คลังเตรียมออกพันธบัตรเงินบาท (บาทบอนด์) กองทุนฟื้นฟูฯ (FIDF) 2-3 หมื่นล้านบาทขายต่างชาติ
พร้อมยกเลิกภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้ หวังจูงใจ คาดดำเนินการได้ภายใน 2 เดือนจากนี้
ขณะที่คลังคาดค่าเงินบาทแนวโน้ม ยังแข็งขึ้นช่วงนี้ เพราะเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงขาขึ้น
ประกอบกับเศรษฐกิจประเทศ เพFIDFบอนด์2หมื่นล.บาทแข็งสุด14เดือน
คลังเตรียมออกพันธบัตรเงินบาท (บาทบอนด์) กองทุนฟื้นฟูฯ (FIDF) 2-3 หมื่นล้านบาทขายต่างชาติ
พร้อมยกเลิกภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้ หวังจูงใจ คาดดำเนินการได้ภายใน 2 เดือนจากนี้
ขณะที่คลังคาดค่าเงินบาทแนวโน้ม ยังแข็งขึ้นช่วงนี้ เพราะเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงขาขึ้น
ประกอบกับเศรษฐกิจประเทศ เพื่อนบ้าน และของโลกก็ปรับตัวดี มั่นใจแม้กระทบส่งออก
แต่ตลาดทุน-คนมีหนี้เงินตราต่างประเทศส้มหล่น "ทักษิณ" เผยบาทแข็งหลีกเลี่ยงไม่ได้
แต่มั่นใจ แบงก์ชาติดูแลได้ ไม่ให้กระทบส่งออก ขณะที่บาทบอนด์เป็นเครื่องมือแก้ปัญหา
เศรษฐกิจได้ ขณะที่บาทวานนี้ทำสถิติแข็งสุดในรอบ 14 เดือน 40.73 บาทต่อดอลลาร์ก่อนอ่อนตัวช่วงท้ายตลาดฯ
นายโอฬาร ชัยประวัติ ที่ปรึกษา รมว.คลัง เปิดเผยวานนี้ (4 ก.ย.) ว่าขณะนี้ ร.อ.สุชาติ
เชาว์ วิศิษฐ รัฐมนตรีคลัง เสนอนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร พิจารณายกเลิกเก็บภาษีหัก
ณ ที่จ่าย สำหรับนักลงทุนต่างประเทศ (Non-Resident Account) ที่จะลงทุนพันธบัตรเงินบาทของรัฐบาลที่คาดว่าจะดำเนินการได้ภายใน
2 เดือนจากนี้
ผ่อนคลายเงิน-ภาษีดึงขาใหญ่บัญชีนอก
การออกพันธบัตรดังกล่าวจะออกพันธบัตร กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบัน
(FIDF) วงเงินประมาณ 2-3 หมื่นล้าน จากวงเงิน ออกพันธบัตรตามแผนกองทุนฟื้นฟูฯ ทั้งหมด
3 แสนล้านบาท ซึ่งจะเสนอผ่อนคลายการปริวรรต เงินตราควบคู่กับผ่อนคลายภาษี เพื่อให้ต่างชาติ
ลงทุนตลาดตราสารหนี้ไทยได้มากขึ้น
"ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะหารือกับท่านนากยกฯ เพื่อเสนอให้ดึงวงเงินส่วน
หนึ่ง จากการออกพันธบัตรของกองทุนฟื้นฟูฯ ที่จะมีอยู่ประมาณ 3 แสนล้าน ออกมา 2-3
หมื่นล้าน เพื่อมาออกเป็นพันธบัตรสกุลเงินบาทขาย ให้กับนักลงทุนต่างประเทศ และเพื่อเป็นการจูงใจ
จึงเสนอให้มีการยกเลิกการเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย" นายโอฬารกล่าว
เพิ่มเสน่ห์ตราสารเงินไทย
การยกเลิกดังกล่าว เขากล่าวว่าถือเป็น การสร้างสินค้าการเงินไทยให้เป็นสินค้าน่าสนใจมากขึ้น
เนื่องจากไม่มีต้นทุนซื้อขาย ขณะนี้หลายประเทศ ไม่มีภาษีนี้ เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง
ญี่ปุ่น สหรัฐฯการยกเลิกภาษีทำได้ง่าย เพราะสามารถ ออกเป็นกฎกระทรวงยกเลิกประกาศกฤษฎีกาที่มีอยู่
บางประเทศผ่อนคลายการปริวรรตเงินตรา ควบคู่ภาษี
ขณะที่ปัจจุบันบางประเทศเก็บภาษีดังกล่าวอยู่ เช่น เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ ไทย
ขณะนี้ พยายามชักชวนประเทศอื่นๆ ยกเลิกภาษีนี้ด้วย เพื่อให้เท่าเทียมกัน การดำเนินงานขึ้นกับความพร้อมแต่ละประเทศด้วย
การประกาศยกเลิกนี้จะทำควบคู่กับผ่อนคลายให้นักลงทุนสถาบัน 6 ประเภท นำเงินลงทุนตราสารบางอย่างในต่างประเทศได้
โดยต้องทำควบคู่กันตามที่ธนาคาร แห่งประเทศไทยประกาศไปแล้ว
เดิมผู้สนใจจะลงทุนสามารถทำได้ แต่ต้องขอธปท.เป็นรายๆ แต่เมื่อมีประกาศธปท.เรื่องดังกล่าว
ทำให้ได้ผลเกินคาด จากที่คาดว่าจะยื่น ขอลงทุนประมาณ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ
2.05 หมื่นล้านบาท) แต่เอาเข้าจริงยื่นประมาณ 2,500 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.03 แสนล้านบาท)
คาดบาทยังแข็งขึ้นอีก
พ.ต.ท.ทักษิณเปิดเผยวานนี้ว่าการประชุม รัฐมนตรีคลังเอเปกที่ภูเก็ตเช้าวานนี้
รัฐมนตรีคลังหลายประเทศมั่นใจภาวะเศรษฐกิจไทย ไม่มีประเทศใดแสดงความเป็นห่วงต่อภาวะค่าเงินบาท
เพราะมั่นใจว่าไทยดูแลอย่างดี เมื่อค่าบาทเปลี่ยนแปลงจะตรวจสอบทันที
"ต้องยอมรับว่าปัจจัยพื้นฐานของประเทศเราแข็งแรง ฉะนั้นจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ค่าเงินบาท
จะแข็งขึ้นตาม แต่จะให้แข็งอยู่ในระดับเท่าใด จุดนี้ ธปท.ใช้นโยบายระบบอัตราแลกเปลี่ยนกึ่งลอยตัวแบบจัดการได้
(Managed float policy) เพื่อดูแลไม่ให้กระทบการส่งออก แต่ไม่ให้ฝืนธรรมชาติมากเกินไป
ซึ่งหากฝืนต้องใช้เงินมาก แต่ไม่ใช่ว่าไทยส่งออกแล้วจะไม่นำเข้า ซึ่งผลต่าง ตัวเลขส่งออก
และนำเข้าเพียง 5-7 พันล้านดอล ลาร์เท่านั้น" นายกรัฐมนตรีกล่าว
บาทบอนด์แก้ปัญหา ศก.ได้
ส่วนกรณีจะใช้แผนบาทบอนด์ดูแลค่าเงินบาทหรือไม่ พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวว่า เขายังไม่ได้ดูรายละเอียดเรื่องนี้
แต่ถือว่าเป็นเครื่องมือหนึ่ง แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้ ซึ่งบาทบอนด์นี้ เบื้องต้น
จะใช้ในการปล่อยเงินกู้ให้กับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้มั่นใจว่าภาวะเศรษฐกิจของประเทศแข็งแรงมากขึ้น
ทางด้านนายสมชัย สัจจพงษ์ รองโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยวานนี้ (4 ก.ย.) ว่าแนว
โน้มเงินบาทแข็งค่าขึ้นอีก ยังเป็นไปได้ เนื่องจากขณะนี้เศรษฐกิจไทยดีขึ้นมาก
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่ส่งผลเงินบาทสามารถแข็ง ค่าขึ้นได้อีก ไม่ว่าจะเป็นภาวะเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงขาขึ้นดอกเบี้ยต่ำ
เศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้าน และเศรษฐกิจโลกที่กำลังดีขึ้นด้วย
บาทแข็งหุ้นไทย-ลูกหนี้ดอลล์ส้มหล่น
การที่บาทแข็งค่าขึ้นถือเป็นผลดีต่อตลาดทุน ทำให้มีเงินต่างชาติหมุนเวียนเข้าประเทศมาก
ขึ้น ขณะเดียวกันส่งผลกระทบโดยตรงภาคส่งออก เพราะเมื่อบาทแข็งค่าขึ้น ทำให้สินค้าส่งออก
จากไทยขายต่างประเทศราคาสูงขึ้น สินค้าไทย จึงสู้ต่างชาติไม่ได้ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบด้าน
บวกบุคคลที่ชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศมากด้วย
"ถ้าเศรษฐกิจของประเทศมีความแข็งแกร่งขึ้น ก็ย่อมส่งผลอัตราแลกเปลี่ยนด้วย
ซึ่ง ค่าเงินบาทก็ไม่ควรที่จะแข็งค่ามากเกินไป เมื่อเทียบกับค่าเงินประเทศเพื่อนบ้าน
การที่ค่าบาท แข็งค่าก็ส่งผลดีต่อตลาดทุนทำให้เงินต่างประเทศ ไหลเข้ามามากแต่ด้านการส่งออกก็ได้รับผลกระทบมากเช่นเดียวกันเมื่อค่าบาทแข็งค่าขึ้น"
นายสมชัย กล่าว
นายสมชัยกล่าวอีกว่า การที่บาทแข็งค่าขึ้น ต้องดูด้วยว่าค่าเงินบาทยังมีเสถียรภาพหรือไม่
ซึ่งเรื่องดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดูแลใกล้ชิดอยู่แล้ว เมื่อใดที่ค่าบาทไม่มีเสถียร
ภาพธปท.จะมีเครื่องมือจัดการอยู่แล้ว
บาทวานนี้แข็งสุดรอบ 14 เดือน
นักบริหารเงินธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทวานนี้แข็งค่าต่อเนื่อง ช่วงเช้าเปิด
40.81-40.83 บาทต่อดอลลาร์ แต่อ่อนค่าลงหลังจากนั้น เนื่องจากเชื่อว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น
แทรกแซงค่าเงินเยน ส่งผลเยนอ่อนค่าจาก 115.80 เป็น 116.80 เยน/ดอลลาร์ ทำให้บาทอ่อน
ตาม
อีกทั้งเมื่อค่าบาทอ่อนค่าลงถึง 40.80 ทำให้ มีแรงเทขายเงินไทย ค่าเงินบาทระหว่างวันแข็งค่า
สุดในรอบ 14 เดือนที่ 40.73 ตลอดทั้งวันค่าเงิน บาทเคลื่อนไหว 40.80-40.85 ช่วงปิดตลาดฯ
เย็น บาทแข็งค่าขึ้นปิด 40.76-40.78