Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน26 มีนาคม 2552
เผย 5 อุตฯไทยโตสวนกระแส จี้ปั้นแรงงานยอดฝีมือป้อนด่วน             
 


   
search resources

Commercial and business
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม




กสอ. เผย 5 อุตสาหกรรมไทย ได้แก่ นุ่งห่ม เครื่องปรับอากาศ รองเท้า แม่พิมพ์ และซอฟต์แวร์ โตสวนกระแส ต้องการแรงงานฝีมืออีกกว่า 20,000 คน จี้เร่งสร้างแรงงานยอดฝีมือ ผลักดันเข้าสู่อุตสาหกรรมเหล่านี้

นายปราโมทย์ วิทยาสุข อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมสมองระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรม โดย กสอ. กับภาคเอกชน เพื่อร่วมกันแก้วิกฤตเศรษฐกิจ พบว่า แม้หลายธุรกิจจะเกิดการจ้างงาน แต่ยัง 5 อุตสาหกรรม ที่ยังเติบโตได้ดี แถมยังต้องการแรงงานฝีมือเพิ่ม ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องปรับอากาศ รองเท้า แม่พิมพ์ และอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์สมองกล/แอดิเมชั่น

ในขณะนี้ กลุ่มที่ต้องการแรงงานฝีมือมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ต้องการแรงงานถึง 12,900 คน ตามด้วยช่างติดตั้งเครื่องปรับอากาศประมาณ 1,000 คน อุตสาหกรรมรองเท้า ประมาณ 3,000 คน อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ประมาณ 3,000 คน ส่วนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ และแอนิเมชั่น 3,000 คน รวมแล้วในเบื้องต้น ใน 5 อุตสาหกรรมดังกล่าว มีความต้องการแรงงานมากถึง 20,000 – 30,000 คน

สำหรับปัญหาการขาดแคลนแรงงานฝีมือ จำเป็นต้องได้รับแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน ไม่เช่นนั้น ประเทศไทยจะเสียโอกาสในตลาดต่างประเทศที่ยังมีความต้องการสินค้าจากประเทศไทย โดยเฉพาะสิ่งทอส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น หากไม่มีแรงงานฝีมือเข้ามาทำงานอย่างเร่งด่วนจะทำให้ออเดอร์ ลดลงกว่า 10%

“สาเหตุที่สินค้าจากประเทศไทยยังเป็นที่ต้องการของตลาดโลก เพราะคุณภาพเป็นที่ยอมรับ เช่น รองเท้า ประเทศไทยสามารถผลิตได้คุณภาพดี ระดับเทียบเท่ากับประเทศในแถบยุโรป หรือสหรัฐอเมริกา จะเห็นได้ว่า ลูกค้าที่เคยซื้อสินค้าจากจีน เปลี่ยนมานำเข้าสินค้าจากประเทศไทยแทน” นายปราโมทย์ ระบุ

ดังนั้น จึงความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องพัฒนาบุคลากรทั้งที่ถูกเลิกจ้าง และนักศึกษาจบใหม่ เพื่อยกระดับเป็นแรงงานที่มีศักยภาพ ตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรมที่ยังมีโอกาสเติบโต เช่น ผู้ถูกเลิกจ้างในภาคอิเล็กทรอนิกส์ สามารถเพิ่มศักยภาพเพื่อกลับเข้าสู่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์สมองกลหรือแอดิเมชั่นได้ เพื่อให้อุตสาหกรรมเหล่านั้น เป็นพลังขับเคลื่อนธุรกิจในยามวิกฤต และพร้อมที่จะเติบโตได้ทันทีเมื่อเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว

นายปราโมทย์ ระบุด้วยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมเตรียมเสนอของบประมาณ เพื่ออบรมแรงงานฝีมือระยะเร่งด่วน คาดใช้งบประมาณ 10,000 บาทต่อคน โดยใช้เวลาฝึกอบรมประมาณ 1 เดือน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us