Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน27 มีนาคม 2552
ลีเวอร์ฯอัด4ยุทธศาสตร์ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ ปรับแผนลุยระยะสั้นมั่นใจตลาดโต4-5%             
 


   
www resources

โฮมเพจ ยูนิลีเวอร์

   
search resources

เพาเวอร์บาย, บจก.
Consumer Products




แม่ทัพใหญ่ยูนิลีเวอร์ วางยุทธศาสตร์ 4 แนวทางฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ ปรับแผนโฟกัสระยะสั้นดันปริมาณการขายมากกว่ามูลค่า แตกไลน์สินค้าบน-ล่าง เน้นไซซ์ซิ่ง ควงคุณภาพสินค้าควบคู่ราคา รับเศรษฐกิจผันผวน-กำลังซื้อผู้บริโภคลดลง ชูภารกิจดันตลาดไทยอยู่ระดับแถวหน้าอาเซียน มั่นใจตลาดอุปโภคบริโภคไทยสิ้นปีโต 4-5%

นายบาวเค่อ ราวเออร์ส ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทยูนิลีเวอร์ ในประเทศไทย ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค เปิดเผยถึงยุทธศาสตร์การทำตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคในประเทศไทยภายหลังเข้ามารับตำแหน่งว่า บริษัทได้วางกลยุทธ์การตลาดในระยะสั้น เพื่อรองรับกับภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยและกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง ภายใต้ 4 แนวทางหลัก คือ 1.การสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้า 2.การบริหารต้นทุนสินค้าให้ลดลง 3.การวางตำแหน่งตลาดและขนาดสินค้าให้เหมาะสมกับผู้บริโภค และ4.การนำเสนอราคาสินค้าสู่ผู้บริโภคที่เหมาะสม

“วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก ประธานจากประเทศอังกฤษ ได้วางยุทธศาสตร์ให้ยูนิลีเวอร์ทุกประเทศโต้ตอบกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่ารีรอ แต่ขณะเดียวกันต้องมีความยืดหยุ่นด้วย”

นายบาวเค่อ กล่าวว่า การทำตลาดในไทยบริษัทขับเคลื่อนโดยการกระตุ้นให้เกิดปริมาณการขายมากขึ้น แต่ไม่เน้นในเรื่องของมูลค่า ภายใต้เน้นพัฒนาสินค้าให้มีความหลากหลาย ตอบสนองทั้งตลาดบนและล่าง เพื่อรองรับกำลังซื้อของผู้บริโภคจากภาวะเศรษฐกิจผันผวน ซึ่งอาจกระทบกับเซกเมนต์ใดเซกเมนต์หนึ่งเท่านั้น อีกทั้งมีการเพิ่มขนาดสินค้าให้หลากหลาย ตั้งแต่ขนาดใหญ่สอดคล้องกับกลุ่มผู้บริโภคที่มักซื้อสินค้าเพราะคุ้มค่ากับเม็ดเงิน กระทั่งขนาดเล็กสำหรับผู้ที่มีกำลังซื้อน้อย

และยังให้ความสำคัญเรื่องคุณภาพสินค้าควบคู่กับราคา เพื่อรองรับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มองหาสินค้าทั้งคุณภาพและราคาพร้อมกัน มากกว่าเน้นราคาแต่เพียงอย่างเดียว ตลอดจนการขยายแคธิกอรี่ใหม่ การเข้าใจพันธมิตรทางการค้า โดยเฉพาะร้านค้าต่างๆ เพราะมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา อีกทั้งยังมุ่งเน้นด้านการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพราะมองว่าวิกฤตเป็นโอกาส บริษัทจึงใช้งบการตลาดมากขึ้น ล่าสุดในเดือนเม.ย.นี้บริษัทเตรียมจัดแคมเปญช่วยชาติ และปีนี้ได้ทุ่มงบ 50 ล้านบาท ลงทุนระบบบำบัดน้ำเสีย ที่ โรงงานนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง

ภาพรวมตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา เติบโต 14% เพราะได้รับอานิสงส์จากเทศกาลปีใหม่และตรุษจีน แต่ในเดือนกุมภาพันธ์ พบว่าตลาดโตลดลง แต่คาดว่าภาพรวมทั้งปีตลาดเติบโต 4-5% ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา เพราะสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจมากนัก และเชื่อว่าผลพวงจากวิกฤตการณ์ทางการเงินสหรัฐอเมริกา ไม่ส่งผลกระทบต่อไทยในภาพรวมมากนัก เพราะมีรากฐานที่แข็งแกร่ง โดยไทยได้รับผลกระทบด้านการส่งออกเป็นหลักมากกว่า

นายบาวเค่อ กล่าวต่อว่า ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย ปัจจุบันมีความแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับ 110 ประเทศที่บริษัทแม่เข้าไปลงทุน จาก3 ปัจจัยหลัก คือ 1.การกระจายสินค้าไปยังร้านค้าต่างๆทั่วประเทศ 2.การบริหารด้านการจัดการและต้นทุนและบริหารตรงเวลา 3.กิจกรรมเพื่อมีส่วนร่วมรับผิดชอบสังคม(ซีเอสอาร์) ที่สนับสนุนให้บริษัทมีการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยในปีที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้ 3 หมื่นล้านบาท

สำหรับการเข้ารับตำแหน่งบริหารสูงสุดในประเทศไทยครั้งนี้ ถือว่าเป็นความท้าทาย เพราะตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคแข่งขันอย่างรุนแรง จากการมีผู้ประกอบการรายใหญ่เข้ามาทำตลาดหลายราย อย่างไรก็ตามตนเองมีประสบการณ์ด้านบริหารธุรกิจกลุ่มอาหารในอเมริกามาก่อนหน้านี้ การเข้ามาบริหารสินค้าทั้งอุปโภคบริโภคในไทย เชื่อว่า ตลาดอุปโภคไม่ได้มีความแตกต่างจากตลาดบริโภค แต่ความท้าทาย คือ การเป็นที่ 1 ชนะใจทั้งผู้บริโภค คู่ค้าและชุมชน และประการสำคัญ คือ การพัฒนาตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคไทยให้อยู่ระดับแนวหน้าในอาเซียน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us