Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2544
อินเทอร์เน็ตไร้สาย ไฮไลต์ไอทียู 2000             
 

   
related stories

ตลาดมือถือร้อนๆ
3G โทรศัพท์มือถือรุ่นที่สาม บริษัทญี่ปุ่นพร้อมชนโนเกีย-อีริคสัน
โดโคโม มาแรงได้อย่างไร
ตลาดจอภาพร้อน แอลซีดียังไปได้สวย แต่คู่แข่งเร่งหาจอคุณถาพสำหรับโทรศัพท์ 3G
ปฏิวัติอุปกรณ์สื่อสารไร้สายยุค 3G

   
search resources

WAP
3G




เป็นสิ่งบ่งชี้ถึงทิศทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ กำลังถูกเคลื่อนย้ายจากบริการด้านเสียงไปสู่บริการด้านข้อมูล เพื่อก้าวเข้าสู่โลกของมัลติมีเดียต่อไป โดยมีเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายยุต 3G

ภูมิภาคเอเชียยังคงมีความหมายต่อผู้ประกอบธุรกิจโทรคมนาคม ถึงแม้ว่าพิษเศรษฐกิจ ที่กระทบไปทั่วเอเชียจะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง แต่จำนวนประชากร และความต้องการของผู้ใช้ ที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เอเชียยังคงเป็นตลาดที่หอมหวน สำหรับผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคม

ด้วยเหตุผลเหล่านี้ ที่ไอทียูเลือกฮ่องกงเป็นสถานที่จัดงาน "ไอทียู เทเลคอม เอเซีย 2000" เพื่อแสดงทิศทางของเทคโนโลยีในอนาคต งานมีขึ้นระหว่างวันที่ 4-9 ธันวาคม ก่อนสิ้นสุดปี 2000 เพียงไม่กี่วัน

ไฮไลต์ของงานครั้งนี้ ยังคงพุ่งเป้าไป ที่บริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย "Wireless internet" ที่เป็นตัวบ่งชี้ถึงทิศทางโทรศัพท์เคลื่อนที่นับจากนี้ กำลังถูกเคลื่อนย้ายจากบริการด้านเสียงไปสู่บริการด้านข้อมูล และก้าวเข้าสู่โลกของมัลติมีเดียต่อไป โดยมีเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายยุค 3G เป็นแรงขับเคลื่อน

ระบบ WAP ที่เริ่มให้บริการในไทยเมื่อเดือนธันวาคม ที่ผ่านมา เป็นเพียงก้าว แรกๆ ของการเริ่มต้นของบริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย เวลานี้ WAP ก็ได้กลายเป็นมาตรฐานทั่วไป ที่กำลังถูกแทน ที่ด้วยระบบ GPRS ซึ่งจะทำให้ความเร็วในการส่งข้อมูลเร็วขึ้น มีความจุมากขึ้น หลายประเทศในเอเชีย เริ่มทดลองให้บริการ และอีก ไม่ช้าระบบ GPRS ก็จะกลายเป็นเรื่องธรรมดาสามัญไปแล้ว

นอกเหนือจากเครื่องลูกข่าย ที่ใช้ WAP ที่ผู้ผลิตทุกค่ายผลิตออกมาจำหน่ายอย่างแพร่หลาย เครื่องลูกข่าย ที่ใช้ระบบ GPRS ก็เริ่มทยอยเปิดตัวออกมา โดยที่concept หลักในการนำเสนอ ยังคงอยู่ ที่แนวคิดของการก้าวไปสู่ระบบ 3G เป็นหลัก

ผู้ผลิตจากค่ายยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น ต่างก็มีมาตรฐานของตัวเองในการเข้าสู่เทคโนโลยี 3G ผู้ผลิตจากอเมริกาเลือกมาตรฐาน cdma 2000 และ TDMA EDGE ในการเข้าสู่ 3G ส่วนค่ายญี่ปุ่น เลือกข้ามจากระบบ PDC ไปสู่ 3G ในขณะที่ ระบบจีเอสเอ็มของค่ายยุโรป เลือกมาตรฐาน WCDMA ในการเข้าสู่ 3G

ถึงแม้ว่า มาตรฐานเหล่านี้จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับแนวคิดของผู้ผลิตแต่ละค่ายจะคิดรูปแบบหรือวิธีการในการเดินไปสู่เป้าหมาย แต่โดยรวมๆ แล้ว เป้าหมายของผู้ผลิตเหล่านี้ไม่แตกต่างกันนัก นั่นก็คือ การทำให้โทรศัพท์เคลื่อนที่ให้บริการในลักษณะของมัลติมีเดียได้ "มันเป็นภาพพจน์ของผู้ผลิต ที่ต้องนำมาแสดง เพราะเทคโนโลยีมันยังเป็นแค่การเริ่มต้น" ผู้เข้าชมงานรายหนึ่ง ตั้งข้อสังเกต

ที่น่าสนใจ ก็คือ ผู้ผลิตอุปกรณ์จากประเทศญี่ปุ่น เพราะหลายปีที่แล้วผู้ผลิตจากญี่ปุ่นเหล่านี้ ต้องสูญเสียส่วนแบ่งตลาดในภูมิภาคเอเชียให้กับผู้ผลิตจากค่ายยุโรป จากการที่พวกเขาได้ตัด สินใจหันไปมุ่งเน้นเทคโนโลยีพีดีซี (Personal Digital Cellular) หรือบาง คนก็เรียกว่า JDC (Japan Digital Cellular) ซึ่งเป็นเทคโนโลยี ที่ใช้งานเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น การตัดสินใจก้าวเข้าสู่ 3G จึงเท่ากับเป็นการหวนคืนสู่สังเวียนนี้อีกครั้ง ที่สำคัญมีการประเมิน กันว่า ผู้ผลิตจากค่ายญี่ปุ่นอาจนำหน้าผู้ผลิตจากฝั่งยุโรปไปได้ก่อน

เทคโนโลยี ที่ผู้ผลิตจากค่ายญี่ปุ่น อาทิ เอ็นอีซี มิตซูบิชิ โตชิบา หรือแม้แต่พานาโซนิค ที่นำมาแสดงในวันนั้น ล้วนแต่เป็นการแสดงถึง concept ของ บริการ 3G เกือบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบเครือข่าย และเครื่องต้นแบบ ที่มีฟังก์ชั่นของการใช้งาน ที่สามารถดูหนังฟังเพลง รวมถึงโซลูชั่น ที่จะนำไปใช้ในธุรกิจ

ถึงกับมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า ความโดดเด่นของงานในปีนี้ เทไปอยู่ ที่ผู้ประกอบการจากฝั่งเอเชียมากกว่าจะเป็นจากฝั่งยุโรป หรืออเมริกา

แน่นอนว่า เอ็นทีที โดโคโม ยังคงเป็นพระเอกของงาน ซึ่งเป็นผลมาจากความสำเร็จของบริการ i-mode เอ็นทีที โดโคโม จึงได้รับความสนใจจาก ผู้เข้าชมงานอย่างคึกคัก และ ที่สำคัญในเดือนพฤษภาคม ที่จะถึงนี้ เอ็นทีที โดโคโม ก็กำลังจะเริ่มเปิดให้บริการ 3G ในประเทศ ญี่ปุ่น แซงหน้าผู้ผลิตจากค่ายยุโรป ที่ประมาณการไว้ว่า กว่าเทคโนโลยีจะพร้อม และ เปิดให้บริการระบบ 3G ได้ก็ต้องล่วงไปถึงปี 2545

บริการ 3G ที่เอ็นทีทีจะเปิดให้บริการนี้ จะให้บริการสื่อสารข้อมูลด้วยความเร็ว สูง ที่จะเอื้อต่อแอพพลิเคชั่นรูปแบบใหม่ๆ เช่น ส่งภาพดิจิตอล วิดีโอโฟน ซึ่งเอ็นทีที โดโคโม ให้ชื่อบริการว่า FOMA โดยบริการนี้จะใช้ร่วมกับอุปกรณ์ปลายทางอื่นๆ ได้ ด้วย โดยจะมี FOMA การ์ด ที่จะใช้กับอุปกรณ์อื่นๆ ได้

เทคโนโลยี ที่นำมาแสดงในงานส่วนใหญ่จะเน้นไป ที่ตัวโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใหม่ๆ ที่ยังคงให้ความสำคัญกับการออกแบบเครื่อง รูปลักษณ์ภายนอก เน้นในเรื่องของขนาด และความเบา สีสัน ที่ส่วนใหญ่จะมุ่งไป ที่โทนสีตะกั่ว และหน้าจอ ที่กว้างขึ้น เพื่อใช้ในเรื่องของการสื่อสารข้อมูล การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ต สิ่งที่เห็นเด่นชัดคือ ขีดความสามารถเรื่องของบริการ "ข้อมูล" ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเร็วในการรับส่งข้อมูล ความจุของข้อมูลระบบ WAP ที่เป็นมาตรฐานปกติ ที่บรรจุอยู่ในเครื่องรุ่นใหม่ๆ

ความบันเทิงจากเสียงเพลง ผ่านระบบ MP3 กลายเป็นฟีเจอร์ใหม่ ที่บรรจุอยู่ในโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใหม่ๆ ที่กำลังเข้ามาสร้างสีสันให้กับผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น ที่ซีเมนส์ รุ่น SL45 และซัมซุง ผู้ผลิตจากค่ายเกาหลี ที่มีเครื่องรุ่น SCH-M105 ที่สามารถดาวน์โหลดเพลงจากไฟล์ MP3 ได้เช่นกัน

โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ duo band กลายเป็นมาตรฐานปกติเช่นเดียวกับระบบ WAP วิวัฒนาการของโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใหม่ๆ จะถูกออก แบบให้ใช้งานได้ถึง 3 ความถี่ คือ 900 1800 และ 1900 จะเห็นได้จากเครื่อง บางรุ่นของผู้ผลิตจากฟากยุโรปอย่างอีริคสัน และซีเมนส์ ที่แสดงในงาน และวางจำหน่าย แล้วในยุโรป

รวมถึงแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นมากมาย ที่จะใช้ประโยชน์จากบริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจการเงิน ราคาของหุ้น อัตราแลกเปลี่ยน เกม รวมถึงฟีเจอร์ ที่จะใช้ประโยชน์ทางธุรกิจแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งเกิดมาจากการร่วมมือกับพันธมิตรในฟากของผู้ผลิตคอมพิวเตอร์

ปรากฏการณ์ ที่เห็นได้ชัดเจน ก็คือ ผู้ให้บริการด้านเนื้อหา หรือ content provider เป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญ ที่เกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับโมบายอินเทอร์เน็ต ซึ่งส่วนใหญ่จะพ่วงมากับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น smartone

ที่ขาดไม่ได้ ก็คือ แปซิฟิก เซ็นจูรี่ ไซเบอร์เวิร์ค ของริชาร์ด ลี ที่กำลังรุกธุรกิจในโลกของอินเทอร์เน็ตไร้สาย กว้านซื้อกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และอินเทอร์เน็ตไว้ในมือ จำนวนมากแล้ว งานนี้เคเบิลแอนด์ไวร์เลส ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่ง PCCW เพิ่งซื้อกิจการมาเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ยังถือโอกาสเซ็น สัญญากับ AIS เพื่อเปิดบริการ "WAP Roaming" เพื่อให้ลูกค้าใช้มือถืออิน เทอร์เน็ตใช้งานข้ามประเทศ โดยเสียค่าใช้จ่ายราคาค่าโทรศัพท์ของท้องถิ่น

และนี่ก็คือ เสี้ยวหนึ่งของวิวัฒนา การของเทคโนโลยี และแนวโน้ม ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตกับผู้ใช้บริการในไทย ไม่ช้าก็เร็ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us