Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน5 กันยายน 2546
เซ็นทรัลไม่แข่งพารากอนชูทาวเวอร์ชมวิวกลางกรุง             
 


   
www resources

โฮมเพจ สยามพารากอน
โฮมเพจ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)

   
search resources

เซ็นทรัลพัฒนา, บมจ.
สยามพารากอน ดิเวลลอปเม้นท์, บจก.
อัมรินทร์ ดีเวลลอปเม้นท์, บจก.
กอบชัย จิราธิวัฒน์
วิวัฒน์ เจริญสวัสดิพงศ์
Shopping Centers and Department store




พื้นที่ค้าปลีกสยาม-ราชประสงค์คึกคัก 2 ยักษ์ใหญ่สยามพารากอน-เซ็นทรัล เดินหน้าก่อสร้างเต็มสูบ "เซ็นทรัล" ชี้หลัง 2 ศูนย์ยักษ์เปิดตัวด้วยแม่เหล็กครบมือ ศูนย์เล็กในพื้นที่เดี้ยง ระบุเซ็นทรัลจับลูกค้าทุกกลุ่มต่างจากพารากอนเน้นคนมีตังค์ ดึงภัตตาคารหรูต่างประเทศเปิดบริการบน อาคารสำนักงานชั้น 50-51 หวังขายวิวใจกลางเมือง เล็งพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ ส่วน"อัมรินทร์ พลาซ่า" ดิ้นปรับตัวส่ง "เอราวัณ แบงค็อก"ร้านค้า หรูจับไฮเอนด์

หลังจากรัฐบาลประกาศนโยบายผลักดันกรุงเทพฯ ให้เป็นศูนย์การท่องเที่ยวและชอปปิ้งเอเชีย หรือชอปปิ้ง สตรีท ทำให้ภาพ การแข่งขันของธุรกิจค้าปลีกตั้งแต่ย่านสยามสแควร์ถึงสี่แยกราชประสงค์คึกคักอย่างเห็น ได้ชัด โดยปลายปี 2548 จะมีศูนย์การค้าระดับหรูอย่างสยามพารากอนที่ใช้งบลงทุน 10,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการร่วมทุนของค่าย ผู้นำค้าปลีกในประเทศไทยอย่างสยามเซ็นเตอร์และเดอะมอลล์จะเปิดบริการเพิ่มอีกแห่ง

ส่วนโครงการเซ็นทรัล เวิลด์ พลาซ่า พื้นที่เดิม ของศูนย์การค้าเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ ที่ได้มืออาชีพอย่างเซ็นทรัลพัฒนาเข้าไปบริหารและเป็นเจ้าของใหม่ ได้เดินหน้าปรับปรุงพื้นที่ในอาคารมาได้ระยะหนึ่งแล้ว คาดว่าการปรับปรุงทั้งหมดจะเสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2548 ด้วยงบประมาณกว่า 10,000 ล้านบาท เช่นกัน

ความเคลื่อนไหวของยักษ์ใหญ่ในวงการค้าปลีกไทย ทำให้ผู้ประกอบการรายเดิมในพื้นที่ราชประสงค์ต้องเร่งปรับตัวเพื่อรองรับการแข่งขันในอนาคตเช่นกัน โดยเฉพาะกลุ่มอัมรินทร์ที่บริหารพื้นที่อัมรินทร์พลาซ่า ได้เตรียมเปิดตัวโครงการศูนย์การ ค้าไฮเอนด์ในชื่อเอราวัณ แบงค็อก ในปลายปี 2547

เซ็นทรัลชี้ศูนย์ฯเล็กถูกบีบ

นายกอบชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้เข้าไปพัฒนาโครงการเซ็นทรัล เวิลด์ พลาซ่า ในพื้นที่ศูนย์การค้าเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์เดิม ตัวโครงการแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน และโรงแรม โดยมีพื้นที่ในโครงการทั้งหมด 7-8 แสนตารางเมตร ถือว่าใหญ่ที่สุดในย่านใจกลางเมืองขณะนี้

ปัจจุบันเซ็นทรัลพัฒนาได้เข้าไปปรับปรุงพื้นที่แล้วทั้งศูนย์การค้าและอาคารสำนักงาน ที่มีโครงสร้างอาคารเก่าอยู่แล้ว โดยพื้นที่ศูนย์การค้าหลักๆ ที่จะปรับปรุงคือ เพิ่มพื้นที่ห้างสรรพสินค้าเซน จาก 18,000 ตารางเมตร เป็น 36,000-40,000 ตารางเมตร หรือเพิ่มขึ้นเท่าตัว โดยขยายพื้นที่เข้าในส่วนพลาซ่า

ปรับปรุงพื้นที่พลาซ่าบริเวณส่วนกลางอาคาร ด้วยการจัดโซนร้านค้าใหม่ นอกจากนี้ในพื้นที่เอนเตอร์เทนเมนต์ ชั้น 7-8 จะเพิ่มแม่เหล็กประเภทบันเทิงใหม่ๆเข้ามาอีก โดยพื้นที่ศูนย์การค้าส่วนแรก จะเสร็จปลายปี 2547 และเสร็จสมบูรณ์ทั้งโครงการปลายปี 2548

ส่วนอาคารสำนักงานเซ็นทรัล เวิลด์ ทาวเวอร์ สูง 51 ชั้น พื้นที่ขายรวม 1 แสนตารางเมตร ได้เริ่มเข้าไปก่อสร้างแล้วด้วยงบประมาณ 4,200 ล้านบาท และจะเปิดให้บริการในเดือน ส.ค.2547

ในปี 2548 ที่ 2 ศูนย์การค้าใหญ่ทั้งสยามพารากอน และเซ็นทรัล เวิลด์ พลาซ่า เปิดดำเนินการอย่างสมบูรณ์แบบ คาดว่าจะส่งผลกระทบอย่างมากกับศูนย์การค้าพื้นที่ที่มีขนาดเล็ก มีสินค้าและบริการเฉพาะอย่างเท่านั้น ซึ่งศูนย์การค้าเหล่านี้จะต้องวางตัวให้ชัดเจนว่าจะจับลูกค้ากลุ่มใด เพื่อให้อยู่รอด ท่ามกลางการแข่งขันสูง จาก 2 ศูนย์การค้ายักษ์ใหญ่ที่ตั้งเป้าโกยลูกค้าทุกระดับชั้น

พารากอนจับไฮเอนด์ไม่ใช่คู่แข่ง

นายกอบชัย กล่าวต่อว่า แม้ว่าสยามพารากอน และเซ็นทรัล เวิลด์ พลาซ่าจะเป็นศูนย์การค้าที่มีพื้น ที่ขนาดใหญ่ และมีบริการที่หลากหลาย แต่บริษัทมองว่าเซ็นทรัลยังแตกต่างตรงที่สยามพารากอนมุ่งจับกลุ่มลูกค้าไฮเอนด์ ชาวต่างชาติ จากการมีร้านเพชรพลอยในศูนย์ฯจำนวนมาก ขณะที่เซ็นทรัลมีร้านค้าและบริการหลากหลายจับกลุ่มลูกค้าได้ทุกระดับชั้น

"เซ็นทรัล เวิลด์ พลาซ่าจะจับกลุ่มลูกค้าทุกระดับชั้นที่มีวิถีชีวิตทันสมัย ตั้งแต่นักเรียน นักศึกษา วัยเริ่มต้นทำงาน ไปยังวัยชราที่ยังรักการใช้ชีวิตเพื่อหาความสุขในศูนย์การค้า จากบริการและสินค้าหลากหลาย ที่ทุกกลุ่มลูกค้าจับจ่ายใช้สอยได้" นายกอบชัย กล่าว

ขายจุดเด่นทาวเวอร์ชมวิวกลางเมือง

สำหรับอาคารสำนักงานเซ็นทรัล เวิลด์ ทาวเวอร์ สูง 51 ชั้น บริษัทจะพัฒนาชั้น 50 และ 51 ให้เป็นร้านอาหารหลากหลายสไตล์จากหลายสัญชาติ ซึ่งนำ รูปแบบมาจากภัตตาคารบนอาคารสูงในต่างประเทศ เช่น อาคารจอห์น แฮนด์ค็อก ที่ชิคาโก สหรัฐฯ อาคารราฟเฟิล ซิตี้ ที่สิงคโปร์ โดยต้องการพัฒนาเป็นจุดชมวิวใจกลางเมืองที่สวยที่สุดและสูงที่สุด เพื่อให้คนไทยและนักท่องเที่ยวได้ซื้อโอกาสขึ้นมาชมวิว และรับประทานอาหารกลางเมือง และในอนาคตจะกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งของกรุงเทพฯ

จากนโยบายของภาครัฐที่จะผลักดันให้เกิดชอปปิ้ง สตรีท บนถนนสุขุมวิท สำหรับนักท่องเที่ยว ต่างชาติ จึงได้เตรียมสร้างสะพานลอยใต้รางรถไฟฟ้า บีทีเอส ระหว่างสถานีสยามเซ็นเตอร์ถึงชิดลม เพื่อให้ นักท่องเที่ยวเดินชอปปิ้งระหว่างสยามสแควร์ ราชประสงค์ โดยเซ็นทรัลได้เตรียมงบ 160 ล้านบาท ทำ ทางเชื่อมบริเวณสะพานลอยใต้รางรถไฟฟ้าเข้าสู่ โครงการเซ็นทรัล เวิลด์ พลาซ่า ทั้งจากสถานีสยามฯ และชิดลม

ส่วนการขายพื้นที่อาคารสำนักงานขณะนี้มีผู้แจ้งความจำนงเข้ามาแล้ว 60,000 ตารางเมตร ส่วนใหญ่เป็นบริษัทต่างชาติ แต่คาดว่าจะมีผู้เช่าจริง 50% เท่านั้น โดยตั้งเป้าปิดการขายพื้นที่ทั้งอาคารภายใน 1 ปี หลังจากเปิดบริการในเดือน ส.ค.2547

อาคารเซ็นทรัล เวิลด์ พลาซ่า ถือเป็นอาคารสำนักงานย่านศูนย์กลางธุรกิจ(CBD) แห่งสุดท้าย ที่ยังมีพื้นที่ว่างเหลืออยู่ เพราะอาคารสำนักงานในย่าน นี้ที่เป็นอาคารสร้างใหม่ คือ ออลซีซั่น เพลส ขายพื้นที่ เต็มหมดแล้วในปีนี้ สำหรับราคาค่าเช่าต่อตารางเมตร ต่อเดือน ในย่านซีบีดีประมาณ 500 บาท ซึ่งเซ็นทรัล เวิลด์ ทาวเวอร์ จะให้เช่าในอัตราดังกล่าวเช่นกัน อย่าง ไรก็ตามคาดว่าการลงทุนทั้งศูนย์การค้าและอาคารสำนักงานจะคุ้มทุนได้ใน 8-9 ปี

ผุดโรงแรม 4 ดาว 2 พันล้านบาท

ส่วนโรงแรมในโครงการจะอยู่ด้านหลังศูนย์การค้าอิเซตัน ซึ่งบริษัทจะปล่อยเช่าพื้นที่ระยะยาว 30 ปี ให้ผู้ประกอบการที่สนใจเข้ามาลงทุน ขณะนี้มีผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศติดต่อเข้ามาแล้วหลายราย โดยจะเปิดกว้างให้ผู้ลงทุนที่อยู่นอกเครือเซ็นทรัลเสนอโครงการเข้ามาด้วย และเลือกผู้ที่ให้ผลประโยชน์สูงสุด

ในเบื้องต้นคาดว่าจะเป็นโรงแรมระดับ 4-4 ดาวครึ่ง จำนวน 400 ห้อง ใช้งบลงทุน 2,000 ล้านบาท โดยจะเปิดตัวผู้ลงทุนในเดือน ต.ค. นี้ ส่วนการก่อสร้างจะใช้เวลาประมาณ 3 ปี

"เอราวัณ แบงค็อก" เล็งจับไฮเอนด์

นายวิวัฒน์ เจริญสวัสดิพงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและการขาย บริษัท อัมรินทร์ พลาซ่า จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่าง ปรับปรุงอาคารห้างสรรพสินค้าโซโก้เก่า ส่วนที่อยู่ด้าน หน้าโรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ โดยจะปรับเป็นศูนย์การค้าระดับไฮเอนด์ภายใต้ชื่อ "เอราวัณ แบงค็อก" (Erawan Bangkok)

คอนเซ็ปต์ของศูนย์ฯจะประกอบด้วยร้านค้าอินเตอร์แบรนด์จากต่างประเทศ แต่จะเป็นรูปแบบร้านค้าที่แตกต่างจากเกษร ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม โดยจะหาร้านค้าแบรนด์เนมระดับหรูที่ยังไม่เปิดบริการในประเทศไทย หรือร้านที่ยังไม่มีสาขาอยู่ในพื้นที่ย่านราชประสงค์มาเปิดบริการ 60-100 ร้านค้า รวมร้านค้าในประเทศด้วย

ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการปรับพื้นที่ เพื่อส่งมอบพื้นที่ให้กับผู้เช่าไปตกแต่งภายในเดือนเม.ย.2547 คาดว่าจะเปิดดำเนินการได้ในเดือน ต.ค. 2547 โครงการดังกล่าวลงทุนประมาณ 300 ล้านบาท มีพื้นที่ 12,000 ตารางเมตร

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us