้ภายในหน่วยงาน หรืออาจจะนำไปใช้ในลักษณะของการจัดเก็บเอกสารการประชุม คู่มือ ระเบียบ รวมไปถึงการต่อเชื่อมกับระบบ Knowledge Management

ชัชพงศ์ กล่าวว่า เวลานี้ ทางบริษัทกำลังนำเน็ตเวิร์ก อิดิชั่นไปนำเสนอให้กับห้องสมุดต่างๆ ทั้งในประเทศและนอกประเทศ ซึ่งในประเทศไทยเวลานี้มีห้องสมุดหลายๆ ที่นำไปทำเวอร์ชวลไลบรารีแล้ว 15 ไซต์ ส่วนตลาดต่างประเทศนั้น ตอนนี้ทางบริษัทได้แต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายในการบุกตลาดสหรัฐอเมริกากับแคนาดาเป็นพิเศษ ซึ่งทางบริษัทน่าจะมีห้องสมุดที่ใช้บริการนี้ไม่ต่ำกว่า 50 ไซด์ภายในปีนี้

'เนื่องจากโปรแกรมของเรานอกจากจะมีความง่ายในการใช้งานแล้ว ที่สำคัญโปรแกรมของบริษัทต่างจากโปรแกรมอ่านอีบุ๊กอื่นในตลาดตรงที่สามารถแสดงภาพเคลื่อนไหวได้ แถมยังมีความสามารถในการป้องกันเรื่องการก็อปปี้ได้ ด้วยการกำหนดจำนวนไลเซนต์การใช้ได้ อีกทั้งยังเปิดกว้างในการสร้างอีบุ๊กด้วยตนเอง ไม่เหมือนกับโปรแกรมอ่านอีบุ๊กรายอื่นๆ ที่เจ้าของคอนเทนต์ต้องนำเนื้อหาไปให้ทางทางบริษัทพัฒนาโปแกรมแปลงเป็นอีบุ๊กให้'

และ เวอร์ชั่นที่ 3 'พับลิชเชอร์ อิดิชั่น' สำหรับนำไปใช้งานของผู้ประกอบการสำนักพิมพ์หรือสำหรับนักเขียนที่ต้องการสร้างสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ไปเพื่อจำหน่าย สื่อที่สร้างขึ้นมาระบบของ I love Library จะทำการสร้างระบบล็อกเพื่อป้องกันการก็อปปี้ โดยเจ้าของหนังสือหรือสื่อที่สร้างขึ้นสามารถกำหนดสิทธิอนุญาตให้ผู้ซื้อสามารถที่จะติดตั้งหนังสือสื่อที่ซื้อไปได้ใหม่กี่ครั้ง

'เวลานี้ทางบริษัทได้เริ่มมีการนำเสนอเวอร์ชั่น พับลิชเชอร์ไปตามสำนักพิมพ์ใหญ่ๆ บ้างแล้ว ซึ่งถือเป็นแหล่งคอนเทนต์สำคัญที่กระตุ้นให้ตลาดอีบุ๊กเติบโตขึ้น'

ชัชพงศ์ กล่าวอีกว่า จากสถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงนี้ที่กำลังย่ำแย่ ทำให้บริษัทต่างๆ ต่างมองหาเครื่องมือการตลาดแนวใหม่ที่มีต้นทุนไม่สูงและสามารถเข้าถึงกลุ่มลุกค้าเป้าหมายได้เป็นอย่างดี ทางบริษัทจึงได้พัฒนาต่อยอดโปรแกรม I love Library มาเป็นเครื่องมือทางการตลาดแต่อินเตอร์แอกทีฟในรูปแบบของ อี-มาร์เก็ตติ้ง'ในรูปของอี-แคตาล็อก อีอัลบั้ม อี-แอนนวล รีพอร์ต ซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ให้มีความน่าสนใจและดึงดูดใจได้มาก แถมยังประหยัดเวลา ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า แต่สามารถเข้าถึงมวลชนได้มาก โดยทางบริษัท ได้นำโปรแกรม I love Library มาให้บริการจัดทำสื่อในรูปแบบออนไลน์ มาร์เก็ตติ้ง

สื่ออี-มาร์เก็ตติ้งที่ว่า จะอยู่ในรูปของซีดีรอมที่ผู้รับสามารถนำไปเปิดดูได้ทันทีโดยไม่ต้องใช้โปรแกรมเฉพาะในการเปิดอ่าน โดยมีรูปแบบการนำเสนอในรูปแบบของอินเทอร์แอกทีฟที่สามารถสื่อสารด้วยภาพและเสียง โดยทางเจ้าของสินค้าสามารถติดตั้งลิงก์เชื่อมโยงไปยังข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อผู้ใช้ต้องการรู้ข้อมูลรายละเอียดเพิ่มได้ทันที แม้กระทั่งเชื่อมโยงไปยังระบบอีคอมเมิร์ซเพื่อให้เกิดธุรกรรมทางการค้าเกิดขึ้น

บริการดังกล่าว ทางชัชพงศ์ ประเมินว่า จะบริการ อี-แคตตาล็อก น่าจะช่วยให้บริษัทหรือหน่วยงานสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ให้มีความน่าสนใจมากขึ้น จากคุณสมบัติที่สามารถนำเสนอลูกค้าในรูปแบบ อี-แคตาล็อกที่สามารถพลิกเปิดอ่านได้เสมือนสื่อจริงๆ พร้มอทั้งภาพเคลื่อนไหวแลเสียง และยังสามารถเชื่อมไปยังเว็บไซต์ได้ทันที ทำให้สะดวกและง่ายต่อการนำไปเผยแพร่ทั้งในรุปแบบของการส่งอีเมล์หรือซีดี

'ปัจจุบัน เรื่องของอีเมล์ มาร์เก็ตติ้ง จะมีคนสนใจเยอะมาก อีเมล์ มาร์เก็ตติ้งรูปแบบเดิมจะมีแค่เปิดเข้าไปอ่านรายละเอียด ดูรูปภาพเท่านั้น แต่ถ้าเป็นการทำตลาดผ่านอี-แคตาล็อก ที่ทางบริษัทคิดขึ้นมา จะมีทั้งภาพและเสียงประกอบการโฆษณาสินค้าเหมือนกับเราสื่อสารกับผู้บริโภคด้วยตนเอง'

ชัชพงศ์ กล่าวว่า ข้อดีของการใช้อี-แคตาล็อก อยู่ตรงที่ช่วยประหยัดเวลาการทำงาน ลดต้นทุน ลดปริมาณการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ประหยัดค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านทางโทรทัศน์ซึ่งเป็นตัวเลขงบประมาณการทำตลาดที่ค่อนข้างสูง และหากไปในเวลาไม่นาน แต่การทำตลาดผ่านอี-แคตาล็อก เมื่อไหร่ก็ตาม ที่เราได้รับอีเมล์ วันนี้เรายังไม่สะดวกเปิดมาเปิดวันหลังก็ยังไม่โดนลบทิ้ง ยิ่งในช่วงเศรษฐกิจขาลงแบบนี้ในแง่ของบริษัทต่อให้เศรษฐกิจแย่แค่ไหนก็ยังจำเป็นต้องมีการทำการตลาด การออกอี-แคตาล็อกถือเป็นไทม์มิ่งที่เหมาะสม โดยค่าบริการเริ่มต้นตั้งแต่ 5,000 บาทเป็นต้นไป แต่ผลตอบกลับถือว่าคุ้มค่า

สำหรับกลุ่มเป้าหมายสำหรับใช้บริการอี-แคตาล็อกนั้น ชัชพงศ์ ตั้งเป้าไว้ว่า จะใช้วิธีส่งข้อมูลให้กับลูกค้าเดิมของบริษัทที่มีอยู่กว่า 100,000 กว่ารายก่อน โดยคาดว่าจะมีผู้ใช้บริการไม่ต่ำกว่า 20% หลังจากนั้นจะค่อนๆ ขยายตลาดไปยังตลาดอื่นๆ ต่อไป

'ทางบริษัทมุ่งมั่นที่จะผลักดันให้โปรแกรม I love Library เป็นโปรแกรมมาตรฐานเหมือนอย่างพีดีเอฟ เพราะโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมานี้สามารถตอบสนองการใช้งานทั้งภาษาไทย จีน ญี่ปุ่น ฯลฯ ซึ่งนับว่า โปรแกรมในลักษณะเดียวกันนี้ไม่สามารถทำได้'   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us