Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2531
จากซื้อทุกอย่างกลายเป็นต้องทำทุกอย่าง             
 


   
search resources

ธนาคารแหลมทอง
สุระ จันทร์ศรีชวาลา
Banking and Finance




ดูเหมือนจะได้กลายเป็นประเพณีไปแล้วที่วันหนึ่งในรอบปี ชมรมประชาสัมพันธ์ธนาคารพาณิชย์ไทย ซึ่งเป็นชมรมของเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของ 16 แบงก์พาณิชย์สัญชาติไทยทั้งหลายจะจัดงานสังสรรค์กัน และถือโอกาสเชื้อเชิญบรรดาผู้สื่อข่าวเข้าร่วมและกระชับสายสัมพันธ์ด้วย

เย็นย่ำวันศุกร์ที่ 22 มกราคมที่ผ่านมาก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ชมรมเป็นเจ้าภาพจัดขึ้น

ปกติทุกๆ ปีก็จะมีแบงก์ๆ หนึ่งทำหน้าที่เป็นแกนจัดงาน และปีนี้เป็นปีที่ถึงคิวของธนาคารกรุงเทพ ส่วนสถานที่ก็เป็นที่ห้องจัดเลี้ยงขนาดกะทัดรัดของโรงแรมวินเซอร์ย่านสุขุมวิท ซึ่งเจ้าภาพคงพยายามจะฝึกความอดทนของแขกด้วยการจัดให้ห้องจัดเลี้ยงอยู่บนชั้นบนสุดของโรงแรม กว่าจะขึ้นไปถึงงานได้ก็ต้องฝ่าการจราจรที่คับคั่งบริเวณหน้าลิฟท์เล็กๆ น้อยๆ และยืนคอยลิฟท์อีกสักพักก่อนจะพาตัวเองเบียดเสียดเยียดยัดเข้าไปให้สำเร็จ

ถ้าเป็นนโยบายประหยัดเรียบง่ายไม่อู้ฟู่เกินตัวจนเสียสมดุลของความเป็นนักประชาสัมพันธ์แล้วก็ต้องถือว่าเป็นงานที่จัดกันใช้ได้

แม้ว่าจำนวนแขกผู้สื่อข่าวจะน้อยกว่าจำนวนแขกและเจ้าภาพที่เป็นคนแบงก์เถอะ

งานคืนนั้นนอกจากคนจากฝ่ายประชาสัมพันธ์ธนาคารต่างๆ แล้ว ผู้ใหญ่ของแบงก์หลายท่านก็ให้เกียรติมาร่วมงานด้วย

สุภชัย มนัสไพบูลย์ ย่อมต้องมาแน่นอนอยู่แล้วเพราะถ้าจะว่าไปก็มีฐานะเป็นแม่งานกลายๆ ในฐานะผู้ดูแลฝ่ายประชาสัมพันธ์ของธนาคารกรุงเทพที่เป็นแกนจัดงานครั้งนี้ ซึ่งปรากฎว่าอยู่ต้อนรับขับสู้ตั้งแต่เปิดงานจนปิดงานด้วยท่วงทำนองเป็นกันเองอย่างไร้ข้อตำหนิ

ปิยะบุตร ชลวิจารณ์ จากสหธนาคารมากับรังสิน สืบแสง

เพ็ญศรี แก้วเจริญ ภรรยา ศุกรีย์ แก้วเจริญ กับไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม จากไทยทนุ

วรวีร์ หวั่งหลี จากนครธน

ซึ่งแต่ละคนถูกห้อมล้อมโดยผู้สื่อข่าวมากหน้าหลายตาตามปกติ คือไหนๆ ก็พบกันแล้วถือเป็นโอกาสหาข่าวไปด้วย

งานเริ่มไปได้พักใหญ่ แขกอีกคนหนึ่งก็ก้าวเข้ามาในงานเป็นแขกจริงๆ เสียด้วย

เขามาจากแบงก์แหลมทองและเขาชื่อสุระ จันทร์ศรีชวาลา

ก็นับเป็นเรื่อง "เซอร์ไพรซ์" พอสมควรที่ทุกคนได้เห็นสุระในงานนี้

สุระอยู่ร่วมงานพักใหญ่ๆ ซึ่งทุกวินาทีหมดไปกับการเวียนไปโต๊ะโน้นโต๊ะนี้ที่ล้วนรายล้อมไปด้วยผู้สื่อข่าวจากหลายๆ ฉบับ

มีคำถามมากมายที่เขาถูกถามและมีคำตอบมากมายอยู่ตอบกลับไปจากปากของสุระ ซึ่งถ้าจะขมวดรวมแล้วก็อยู่ใน 2 ประเด็นใหญ่ๆ คือเรื่องหนี้ที่สุระมีอยู่กับกรุงไทย และสถาบันการเงินในเครือกับเรื่องแบงก์แหลมทองที่แม้ว่าฝุ่นจะจางลงไปมากแล้วแต่ก็ยังมีเรื่องที่จะต้องทำอีกไม่น้อย

สุระนั้นเข้ามาในแบงก์แหลมทองพร้อมๆ กับบอร์ดชุดใหม่และว่ากันว่า ประกายเพชร อินทุโสภณ จะลาออกจากโอสถสภาเต๊กเฮงหยูมาทำหน้าที่กรรมการผู้จัดการแทนสมบูรณ์ นันทาภิวัฒน์

แต่ปรากฏว่าเอาเข้าจริง ประกายเพชรไม่มา

มีการพูดถึงอีกหลายคนที่บอกกันว่าถูกทาบทามให้มานั่นเก้าอี้กรรมการผู้จัดการ

แต่ก็ยังไม่มีอะไรที่จะเป็นจริงเป็นจัง การบริหารงานจึงต้องทำโดยบอร์ดบริหารหรือถ้าจะบอกว่าสุระต้องรับภาระไปพลางๆ ก็คงจะไม่ผิด

หากมองกันว่าแหลมทองมีปัญหากองสุมไว้ในบอร์ดชุดใหม่มากมาย

ก็คงจะเป็นภาวะที่สุระจะต้องเหนื่อยต่อไปอีกไม่น้อย

เพราะแม้แต่งานประชาสัมพันธ์ สุระก็ต้องลงมือทำเอง แล้วจะไม่ให้เหนื่อยได้อย่างไร

"แต่ผมเชื่อมั่นมากที่ปีนี้จะทำให้แบงก์โตขึ้นมา 25%" สุระบอกกับ "ผู้จัดการ"

โดยเขาบอกว่าไม่ใช่เรื่องเหลือบ่ากว่าแรงมากมายอะไรเนื่องจากทรัพย์สินของแหลมทองก็เพียงราวๆ 5 พันล้านเท่านั้น

และเมื่อถามว่าจะให้ความสนใจธุรกิจใดเป็นพิเศษ เขาตอบอย่างฉับไวว่าหลักของเขาก็คือการปล่อยเงินให้กับธุรกิจรีบเอสเตทซึ่งเป็นงานที่เขาถนัดจัดเจนมากที่สุด

มีคนถามสุระว่าถึงวันนี้ยังเหนื่อยอยู่อีกไหม เขาตอบว่าถ้าเปรียบเทียบกับวันแรกที่เข้ามาในแบงก์แล้วก็เหนื่อยน้อยลงไปเยอะ

"วันนั้นถ้าผมระดมเงินเข้ามาไม่ทัน ป่านนี้เขายึดแบงก์ไปแล้วครับ ผมวันนั้นเรียกว่าถ้าต้องการเอาตัวเองไปจำนำเพื่อเอาเงินมาผมทำทั้งนั้น เอาเข้าวันเดียวรุ่งเช้าถอนออกก็ยังดีเพราะเขาจ้องผมมาก ผมระดมเงินไม่ทันผมซวย…" สุระเล่าโดยไม่ยอมบอกว่าใครคือเขา จะให้เดาว่าแบงก์ชาติก็ดูจะโหดร้ายไปหน่อยก็อย่าเดาดีกว่า

เอาเป็นว่าวันนี้ของสุระก็ยังคงเป็นสุระที่ยังเหนื่อยอยู่

และไม่มีใครรู้ว่าจะต้องเหนื่อยไปอีกกี่มากน้อย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us