ภ า พ ร ว ม
โมโตโรล่า เคยพลาดท่าในเทคโนโลยีโทรศัพท์ ไร้สายระบบดิจิตอล แต่ก็สามารถตีตื้นกลับมามียอดขายโทรศัพท์มือถือทั่วโลกเป็นอันดับ
2 รองจากโนเกีย โมโตโรล่ามีสำนักงานใหญ่อยู่ ที่ชอมเบอร์ก มลรัฐอิลลินอยส์
ทำยอดขาย 55% จากธุรกิจสื่อสารส่วนบุคคล รวมทั้งโทรศัพท์ เพจเจอร์ และโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการสื่อสารไร้สาย
ธุรกิจในส่วนเซมิคอนดักเตอร์ทำ ยอดขายให้บริษัทราว 25% และบริษัทก็ยังเป็นผู้นำโลกในตลาดโพรเซสเซอร์ด้วย
โมโตโรล่าดำเนินการหลายขั้นตอนทีเดียวใน การฟื้นตัวจากภาวะขาดทุน คริสโตเฟอร์
กาลวิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเป็นผู้ผลักดันการปรับโครงสร้างกิจการโดยเริ่มจากการปลดพนักงาน
20,000 คน และ ลดต้นทุนอีกกว่า 750 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กาลวินยังรวมหน่วยงานทางด้านอุปกรณ์การสื่อสารอีก
30 หน่วย เข้าเป็นหน่วยงานเดียว เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรจาก ที่เคยเน้นการแข่งขันกันภายในองค์กรอย่างมากมาเป็นการประสานความร่วมมือ
และขายกิจการที่เติบโตช้าออกไป โมโตโรล่ายังเน้นธุรกิจการสื่อสารแบบติดตั้งคู่สาย
ที่อิงกับระบบบรอดแบนด์ด้วย (ปัจจุบันเป็นผู้นำ ด้านการขายเคเบิลโมเด็ม)
โดยอาศัยกิจการ "เจเนอรัล อินสทรูเมนต์" ที่ซื้อเข้ามา อีกทั้งยังลงนามในการสนับสนุนเทคโนโลยี
"บลูทูธ" รายหนึ่งด้วย
คำถามหนึ่ง ที่ยังต้องสะสางต่อไปก็คือ หนี้สินทางการเงินจากโครงการดาวเทียมอิรีเดียม
ที่ล้มเหลวไป และเป็นโครงการที่โมโตโรล่าถือหุ้นอยู่ถึง 18% หลังจากแทงบัญชีหนี้สูญไปกว่า
2 พันล้านดอลลาร์แล้ว โมโตโรล่าก็พบปัญหาความไม่พอใจของผู้ถือหุ้นบางราย
ค ว า ม เ ป็ น ม า
พอล กาลวิน ผู้ประกอบการโดยสายเลือดเริ่มต้นธุรกิจของเขาจากการเป็นพ่อค้าเร่ขายข้าวโพดคั่ว
ตั้งแต่ วัย 13 จนกระทั่งสามารถตั้งบริษัทกาลวิน แมนูแฟค เจอริง ที่ชิคาโก
ได้ในปี 1928 เมื่อเขาอายุ 33 ปี บริษัทเป็นผู้ผลิตเครื่องทำลายแบตเตอรี่
ปีถัดมากาลวินเริ่มต้นผลิตเครื่องรับวิทยุในรถยนต์ และพยายามพัฒนาวิทยุเคลื่อนที่สำหรับใช้ในกิจการตำรวจ
ต่อมาในปี 1940 บริษัทได้เริ่มผลิตวิทยุมือถือสื่อสารสองทางให้กับ กองทัพสหรัฐฯ
ในปี 1947 กาลวินเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็นโมโตโรล่าตามชื่อวิทยุรถยนต์ และในปลายทศวรรษ
1950 โมโตโรล่าก็เริ่มผลิตวงจรรวม และไมโครโพรเซสเซอร์ นับเป็นการออกนอกทางธุรกิจหลักครั้งแรก
ต่อมาเมื่อกาลวินเสียชีวิตในปี 1959 โรเบิร์ตบุตรชายของเขาก็รับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารต่อจากบิดา
ปีนั้น เองบริษัทได้ซื้อระบบสื่อสารโรงพยาบาล ซึ่งนำไปสู่การผลิตเพจเจอร์รุ่นแรก
โมโตโรล่าเปลี่ยนเข็มมุ่งทางธุรกิจในช่วงทศวรรษ 1970 เปิดตัวไมโครโพรเซสเซอร์
6800 ในปี 1974 และลงทุนในตลาดฮาร์ดแวร์สื่อสารข้อมูลโดยการซื้อกิจการ "โคเด็กซ์"
(Codex) ในปี 1977 และซื้อกิจการ "ยูนิเวอร์แซล เดต้า ซิสเต็มส์" ในปี 1978
ต่อมาบริษัทเลิกผลิตวิทยุรถยนต์ในปี 1987 และปีต่อมาก็ได้รับรางวัล Malcolm
Baldridge Quality Award เป็นปีแรก
ปี 1990 โมโตโรล่าดำเนินการจัดทำระบบสื่อสารดาวเทียมอิริเดียม บริษัทยังเริ่มพัฒนาเพาเวอร์พีซีชิพ
ร่วมกับแอปเปิ้ล และไอบีเอ็ม ในปี 1991 อีกห้าปีต่อมา จีนก็รับเทคโนโลยีของโมโตโรล่าใช้เป็นมาตรฐานระบบเพจจิ้งทั่วประเทศ
คริส กาลวิน หลานชายผู้ก่อตั้งกิจการรับช่วงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารในปี
1997 ในยุคที่กำไรกิจการตกลงอย่างหนัก อันเป็นผลจากการแข่งขันสูงในตลาดโทรศัพท์มือถือ
และยอดขายเซมิคอนดักเตอร์ ที่ตกต่ำ เขาปลดคนงาน และขายสินทรัพย์ ที่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจหลักออกไป
เช่น ธุรกิจด้านภาพถ่าย และเครือข่ายข้อมูลอาร์ดิส เป็นต้น
ปี 1998 ไพรม์โค ผู้ให้บริการโทรศัพท์ไร้สายบอกเลิกสัญญาซื้ออุปกรณ์มูลค่า
500 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากโมโตโรล่า เนื่องจากไม่พอใจคุณภาพสินค้า ขณะเดียวกันความร่วมมือในเทคโนโลยีเพาเวอร์พีซีก็ล้มเหลว
เมื่อโมโตโรล่า และไอบีเอ็มต่างประกาศ ที่จะพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวด้วยตนเอง
บริษัทต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการปรับโครงสร้างถึงราว 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ซึ่งส่งผลต่อยอดขาดทุนของบริษัทในปีที่ผ่านมา
การปรับโครงสร้างส่วนใหญ่ของกาลวินมุ่งเน้นไป ที่ธุรกิจอินเทอร์เน็ต ปี
1999 บริษัทลงนามในข้อตกลงพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตในด้าน
เครือข่ายไร้สายกับซิสโก (Cisco) ร่วมมือกับซัน ไมโครซิสเต็มส์ด้านเซิร์ฟเวอร์เครือข่ายไร้สาย
และสถานีฐาน และร่วมมือกับลูเซ่นต์ระบบเคเบิลทีวี เพื่อส่งสัญญาณข้อมูลความเร็วสูง
โมโตโรล่าขายหุ้น 90% ในธุรกิจ ชิ้นส่วนประกอบเซมิคอนดักเตอร์ให้กับเท็กซัส
แปซิฟิก กรุ๊ป เป็นมูลค่า 1,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ช่วงต้นปี 2000 โมโตโรล่าซื้อกิจการ "เจเนอรัล อินสทรูเมนต์" มูลค่าถึง
17,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ยิ่งกว่านั้น โมโตโรล่ายังต้องล้มเลิกโครงการอิริเดียม
ซึ่งหลุดออกนอกวงจร และทำให้ดาวเทียมเสียหายอย่างหนัก (ต่อมาโมโตโรล่าได้ลงนามร่วมกับกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ
ในการซ่อมแซมดาวเทียม) โมโตโรล่าแถลงว่า โนเกียจะเข้าร่วมในการผลักดันเทคโนโลยี
1Xtreme ให้เป็นมาตรฐานสำหรับเครือข่ายไร้สายรุ่นที่สาม โดยบริษัททั้งสอง
อาจร่วมมือกับคู่แข่งอย่างอีริคสันในการพัฒนาโครงข่ายมาตรฐาน สำหรับระบบป้องกันการซื้อขายผ่านเครือข่ายไร้สายด้วย
โมโตโรล่าตกลง ที่จะให้ "เฟล็กซ์โตรนิกส์" เป็น ผู้จัดหาวัตถุดิบการผลิตราว
15% ป้อนให้บริษัทเป็นระยะเวลา 5 ปี คิดเป็นมูลค่า 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้โมโตโรล่าจะเข้าถือหุ้น 5% ในเฟล็กซ์โตรนิกส์ นอกจากนั้น เทเลโฟนิกา
(Telefonica) แห่งสเปนยังตกลง ที่จะ ซื้อกิจการ "พร็อพเพล" (Proprel) ซึ่งเป็นบริการโทรศัพท์มือถือในเครือของโมโตโรล่า
มูลค่าราว 2,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วย