Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน25 มีนาคม 2552
ธปท.หวั่นสหรัฐฉุดศก.ไทยขาดดุลเดินสะพัด-NPLพุ่ง             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Economics




บิ๊กแบงก์ชาติแจงเหตุผลเตรียมปรับลดประมาณการ์เศรษฐกิจปี 52 เหตุปัญหาเศรษฐกิจโลกรุมเร้าส่อเค้ารุนแรงสุดในรอบ 70 ปี ชี้ปัญหาซับซ้อนในภาคการเงิน-ภาคเศรษฐกิจ ภาวนาขออย่ายืดเยื้อจนกระทบขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและการก่อตัวของหนี้เสียรอบใหม่ ชี้ขึ้นกับฝีมือรัฐบาล ขณะที่ผู้บริหารทีมนโยบายการค้าและเงินทุนของ ธปท.เชื่อเศรษฐกิจไทยยังมีหวังฟื้นตัวได้ในปีหน้า ห่วงแค่บริษัทขนาดกลาง-เล็ก ระบุปีนี้เป็นปีแห่งการประคองตัวเองให้ผ่านพ้นปัญหาไปให้ได้

วานนี้ (24 มี.ค.) นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวบรรยายพิเศษในหัวข้อ“มาตรการการเงินและสถาบันการเงินไทยในภาวะวิกฤตการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน" ว่า อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) จะติดลบตามภาวะเศรษฐกิจโลก เพราะปัญหาวิกฤติในระดับโลกค่อนข้างหนักและมีความรุนแรงจากที่สหรัฐเคยประสบมาในช่วง 70 ปี โดยคาดว่า การปรับคาดการณ์จีดีพีปี 52 ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งต่อไปน่าจะออกมาลดลงจากเดิมที่คาดการณ์ไว้ในระดับ 0-2% เนื่องจากเมื่อเทียบกับการประชุม กนง.ครั้งก่อน ภาวะเศรษฐกิจช่วงนี้มีข้อมูลหลายด้านที่แย่ลง โดยเฉพาะจีดีพีไตรมาส 4/51 ที่ขยายตัวติดลบ และสถานการณ์ล่าสุดในเดือน ม.ค.-ก.พ.52 ยังไม่ดีขึ้น

"ยอมรับว่าตัวเลขแสดงถึงการชะลอตัวต่อเนื่องจากไตรมาส 4/51 การแก้ไขต้องทำต่อไป ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนในหลาย ๆ เรื่อง คาดการณ์ว่าจีดีพีน่าจะต่ำกว่าเดิม และหลายสำนักมองในแง่ร้ายมากกว่าต้นปี" นายบัณฑิตกล่าวและว่า เศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกในช่วงปี 52-53 ส่วนจะฟื้นตัวได้เมื่อใดขึ้นกับความสามารถในการดูแลปัญหาและการประคับประคองและการปรับตัว

"ปัญหาครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องเล็ก และมีความซับซ้อนของปัญหามาก และเป็นปัญหาจากภาคเศรษฐกิจจริงและสถาบันการเงิน เศรษฐกิจโลกที่ยืดเยื้อมา 18-19 เดือนแล้วกระทบต่อไทย เนื่องจากทำให้เงินลงทุนต่างประเทศไหลกลับ เงินบาทอ่อนค่า และกดดันราคาสินค้าส่งออกให้ลดลง และที่เห็นได้ชัดเจนคือดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งในปี 51 ลดไป 43% และปีนี้ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันลดไปอีก 3%"

อีกทั้งยังมีผลกระทบสภาพคล่องในประเทศทำให้เข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ยากขึ้น และจากที่บริษัทเอกชนต้องหันมาระดมในประเทศมากขึ้น แต่สภาพคล่องในไทยไม่ถึงกับมีปัญหา เพราะภาคครัวเรือนยังมีสภาพคล่อง รวมทั้งมีการอัดฉีดผ่านธปท. และการใช้จ่ายของภาครัฐ โดยขณะนี้สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก รวมตั๋วแลกเงินในเดือน ก.พ. อยู่ที่ 85.2%

สำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ย คงขึ้นกับการปรับตัวของแต่ละธนาคาร แต่ตนเห็นว่าดอกเบี้ยเงินฝากปรับลดลงมากเพียงพอกับภาวะเศรษฐกิจแล้ว การฝากเงินของเอกชนยังเป็นเสาหลักของสภาพคล่องในประเทศ การปล่อยสินเชื่อขึ้นกับสภาพคล่องที่มี เชื่อว่าจะทำให้เกิดการแข่งขันให้เกิดดอกเบี้ยเงินกู้ สเปรดดอกเบี้ยน่าจะลดลง ทำให้ธนาคารพาณิชย์สามารถลดดอกเบี้ยเงินกู้ได้บ้างในบางประเภท

นายบัณฑิตย้ำว่า นโยบายของภาครัฐมุ่งมั่นจะช่วยเหลือในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในขณะนี้ แต่การใช้มาตรการต่าง ๆ ที่ผ่านมายังแค่ช่วยบรรเทาปัญหา ซึ่งในส่วนของ ธปท.ก็ได้ทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องปรับลดดอกเบี้ยตาม ก็จะส่งผลให้ภาคธุรกิจมีช่องทางมากขึ้น และสนับสนุนการใช้จ่ายภายในประเทศ

***หากยืดเยื้อไทยขาดดุลเดินสะพัด

นายบัณฑิตกล่าวว่า หากเศรษฐกิจโลกยังยืดเยื้อก็จะกระทบกับระดับเงินทุนเคลื่อนย้าย ซึ่งหากส่งออกแย่ลงด้วยก็อาจจะเห็นดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล จากขณะนี้ที่ยังเกินดุลอยู่ โดยอาจจะกระทบกับเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ ส่งต่อไปยังภาพเศรษฐกิจโดยรวมให้ชะลอตัวลง กระทบการใช้จ่าย ซึ่งมีผลต่อการชำระหนี้ภาคธุรกิจ เร่งการก่อตัวของหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ในที่สุดจะกระทบกับฐานะธนาคารพาณิชย์ หากเศรษฐกิจชะลอตัว ผลกระทบอันดับหนึ่งคือความสามารถของการทำกำไรของภาคธุรกิจก็จะลดลง และกระทบต่อการชำระหนี้ของภาคธุรกิจ ซึ่งจากการศึกษาของ ธปท.พบว่าหากเศรษฐกิจชะลอตัว NPL จะเร่งตัวขึ้น โดย 2 เดือนแรกของปีนี้ NPL เร่งตัวขึ้นสูงมาอยู่ที่ 5.9% ของสินเชื่อรวม จาก 5.6% ณ สิ้น ธ.ค.51 หรือคิดเป็นเม็ดเงิน 1.6 หมื่นล้านบาท ขณะที่พบว่า NPL สินเชื่อส่วนบุคคลก็เร่งตัวขึ้นเช่นกัน

ช่วงต่อไปคือการบริหารจัดการ NPL ซึ่งมองว่าธนาคารพาณิชย์อยู่ในวิสัยที่จัดการได้ และส่วนใหญ่ก็ปรับตัวด้วยการให้ความสำคัญกับการดูแลลูกหนี้ ลดเป้าการเติบโตสินเชื่อปีนี้ตามเศรษฐกิจชะลอตัว รวมถึงระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อใหม่ และดูแลลูกค้าเก่า โดยมีการปรับลดวงเงินสินเชื่อ ตั้งสายงานปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยเฉพาะเข้ามาเสริม เพื่อช่วยเหลือและดูแลลุกหนี้ได้ดีขึ้น ธปท.เองก็ช่วยธนาคารพาณิชย์ด้วยการให้นับ NPL เป็นรายบัญชี แทนที่จะนับทั้งบริษัท และให้ธนาคารพาณิชย์สามารถแก้ไขลูกหนี้ที่มีศักยภาพด้วยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตั้งแต่ยังไม่เกิดปัญหา NPL

"หนี้เสียจะเร่งตัวขึ้น 2 หลักหรือไม่ขึ้นกับสภาพเศรษฐกิจ หากสามารถประคับประคองเศรษฐกิจไม่ให้แย่ลง ก็น่าจะดูแลได้ ตอนนี้แบงก์ก็ดูแลให้ความสำคัญกับลูกค้ากลุ่มผลิตที่โยงกับการส่งออก และการบริการ เพื่อให้มีศักยภาพในการปรับตัวได้เพราะเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อหนี้เสีย" นายบัณฑิตกล่าว

***"กอร์ปศักดิ์" ห่วงบริษัทขนาดกลาง-เล็ก

วันเดียวกัน นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้บริหารทีมนโยบายการค้าและเงินทุน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยภายในงานเสวนาหัวข้อ “โคตรวิกฤต ความเสี่ยงเศรษฐกิจ : ถึงเวลาเผชิญหน้าความจริง” ซึ่งจัดโดยหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจว่า วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นในขณะนี้รุนแรงที่สุดในรอบ 80 ปีที่ผ่านมาของสหรัฐ แต่เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น และปัญหายังอีกยาวไกลกว่าจะถึงจุดจบ ดังนั้น กว่าสหรัฐอเมริกาจะฟื้นตัวได้เต็มที่ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3-5 ปี ซึ่งในส่วนของไทยเองคาดว่าจะฟื้นตัวได้ภายในปีหน้า โดยในขณะนี้ทำได้เพียงประคับประคองตัวเองและบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นให้ผ่านพ้นในช่วงปลายปีนี้ไปได้

ทั้งนี้ ขณะนี้สภาพคล่องในตลาดโลกมีการปิดตัวเอง ทำให้บริษัทขนาดใหญ่ของไทยเริ่มหันมาพึ่งสภาพคล่องในประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะวิธีการออกหุ้นกู้ เพื่อดูแลธุรกิจของตัวเอง แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ หากสภาพคล่องในระบบหมดไป บริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กที่ตอนนี้ธนาคารพาณิชย์ไม่ค่อยปล่อยกู้อาจได้รับผลกระทบไปอีก อย่างไรก็ตาม แม้ปัญหาสภาพคล่องในระบบขณะนี้ไม่ได้ร้ายแรงเท่าปี 40 แต่ภาครัฐควรหามาตรการรับมือสภาพคล่องในระบบที่อาจหดหายในอนาคต เพราะไม่รู้ว่าปัญหาสภาพคล่องที่เกิดขึ้นจะรุนแรงหรือลุกลามได้แค่ไหน

“เศรษฐกิจโลกมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยหลายช่องทางทั้งการส่งออก การท่องเที่ยว การกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ ความเชื่อมั่น เงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ และดัชนีตลาดหุ้นให้ลดลง แต่ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาปัญหาลุกลามผ่านราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ การส่งออกน้อยลง และเริ่มมีปัญหาสภาพคล่องในระบบ ทำให้เกิดปัญหาความเชื่อมั่นตามมา”นายกอบศักดิ์กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us