Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์30 มีนาคม 2552
"คิริน" ท้าดวลครั้งใหม่ ด้วยแคทิกอรี่ "ชาฝรั่ง"             
 


   
search resources

Green Tea
Soft Drink
สยามคิริน เบฟเวอร์เรจ, บจก.




"คิริน" พลิกเกม ลงกรำศึกในสมรภูมิชาพร้อมดื่มยุคใหม่ จากการแข่งขันชนเจ้าตลาดในตลาดชาเขียวยุคเฟื่องฟู เปลี่ยนเกมงัด "ชาแคทิกอรี่ใหม่"มาต่อสู้

หลังยักษ์ใหญ่อันดับสามในวงการเครื่องดื่มจาก "ญี่ปุ่น" เปิดตัวครั้งแรก ด้วยการส่งสินค้าลงสู่ตลาดชาเขียวในเมืองไทย ภายใต้แบรนด์ "นะมาชะ กรีนที" ซึ่งอยู่ในจังหวะที่ตลาดรวมมีมูลค่ากว่า 6 พันล้านบาทกำลังเติบโตแบบสุดขีด และดูจากการสื่อสารและทำกิจกรรมการตลาดที่ต้องการตอกย้ำความเป็นตัวตนของ "คิริน" ที่ต้องการจะช่วงชิงความเป็นผู้นำตลาดน้ำชาเขียวแท้ต้นตำรับจากญี่ปุ่นที่เป็นจุดขายซึ่ง "โออิชิ" วางไว้เช่นกัน ด้วยการนำเอา "นะมาชะแพนด้า" หนึ่งในคาแรกเตอร์ยอดนิยมของคนญี่ปุ่น และที่มาของทอล์กออฟเดอะทาวน์ "ป๋มเป็นแพนด้ามาจากญี่ปุ่ง"ผ่านภาพยนตร์โฆษณา

ทว่า 3 ปีผ่านไป เมื่อเค้กชิ้นเดิมได้ลดขนาดลงมาเรื่อยๆจนเหลือมูลค่า 4 พันล้านบาท กอปรกับการทำตลาดที่มีความท้าทายเพราะมีคู่แข่งหลักที่มีความแข็งแกร่งอย่าง "โออิชิ" นั่นเอง เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ "คิริน"ต้องเปลี่ยนแผน ปรับเกมจากการสู้ศึกในตลาด ชาเขียวŽมาท้าดวลกับคู่แข่งด้วยแคทิกอรี่ใหม่เป็น "ชาฝรั่ง" พร้อมดื่ม

สำหรับการเปิดศึกชาพร้อมดื่ม ด้วยแนวทางการทำตลาดเพื่อแจ้งเกิดชาอังกฤษพร้อมดื่มรายแรกในไทยของ "คิริน" นั้น จะมีการทำตลาดภายใต้แบรนด์ "Tea Break" ที่วางตำแหน่งสินค้าเป็นชาฝรั่งบรรจุขวดเพ็ต 3 รสชาติ คือ Straight Tea ซึ่งบรรจุในขวดสีแดง Lemon Tea ขวดสีเหลือง และ Milk Tea บรรจุในขวดสีขาว เน้นเจาะตลาดกลุ่มสาวทำงานผู้หญิงอายุ 20-29 ปี ส่วนการทำตลาดเน้นการสื่อสารอย่างครบวงจรเพื่อสร้างการรับรู้ต่อผู้บริโภค อาทิ การสื่อสารผ่านภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ชุด รถไฟŽ ซึ่งเริ่มออกอากาศตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา ในงบประมาณ 120 ล้านบาท โดยปีแรกตั้งเป้าชิงส่วนแบ่งจากตลาดชาพร้อมดื่มมาได้ประมาณ 5-6% โดยตั้งเป้าการขายไว้ที่ 12 ล้านขวดในปีแรก หรือคิดเป็น 5 แสนลัง

นับว่าเกมรุกนี้ เป็นการวางหมากครั้งสำคัญที่ คิรินŽใช้สำหรับปูทางในระยะยาวเพื่อขึ้นสู่การเป็นผู้ผลิตเครื่องดื่มรายใหญ่ในเมืองไทย โดยตั้งเป้า 3-5 ปีมีสินค้าที่ติดตลาดได้ โดยยังคงใช้เครื่องดื่มในกลุ่ม "ชาพร้อมดื่ม" ซึ่งเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่มาเป็นสินค้านำร่อง ตามนโยบายจากบริษัทแม่ที่มุ่งเน้นนวัตกรรมสินค้าที่ยังไม่มีในตลาด และสอดคล้องกับสภาพและพฤติกรรมผู้บริโภคคนไทย โดยประเดิมการทำตลาดสำหรับนโยบายใหม่ เปิดตัว "นะมาชะ กรีนลาเต้" ซึ่งเป็นชาเขียวใส่นม บรรจุในขวดเพ็ต ออกมาเจาะกลุ่มเป้าหมายผู้หญิงวัยทำงานอายุตั้งแต่ 20-29 ปี โดยวางตลาดในปีที่ผ่านมา และอนาคตมีความเป็นไปได้ที่จะนำเครื่องดื่มประเภทอื่นๆ เข้ามาทำตลาดในไทยนอกเหนือจากชาพร้อมดื่ม

ที่สำคัญการทำตลาดภายใต้แบรนด์ "Tea Break" ยังเป็นความพยายามเพื่อจะแจ้งเกิดสินค้าใหม่ ซึ่งมีความแตกต่างเพื่อจะแทรกเข้ามาในช่องว่างของตลาดชาพร้อมดื่ม จากการแข่งขันตลาดชาเขียวที่มีความรุนแรงของราคาและโปรโมชั่น และมี "โออิชิ" ครองตลาดชาเขียวอยู่ เช่นเดียวกับผู้เล่นรายอื่นที่เป็นคู่แข่งในตลาดชาพร้อมดื่มเดินเกมรุกด้วยการเปิดแคทธิกอรี่ใหม่เข้ามาอย่าง ลิปตันเจ้าตลาด ชาดำ ที่เปิดเกมช่วงชิงตลาดชาเขียวด้วย "ลิปตันไนน์" หรือแม้กระทั่งการเปิดตัวชาขาว "เพียวริคุ" ที่ใช้ช่องว่างในตลาดมาเป็นโอกาสแจ้งเกิดสินค้าใหม่

สินค้าแคทิกอรี่ใหม่ๆที่เข้ามาในตลาด และมีการเติบโตอยู่ที่ 20% ดูเหมือนจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ตลาดชาพร้อมดื่มในวันนี้ยังคงมูลค่าตลาดรวมประมาณ 4,000 ล้านบาท ขณะที่ขนาดตลาดชาเขียวที่เคยเป็นยุคทองเฟื่องฟูแบบสุดขีด กลับกลายเป็นแคทธิเกอรี่ที่เริ่มชะลอตัวลงติดต่อกันมาประมาณ 3 ปีแล้ว โดยคิดเป็นสัดส่วนชาเขียว 68% ชาดำ 18% และชาขาว 12%

แนวโน้มตลาดดังกล่าว นับว่าเป็นสัญญาณที่ดีทำให้คู่ชกหลักของ "คิริน" จึงเปลี่ยนเป้าหมายไปจากเดิมที่หวังจะเขย่าบัลลังก์ "โออิชิ" ในตลาดชาเขียว ฮิเดยูกิ อิวาโอะ ประธาน บริษัท สยามคิริน เบฟเวอร์เรจ จำกัด กล่าวและให้มุมมองกับหนังสือพิมพ์ "ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์" ว่า ตัวเลขของชาพร้อมดื่มแคทิกอรี่ใหม่ที่มีสัดส่วนของตลาดเพิ่มขึ้น ทำให้เป้าหมายของ "คิริน"หลังเปิดแคทิกอรี่ชาฝรั่งพร้อมดื่มซึ่งยังไม่มีค่ายไหนส่งสินค้าลงมาเล่นในตลาดจึงมุ่งไปที่การช่วงชิงเค้กในตลาดใหม่

การบุกตลาดของ "คิริน"ตอนนี้ไม่เชิงเข้าไปต่อสู้กับ "โออิชิ" แต่จะเข้าไปชิงตลาดกับ "ลิปตัน" และ "เพียวริคุ" ซึ่งเป็นเบอร์ 2 และ 3 ของตลาดชาพร้อมดื่ม ที่ผ่านมาแม้ว่าจะเป็นยักษ์เครื่องดื่มจากญี่ปุ่นที่เข้ามาท้าชิงในตลาดเมืองไทย แต่สิ่งที่ทำให้ "คิริน" ยังต้องเป็นมวยรอง และการทำตลาดยังไม่เข้าเป้าหมายหลังจากเข้ามาทำตลาดในเมืองไทย 3 ปี "นะมาชะ กรีนที" มียอดขายเพียง 1.2 แสนลังต่อปี เป็นเพราะต้องเจอกับคู่แข่ง โออิชิŽซึ่งเป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่ง

หลังจากนั้นก็พยายามแก้เกมด้วยจุดขายที่มีความแตกต่างโดยพัฒนารสชาติใหม่ๆออกมาให้ถูกปากสอดคล้องกับผู้บริโภคคนไทย แต่ก็ยังไม่ได้รับการตอบรับที่เพียงพอ นั่นอาจเป็นเพราะพฤติกรรมการดื่มชาของคนไทยค่อนข้างมีแบรนด์ลอยัลตี้ เพราะในราคาขายที่เท่ากันคนจะเลือกหยิบแบรนด์ที่คุ้นเคยไปก่อน แต่ถ้ามีแบรนด์อื่นที่มีการทำแคมเปญโปรโมชั่นคนจะไปเลือกสินค้าที่มีโปรโมชั่นมากกว่า

อย่างไรก็ตามหากสามารถแทรกเข้ามาสร้างแบรนด์ลอยัลตี้ด้วยจุดต่างของสินค้าสำหรับสินค้าใหม่ภายใต้แบรนด์ "ทีเบรก" ซึ่งคาดว่าจะไปได้ดีโดยจะให้เวลา 1 ปีสำหรับการทำตลาดสินค้าตัวนี้ เนื่องจากเป็นสินค้าที่เข้ามาเป็นทางเลือกและสร้างความแปลกใหม่ของการดื่มชาพร้อมดื่มที่จะขยายตลาดไปยังกลุ่มคนรุ่นใหม่และวัยเริ่มทำงาน

อีกทั้งจากผลการสำรวจพบว่า การทำตลาดชาทั่วโลก 75% พบว่าชาอังกฤษได้รับความนิยมในการบริโภคมากเป็นอันดับ 1 รองลงมาเป็นชาเขียวคิดเป็นสัดส่วน 20% ซึ่งถือเป็นช่องว่างในการทำตลาด โดยประเทศไทยเป็นประเทศที่ 3 ต่อจากประเทศญี่ปุ่น และจีนภายใต้ชื่อ "Gogo no Kocha" ซึ่งเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมเป็นอันดับหนึ่งในตลาดชาอังกฤษพร้อมดื่มในญี่ปุ่น

ขณะที่แผนระยะยาวของ "คิริน" สำหรับการทำตลาดในเมืองไทย วางตำแหน่งเป็นบริษัทเครื่องดื่มครบวงจรที่การทำตลาดไม่ได้โฟกัสสินค้าไปที่ตัวใดตัวหนึ่ง จากจุดเริ่มต้นปีออกสินค้าญี่ปุ่นคือ "ชาเขียว" ในฐานะที่เป็นบริษัทญี่ปุ่น หลังจากนี้จะมีการคิดค้นสินค้าใหม่ๆ ออกมาทำตลาดที่มีการวาง Positioning ที่แตกต่างกัน และครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายตั้งกลุ่มวัยรุ่น จนถึงผู้ใหญ่วัยทำงาน โดยนอกจากชาเขียวแล้วยังมีสินค้าประเภทอื่นๆ เช่น กาแฟ เครื่องดื่มที่ให้ประโยชน์กับร่างกายประเภทฟังก์ชันนัลดริงก์ น้ำผลไม้ กาแฟ

ในส่วนแผนจะมาตั้งโรงงานผลิตสินค้าเอง จากปัจจุบันจ้างโรงงานโตโย แพ็ค เป็นผู้ผลิตนั้น จะพิจารณาจากเป้าหมายยอดขายประมาณ 3-4 เท่าของยอดขายประมาณ 4 ล้านลังในปีที่ผ่านมา ซึ่งจะถึงจุดคุ้มทุนและสามารถมาตั้งโรงงานผลิตในประเทศไทยได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us