Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2531
นารายณ์ภัณฑ์ - เดอะมอลล์ The Rise AndThe Fall ผนึกกำลัง             
 


   
www resources

โฮมเพจ The Mall Group (เดอะมอลล์กรุ๊ป)

   
search resources

เดอะมอลล์กรุ๊ป
นารายณ์ภัณฑ์
มานิต รัตนสุวรรณ
Commercial and business




เรื่องของนารายณ์ภัณฑ์และเดอะมอลล์ที่จับมือกันเปิดโครงการศูนย์หัตถกรรมสินค้าไทย ดูจะเป็นตัวอย่างของการปรับตัวของธุรกิจที่มีจุดเริ่มต้นต่างกันเป็นคนละเรื่อง

นารายณ์ภัณฑ์จนถึงปีนี้เป็นปีที่ 51 นับจากปี 2480 ที่เริ่มก่อตั้งในชื่อร้านไทยอุตสาหกรรม ที่อยู่ภายใต้การบริหารงานของกองอุตสาหกรรม กระทรวงเศรษฐการ การเจริญเติบโตเป็นฉันใดคงไม่ต้องเอ่ยอ้างอีก

แม้ในปี 2505 จะย้ายมาขึ้นกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกระทรวงอุตสาหกรรม ก็หาได้ทำให้ผลประกอบการของนารายณ์ภัณฑ์ดีขึ้นอย่างที่ควรจะเป็นก็หาไม่

จนขวบปีที่ 47 ของนารายณ์ภัณฑ์จึงได้เกิดปรากฎการณ์ประหลาดที่ไม่เกิดบ่อยนัก กระทรวงอุตสาหกรรมก็หาได้ทำให้ผลประกอบการของนารายณ์ภัณฑ์ดีขึ้นอย่างที่ควรจะเป็นก็หาไม่

จนขวบปีที่ 47 ของนารายณ์ภัณฑ์จึงได้เกิดปรากฎการณ์ประหลาดที่ไม่เกิดบ่อยนัก กระทรวงอุตสาหกรรม สมัย อบ วสุรัตน์ เป็นรัฐมนตรี ประกาศ "ปรับปรุงการดำเนินงานของนารายณ์ภัณฑ์ ให้มีลักษณะเป็นธุรกิจเพื่อให้สามารถสนองนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมอุตสาหกรรมภายในครอบครัว"

นารายณ์ภัณฑ์ถูก อบ วสุรัตน์ PRIVATIZATION เข้าสู่อ้อมอกเอกชนไปในที่สุด

ปี 2528 เป็นปีแรกที่เอกชนแสดงศักยภาพให้เห็นตามทฤษฎีที่ว่า "ไม่มีกิจการแสวงหากำไรสูงสุดใดที่ราชการทำได้ดีเท่าเอกชน"

สุภีร์ สนิทวงศ์ เป็นกรรมการผู้จัดการคนแรกหลังการเปลี่ยนโฉม โดยเอกชนถือหุ้น 70% ในขณะที่กระทรวงอุตสาหกรรมถือเพียง 30% ที่เหลือ

ปี 2529 อภิชัย จันทรเสน ก็ก้าวขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการคนที่สอง

ผลจากการที่เอกชนเข้าบริหาร ได้มีการขยายสาขาออกไปมากมายจากที่หลานหลวงเพียงแห่งเดียว ก็ขยายไปที่โซโก้ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ เพนนินซูลาพลาซ่า ร้านค้าปลอดภาษีของการบินไทยที่สีลม และที่พาต้าอินทรา

นอกจากนี้ยังขยายไปต่างจังหวัด ที่เชียงใหม่ ร้านค้าปลอดภาษีที่ภูเก็ต ในโรงแรมเมอริเดียนและที่พัทยาในโรงแรมรอยัลคลิฟ

ปีนี้เป็นปีเติบโตแบบก้าวกระโดดของนารายณ์ภัณฑ์อย่างเห็นได้ชัด "เราจะร่วมกับทางเดอะมอลล์เปิดศูนย์หัตถกรรมสินค้าไทยที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ เป็นนารายณ์ภัณฑ์พาวิลเลี่ยน" กรรมการผู้จัดการนารายณ์ภัณฑ์บอกถึงจังหวะก้าวล่าสุด

นารายณ์ภัณฑ์เริ่มต้นจากระบบราชการแล้วไม่ประสบความสำเร็จ แต่กลับมีชีวิตชีวาเอามากๆ เมื่อเอกชนเข้ามาเทคโอเวอร์

ช่างแตกต่างเป็นตรงข้ามกับเดอะมอลล์ 1 ที่ราชดำริเสียเหลือเกิน

เดอะมอลล์เป็นห้างสรรพสินค้าที่เกิดจากการจับมือของภัทรประสิทธิ์และอัมพุชที่ดองกันโดยเกิดขึ้นเมื่อ 6 ปีที่แล้ว

สมัยนั้นแถวราชดำริยังเป็นทำเลทอง จะมีก็แต่เพียงไทยไดมารู ซึ่งนับวันมีแต่จะโรยรา และเซ็นทรัล ชิดลม ที่ไม่รุ่งเรืองมากๆ อย่างที่จิราธิวัฒน์คิด เดอะมอลล์ในช่วงนั้นก็เลยตักตวงกำไรอย่างสนุกสนาน "ตอนนั้นว่ากันว่าเขาขายพื้นที่ 100 ยูนิต ได้ภายใน 3 วัน หลังเปิดจอง ขึ้นหรือไม่ขึ้นผมต้องบอกไหม" คนวงการห้างสรรพสินค้าทวนอดีตให้ฟัง

อัมพุชเองก็หวังว่าราชดำริคงจะเป็นทำเลทองให้ตนเก็บเกี่ยวตลอดไป แต่เป็นธรรมดาของเมืองไทยอยู่เอง ธุรกิจใดที่ทำกำไรดีมักจะมี NEW COMER เข้ามาอยู่เรื่อยๆ ช่วงปี 2527 ห้างสรรพสินค้าในย่านใกล้เคียงผุดขึ้นมามากมาย มากเสียจนอัมพุชต้องหาทำเลทองใหม่ให้เดอะมอลล์

อัมพุชไปเบิกเดอะมอลล์ที่รามคำแหง ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้ละเลยเดอะมอลล์ที่ราชดำริ

เดอะมอลล์ที่ราชดำริได้รับการปรับโฉมเป็น "โมเดอร์นคอมเพล็กซ์" เน้นบูติก แต่ช่างเป็นโชคร้ายเสียนี่กระไร บูติกตลาดล่างก็บูมตามและฟาดฟันโมเดอร์นคอมเพล็กซ์เสียอยู่หมัด

มาถึงวันนี้ เดอะมอลล์ต้องมาคิดถึงอนาคตของตัวเองแล้วเพราะ "ก็อยู่ในสภาพที่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงมาก ห้างเก่าที่มีอยู่ก็มากมาย แถมยังจะมีเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ที่กำลังจะเปิดที่จอดรถเราก็ไม่มี พื้นที่ก็ขยายไม่ออก" ศุภลักษณ์ อัมพุช ลูกสาวคนเก่งของศุภชัย อัมพุช เจ้าของห้างเดอะมอลล์ระบายให้ฟัง

เดอะมอลล์จึงต้องวางตำแหน่งตัวเองใหม่ "เราตกลงใจที่จะร่วมกับทางนารายณ์ภัณฑ์เปิดเป็นนารายณ์ภัณฑ์พาวิลเลี่ยน" ศุภลักษณ์ บอก

ว่าไปแล้วก็เป็นทางออกของทั้ง 2 ฝ่าย ในขณะที่เดอะมอลล์ต้องการปรับโฉม ส่วนนารายณ์ภัณฑ์ต้องการขยายอาณาจักร

และงานนี้ทางนารายณ์ภัณฑ์ได้มานิ รัตนสุวรรณ นักการตลาดระดับ GURU อดีตกรรมการผู้จัดการพรีเมียร์มาเก็ตติ้ง และยังเป็นนายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยมาร่วมวงไพบูลย์ด้วยคนหนึ่ง

มานิตเข้ามาเป็นเพียงที่ปรึกษาทางด้านการตลาดของนารายณ์ภัณฑ์ แต่บทบาทของเขาคงจะไม่เป็นเพียงแค่ที่ปรึกษาเท่านั้น "เขาคงจะเข้ามาวางแนวคิดทางการตลาด เขานี่แหละที่จะเป็นตัวที่จะบอกทิศทางตลาดในอนาคตของนารายณ์ภัณฑ์พาวิลเลี่ยน" คนในวงการทำนายเหมือนอย่างที่หลายๆ คนคิด

มานิตเข้ามาร่วมในโครงการนารายณ์ภัณฑ์พาวิลเลี่ยนเพราะการชักชวนของอาจารย์เก่า คือ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ซึ่งเป็นประธานที่ปรึกษานารายณ์ภัณฑ์ และตัวมานิตเองก็ชอบ เพราะอยากทำมาร์เก็ตติ้งศิลปวัฒนธรรมไทยอยู่แล้วด้วย

"ผมจะเอาหลักมาร์เก็ตติ้งเข้ามาใช้ในการจัดการนารายณ์ภัณฑ์พาวิลเลี่ยน ในอนาคตจะมีการตั้งโรงละครที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ทุกรูปแบบ" มานิต กล่าวถึงโครงการในอนาคตอันใกล้

แผนการจอยน์เวเจอร์ของเดอะมอลล์และนารายณ์ภัณฑ์ในวันนี้ยังไม่ลงตัวนัก เพราะ "เรายังไม่ได้เตรียมแผนการอะไรสมบูรณ์ดีเลย เพราะหนังสือพิมพ์ผู้จัดการของคุณไปลงข่าวก่อนเราเลยต้องแถลงข่าวอย่างกะทันหัน มานิต รัตนสุวรรณ ยอมรับ

เดอะมอลล์จึงเพียงแค่มอบพื้นที่ 15,000 ตารางเมตรให้นารายณ์ภัณฑ์จัดการปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์สินค้าหัตถกรรมที่สมบูรณ์แบบที่สุด

ปัญหาที่จะตามมาก็คือ "เรื่องเกี่ยวกับร้านค้า คุณดูต่อไปเถอะเดี๋ยวต้องมีการโวยวายแน่ๆ พวกบูติคเขาจะปรับตัวกันอย่างไร เมื่อพบกับสภาพการเปลี่ยนโฉมชนิดหน้ามือเป็นหลังมือแบบนี้" คนที่เฝ้ามองตั้งข้อสังเกต

มองนารายณ์ภัณฑ์และเดอะมอลล์จับมือกันในครั้งนี้คงจะเห็นสัจธรรมทางธุรกิจได้ดี นารายณ์ภัณฑ์เริ่มต้นด้วยการบริหารแบบเรื่อยๆ มาเรียงๆ แบบราชการแล้วก็หันมาบุกแหลกนั่นเป็นเพราะเอกชนเข้ามาบริหารแทนรัฐส่วนเดอะมอลล์สตาร์ทด้วยความรุ่งโรจน์ แต่จบลงด้วยลักษณะไม่น่าประทับใจในสายตาผู้เฝ้ามอง

นารายณ์ภัณฑ์พาวิลเลี่ยนจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการเดือนเมษายนนี้ จนถึงวันนี้การตกลงอย่างเป็นทางการยังไม่ลงตัว แต่สำหรับอนาคตแล้ว "น่าจะโชติช่วงชัชวาลอย่างไม่ต้องสงสัย" แหล่งข่าวทำนายผลของการผนึกกำลังครั้งนี้กับ "ผู้จัดการ"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us