Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2531
สว่าง ทั่งวัฒโนทัย "คนดูแลซิตี้โน้ต (CITI NOTE) ของซิตี้แบงก์             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารซิตี้แบงก์

   
search resources

ธนาคารซิตี้แบงก์
สว่าง ทั่งวัฒโนทัย
Interest Rate




คนที่สนใจแวดวงในธุรกิจการเงินการธนาคาร หลายคนคงรู้จักผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งของซิตี้แบงก์ ที่เรียกว่า ซิตี้ โน้ต (CITI NOTE) ว่าคืออะไร? แต่อีกจำนวนไม่น้อย "ผู้จัดการ" เชื่อว่า คงไม่มีใครรู้ว่า บุคคลที่อยู่เบื้องหลังการออกซิตี้โน้ตและบริหารซิตี้โน้ตเป็นใคร?…และเขาผู้นั้นใช้ "เทคนิค" การบริหารซิตี้โน้ตอย่างไร?

สว่าง ทั่งวัฒโนทัย คือ "เขา" คนนั้น จบ MBA จากโอคลาโฮมา สเตทยูฯ ผู้ใช้เวลา 5 ปี ในเครือข่ายซิตี้คอร์ป กว่าจะได้โปรโมทเป็นเจ้าหน้าที่ระดับผู้บริหารยศชั้น A.V.P. คุมสายงานด้านตลาดเงิน ซึ่งเป็นสายงานหนึ่งใน 4 สายงานของฝ่ายวาณิชธนกิจ (INVESTMENT BANK DEPT.) ของซิตี้แบงก์

สว่างเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า ไอเดียการออกซิตี้โน้ตนี้ซิตี้แบงก์เมืองไทยเอามาจากสาขาในออสเตรเลีย "มันมีความสำคัญในฐานะเป็นเครื่องมือการระดมเงินบาทระยะสั้น (3 เดือน) อัตราดอกเบี้ยตายตัว เพื่อนำไปปล่อยต่อให้แก่ลูกค้าที่มาใช้บริการ HEDGING PRODUCTS ของแบงก์หรืออาจเอาไปปล่อยกู้ระยะสั้น โดยแบงก์จะสามารถทำกำไรได้จากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินบาทกับดอลลาร์ที่เรียกว่า "GAPPING"

วิธีการหากำไรจาก GAPPING ทำอย่างไร? ก็เห็นจะต้องบอกว่าอย่างนี้…

สมมติวันนี้ซิตี้แบงก์ประมูลขาย CITI NOTE 3 เดือนได้ในอัตราดอกเบี้ย 6.9% วันรุ่งขึ้นมีลูกค้ามาขอซื้อดอลลาร์ล่วงหน้า 3 เดือน ซิตี้แบงก์ก็จะเอาเงินบาทที่ระดมได้จากการประมูลขาย CITI NOTE นี้มา CONVERSE กลับเป็นดอลลาร์ขายให้ลูกค้า ส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยเงินบาท (3 เดือน) กับดอกเบี้ยดอลลาร์ (3 เดือน) ที่เรียกว่า GAPPING นี้ก็คือ RATE การขายดอลลาร์ล่วงหน้านั่นเอง ซึ่งคิดจากหนึ่ง - ค่าเงินบาทระดับ SPOT RATE สมมติให้เท่ากับ 25.36 บาท สองอัตราดอกเบี้ย 3 เดือนของดอลลาร์ 7.30% และสาม - อัตราดอกเบี้ย CITI NOTE = 6.9% ดังนั้น กำไรจาก GAPPINT ก็คือ 7.30-6.90% = 0.40% หรือค่าดอลลาร์ล่วงหน้า 3 เดือน เมื่อเทียบกับบาทคือ 25.40% บาท/ดอลลาร์

กำไรจากการเอา CITI NOTE มาปล่อยต่อในรูปบริการด้าน HEDGING PRODUCTS แก่ลูกค้านี้ สว่างกระซิบให้ฟังว่า เป็นดอกผลที่สำคัญมากของ INVESTMENT BANK ของซิตี้แบงก์!

ดอกผลที่ว่านี้จะถึง 1 ล้านเหรียญ หรือไม่นั้น สว่างไม่ได้บอก แต่ที่รู้มา ซิตี้แบงก์ค่อนข้างจะพออกพอใจกับผลงาน CITI NOTE ที่สว่างดูแลอยู่นี้เอามากๆ…

เส้นทางอนาคตของสว่างทั่งวัฒโนทัย ในซิตี้แบงก์จะขึ้นเป็น V.P. อย่างที่นพพร พงษ์เวช เคยเป็นมาก่อนหน้านี้หรือไม่ "ผู้จัดการ" ไม่ทราบ แต่อยากจะให้ผู้ใฝ่รู้และสนใจในธุรกิจการธนาคารระดับมือเซียนๆ ได้จับตาดูบทบาทของเขาต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us