Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์30 มีนาคม 2552
หวังค่าธรรมเนียมดันรายได้ หุ้นแบงก์ใหญ่รอรับอานิสงส์             
 


   
search resources

Banking and Finance




แนวโน้มปล่อยกู้ใหม่ลด ส่วนต่างดอกเบี้ยหด ผลักแบงก์ขึ้นค่าธรรมเนียมชดเชย โบรกฯคาดแบงก์ใหญ่สาขาเยอะได้เปรียบ แม้ว่าโดยภาพรวมของกลุ่มแล้วจะเป็นสัดส่วนไม่มากก็ตามที

การที่ธนาคารพาณิชย์ ได้มีการปรับเพิ่มค่าธรรมเนียม เช่น ธนาคารกรุงเทพ (BBL) ปรับเพิ่มค่าธรรมเนียมรายปีบัตรATM เป็น 200 บาท และธนาคารกรุงไทย(KTB) ก็ได้มีการขึ้นค่าธรรมเนียมบัตรเงินด่วนทุกประเภท รวมทั้งธนาคารพาณิชย์อื่นๆก็มีการปรับขึ้นเช่นกัน สิ่งเหล่านี้ถือเป็นสัญญาณของการปรับตัวในช่วงที่ปล่อยสินเชื่อใหม่ได้น้อย และ ส่วนต่างดอกเบี้ยจ่ายและดอกเบี้ยรับ(NIM) มีแนวโน้มแคบลง จึงต้องหารายได้ด้านอื่นๆมาชดเชย

สุกัญญา อุดมวรนันท์ นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ จากบริษัทหลักทรัพย์(บล.)กิมเอ็ง(ประเทศไทย) ประเมินว่า ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวส่งผลให้กลุ่มธนาคารพาณิชย์เริ่มมุ่งหวังรายได้ค่าธรรมเนียมมากขึ้นเพราะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า อีกทั้งยอดการปล่อยสินเชื่อมีการปรับลดลง โดยธนาคารที่คาดว่าจะมีรายได้ค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือธนาคารกสิกรไทย (KBANK)เนื่องจากเป็นปีแห่งการขยายธุรกิจ ล่าสุดได้ร่วมมือกับไทยประกันชีวิต ซึ่งธนาคารตั้งเป้ารายได้ค่าธรรมเนียม 3 ปีโต30% รวมทั้งการปรับเพิ่มค่าธรรมเนียมบัตรATM อาจจะเป็นปัจจัยสนับสนุนรายได้ค่าธรรมเนียมทั้งปี 2552เติบโตประมาณ 20% จากปี2551ที่มีรายได้ดังกล่าวเติบโตถึง 27.2% หรือจำนวน 21.04หมื่นล้านบาท จึงแนะนำ “ซื้อเมื่ออ่อนตัว”โดยให้ราคาเหมาะสม 60 บาท

รวมทั้งการที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ที่ได้เข้าซื้อ จีอี แคปปิตอล ออโต้ ลีส(GECAL) ก็คาดว่าจะทำให้ค่าธรรมเนียมทั้งปีจะเพิ่มขึ้นประมาณ 20% เช่นกัน จึงแนะนำ “เก็งกำไร” ที่ราคาเหมาะสม 10.80 บาท ส่วนธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) คาดว่าจะมีรายได้ค่าธรรมเนียมทั้งปีอยู่ที่ 15% เนื่องจากเป็นธนาคารที่มีสาขามากที่สุดในกลุ่ม แต่การที่ธนาคารปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจ จึงส่งผลให้มีรายได้จากค่าธรรมเนียมเติบโตน้อยกว่า KBANK และ BAYแนะนำ “ซื้อเมื่ออ่อนตัว”SCB ให้ราคาเหมาะสม 60 บาท ขณะที่ BBL เชื่อว่าการที่เป็นธนาคารขนาดใหญ่จะมีรายได้ค่าธรรมเนียมทรงตัวเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าที่ 15% แนะนำ “ซื้อเมื่ออ่อนตัว”ราคาเหมาะสม 80 บาท

“แม้รายได้จากดอกเบี้ยในปีนี้จะตกต่ำลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าเนื่องจากฐานรายได้ที่กว้างขึ้นและสินเชื่อที่ลดปริมาณลงตามเศรษฐกิจ แต่เชื่อว่าแบงก์จะเริ่มรุกรายได้ค่าธรรมเนียมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขยายธุรกิจหรือออกผลิตภัณฑ์เพื่อสนับสนุนรายได้ค่าฟีในช่วงดอกเบี้ยขาลง”

ด้านนักวิเคราะห์หลักทรัพย์จาก บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส(ประเทศไทย) มองว่า แม้ที่ผ่านมากลุ่มธนาคารพาณิชย์จะปรับเพิ่มค่าธรรมเนียมบัตร ATM ซึ่งทดแทนปริมาณสินเชื่อที่ปรับตัวลดลงมหาศาลจากยอดส่งออกและการท่องเที่ยวซึ่งส่งผลให้รายได้ดอกเบี้ยปรับตัวลดลงมาก แต่เชื่อว่าการปรับเพิ่มค่าธรรมเนียมบัตร ATM จะสามารถเพิ่มรายได้ดอกเบี้ยได้ประมาณ 2% เท่านั้นนับว่าน้อยมากเมื่อนำมาเทียบกับสัดส่วนรายได้ดอกเบี้ยต่อสินเชื่อรวมที่มีถึง 20%

นอกจากนี้จากการที่กลุ่มธนาคารพาณิชย์ต่างขยายกิจการด้าน Bank Assuranceเพื่อหวังรายได้ค่าธรรมเนียม ซึ่งคาดว่าจะเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ และอาจมีผลกระทบต่อยอดขายให้ลดลง ขณะที่ภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวยังซ้ำเติมรายได้ดอกเบี้ย ส่งผลให้กลุ่มธนาคารต้องหาวิธีเพิ่มรายได้มากขึ้น แต่การปรับเพิ่มค่าธรรมเนียมบัตรATMคาดว่าจะได้ค่าธรรมเนียมเพิ่มเพียง 2% และเมื่อนั้นมาหักลบกับสินเชื่อที่ลดลงของกลุ่มธนาคารก็แทบไม่ได้เป็นสัดส่วนอะไรมากนัก แต่สำหรับธนาคารที่ได้รับประโยชน์มากจะเป็นแบงก์ใหญ่ซึ่งมีเครือข่ายบริการกว้างขวางทั่วประเทศ ได้แก่ BBL, KTB, KBANK และ SCB   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us