|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ซีพีอาร์ โกมุ รับวิกฤตเศรษฐกิจกระทบธุรกิจยานยนต์ ส่งผลต่อยอดสั่งซื้อชิ้นส่วนประกอบรถยนต์และรถจักรยานยนต์ทรุด คาดยอดขายปีนี้หดถึง 35% จากปีก่อนที่ทำไว้ 2.7 พันล้านบาท เน้นเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตคุณภาพสูงเพื่อให้ต้นทุนต่ำ หวังอัตรากำไรสุทธิขยับเพิ่มอีก 2% อ่อยไตรมาสแรกปีนี้ขาดทุนเหตุค่าใช้จ่ายสูงจากการจ่ายชดเชยพนักงานที่ปลดออก
นายโทโมฮิสะ โอโนะ ประธาน บริษัท ซีพีอาร์ โกมุ อินดัสเตรียล จำกัด (มหาชน) หรือ CPR เปิดเผยว่า บริษัทคาดยอดขายปีนี้ลดลง 35% จากปีก่อนที่มียอดขาย 2.7 พันล้านบาท จากผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจโลกส่งผลต่อธุรกิจกลุ่มยานยนต์ให้มียอดการสั่งซื้อที่ลดลง ซึ่งบริษัทยังคงเน้นการเพิ่มอัตรากำไรสุทธิ ( Net Profit Margin) ขึ้นอีก 1-2% จากปีก่อนที่มีอัตรากำไรสุทธิที่ 8% โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อให้ต้นทุนลด
ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานช่วงไตรมาสแรกปีนี้ เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 51 ที่ผ่านมา ซึ่งบริษัทยอมรับว่าจะมีผลขาดทุนแน่นอน เนื่องจากบริษัทมีค่าใช้จ่ายสูงมาก จากการจ่ายเงินชดเชยให้พนักงานที่ปลดออกไป ทั้งในส่วนของพนักงานประจำและพนักงานชั่วคราว ซึ่งปรับลดพนักงานของบริษัทนั้นได้ดำเนินการไปตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ โดยได้ปลดพนักงานในส่วนของพนักงานประจำไป 25 คน และพนักงานชั่วคราว 40 คน ซึ่งการปรับลดพนักงานครั้งนี้บริษัททำตามแรงบีบคั้นของวิกฤตเศรษฐกิจที่ทำให้ยอดการสั่งซื้อลดลง คาดว่าแนวโน้มต่อจากนี้บริษัทจะมียอดการผลิตและยอดการสั่งซื้อเพิ่มขึ้นและไม่แย่เหมือนที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าบริษัทจะลดจำนวนพนักงานลงแต่กำลังการผลิตไม่ได้ลดลงตาม ขณะที่ต้นทุนลดลง
โดยประเมินว่ายอดขายไตรมาสแรกปีนี้จะตกลง 50% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อธุรกิจกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ และในฐานะที่บริษัทประกอบธุรกิจเกี่ยวกับผู้ผลิตและจำหน่ายชิ้นส่วนยางล้วนและยางติดเหล็กที่เป็นส่วนประกอบของรถยนต์และรถจักรยานยนต์ทั้งภายในและต่างประเทศ โดยจำหน่ายให้แก่บริษัทผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์นิสสันเป็นหลัก รวมถึง ยามาฮา ซูซูกิ ฟอร์ด มาสด้า มิตซูบิชิ และตรีเพชรอีซูซู
" เราคาดว่าสถานการณ์ตอนนี้มาถึงจุดต่ำสุดแล้ว สำหรับธุรกิจของวงการยานยนต์ เราจึงมองว่ากำลังจะมีการปรับตัวดีขึ้น แต่ก็คงไม่ได้ฟื้นตัวเร็วนัก หรือถ้าฟื้นก็คงยังฟื้นตัวได้ไม่ดีเท่าปีที่แล้ว และเรามองว่าธุรกิจของบริษัทจะยังไม่สามารถทำยอดขายได้ดีเท่าปีที่แล้วแต่ก็ไม่แย่ไปกว่าที่จุดต่ำสุดที่เคยผ่านมาเมื่อปีที่แล้ว" นายโทโมฮิสะ กล่าว
อย่างไรก็ตาม วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นบริษัทได้รับผลกระทบในส่วนของออร์เดอร์ที่ลดลง ตามผู้ผลิตรถยนต์ที่ลดกำลังการผลิต ซึ่งบริษัทได้ปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการเพื่อรับมือกับสถานการ์ที่เกิดขึ้น โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สูงกว่าเดิมที่เป็นอยู่ ถึงแม้จะมีจำนวนออร์เดอร์ที่ลดลง ก็ยังส่งผลต่อต้นทุนการผลิตที่ลดลงได้เช่นกัน และการเพิ่มยอดขายให้สูงขึ้น โดยการลดต้นทุนให้ต่ำและเพิ่มคุณภาพให้สูงขึ้น เพื่อเป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันกับคู่แข่งและเพิ่มยอดขายให้กับบริษัทอีกด้วย
ทั้งนี้ แผนการลดต้นทุนให้ต่ำของบริษัทที่จะมีการดำเนินการนั้นทำโดย การย้ายฐานการผลิตจากเดิมที่มีฐานการผลิตอยู่ในประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ก็มีการปรับเปลี่ยนย้ายฐานการผลิตมาในประเทศไทยแทน เพื่อลดต้นทุนเพราะการผลิตในไทยมีต้นทุนต่ำ สำหรับแผนงานนี้ในส่วนของการนำชิ้นส่วนเข้ามาที่ถือเป็นขั้นตอนแรก บริษัทได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว ซึ่งยังคงเหลือในส่วนของการเริ่มผลิต(Mass Production) ที่รอการดำเนินการอยู่ โดยคาดว่าจะสามารถเริ่มได้ช่วงเดือนสิงหาคม
|
|
|
|
|