เลห์แมน บราเดอร์สทำระบบพยากรณ์แนวโน้มเกิดวิกฤตการเงิน พบไทยเติบโตทางเศรษฐกิจแข็งแกร่งที่สุดใน
เอเชีย หมดสิทธิ์เกิดวิกฤตเศรษฐกิจอีกรอบแน่ คะแนนนำโด่งจีน-สิงคโปร์ คาดปี 2547
เศรษฐกิจไทยขยาย 6% ขณะที่เศรษฐกิจโดยรวมของโลกทิศทางเติบโตสดใส
เลห์แมน บราเดอร์ส บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนระดับโลก จากแดนมะกัน ออกแบบ-พัฒนาระบบพยากรณ์วิกฤตการเงินล่วงหน้า
ชื่อ "เดมอกเคิลส์" (Damocles) เพื่อใช้วัดและประเมินประเทศที่มีแนวโน้มจะประสบภาวะวิกฤตการเงิน
ระบบ "เดมอกเคิลส์" ประกอบด้วย ดัชนีการเงิน และระดับมหภาค 10 ประเภทซึ่งผ่านการทดสอบอย่างรอบคอบ
เพื่อให้มั่นใจว่าการประเมินวิกฤตการเงินและการธนาคารถูกต้องและเชื่อถือได้
ระบบพยากรณ์วิกฤตการเงินเดมอกเคิลส์ นำวิกฤตการเงินที่เคยเกิดในเอเชีย ยุโรป
และละตินอเมริกา ใช้เป็นแนวทางกำหนดค่าและความสำคัญของดัชนีทั้ง 10 ประเภท หากดัชนีทั้ง
10 ประเภท คะแนนรวมกัน 75 คะแนน หรือสูงกว่า เดมอกเคิลส์จะส่งสัญญาณเตือนว่า ดุลชำระเงินประเทศนั้นๆ
มีโอกาสจะเกิดวิกฤต หากคะแนนรวมกันมากกว่า100 คะแนน หมายความว่า วิกฤตเกิดได้ตลอดเวลา
ไทยไม่มีสิทธิ์เกิดวิกฤตอีกรอบ
สำหรับประเทศไทย การวัดผลระบบเดมอกเคิลส์ ได้คะแนน 0 ซึ่งยืนยันว่า โอกาสเกิดวิกฤตในไทยยังห่างไกล
ไทยดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเพิ่มขึ้น 6% ของการเติบโตเศรษฐกิจ(จีดีพี) ขณะที่จีนได้
22.3 คะแนน สิงคโปร์ 28.3 ฮ่องกง 9.3 ไต้หวัน 9.3 เกาหลีใต้ 9.3 ฟิลิปปินส์ 31.1
มาเลเซีย 9.3 และอินโดนีเซีย 21
ทั้งหนี้นอกประเทศลดลงติดต่อกัน 6 ปี และเงินทุนสำรองต่างประเทศแข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม
สภาวะเศรษฐกิจที่มั่นคงและสดใสนี้ อาจได้รับผลกระทบหากไทยพอใจสภาวะที่เป็นอยู่ขณะนี้
โดยไม่ปฏิรูประบบการเงินต่อเนื่อง เนื่องจากภาคการเงินและธุรกิจไทยยังคงกระทบจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดราย
ได้ และการปรับหนี้ด้วยการยืดเวลาชำระหนี้
คาดเศรษฐกิจไทยโต 6% ปี 47
นายร็อบ ซับบาราแมน นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ประจำภูมิภาคเอเชีย เลห์แมน บราเดอร์ส
กล่าวว่าเศรษฐกิจไทยพร้อมจะขยายตัวต่อไปไม่หยุดยั้ง แนวโน้มจะเติบโตสูงกว่า 6%
ปีหน้า
ส่วนภูมิภาคเอเชียโดยรวม ความเสี่ยงการเกิดวิกฤตทั่วภูมิภาคลดต่อเนื่อง หลังวิกฤตการเงินปี
2540-2541 เป็นต้นมา ซึ่งเลห์แมน บราเดอร์สรายงานว่า สัญญาณบ่งชี้ว่าเงินทุนทั่วโลกจะหลั่งไหลกลับสู่เอเชียอีกครั้ง
โดยเอเชียจะมีสภาวะโดยรวมมั่นคงและแข็งแกร่งมากขึ้น พร้อมจะเผชิญรับมรสุม การเงินที่อาจเกิดขึ้นอนาคตเต็มที่
ระบบพยากรณ์วิกฤตการเงินเดมอกเคิลส์
นายซับบาราแมน นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสเลห์แมน บราเดอร์ส และผู้ร่วมทำรายงาน "วิกฤตการ
เงิน : ระบบเตือนภัยล่วงหน้า" กล่าวว่าวิกฤตการเงิน ที่เกิดขึ้นประเทศต่างๆ
โดยรวม ลักษณะเหมือนกัน มาก "เรามีเหตุผลที่เชื่อว่าวิกฤตเหล่านี้จะก่อเกิดผลกระทบเสถียรภาพเศรษฐกิจโลกช่วงระยะเวลาหนึ่ง
ดังนั้น การคิดค้นและพัฒนาระบบคาดการณ์วิกฤตล่วงหน้า จึงจำเป็นและเป็นประโยชน์อย่างมาก"
การศึกษาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต ทำให้นักเศรษฐศาสตร์เลห์แมน บราเดอร์สเห็นว่า
ความไม่ แน่นอนกระแสเงินทุนเป็นอุปสรรคสำคัญคาดการณ์ แนวโน้มเกิดวิกฤต ขณะที่การขึ้น-ลงภาวะเศรษฐกิจ
ก่อเกิดทั้งผลดีและผลเสียต่อประเทศ
การใช้ระบบพยากรณ์วิกฤตล่วงหน้าเดมอกเคิลส์ ผนวกการวิเคราะห์ภาพรวมประเทศที่คาดว่า
จะเกิดปัญหา จะทำให้ทราบปัจจัยเสี่ยงภายนอกที่อาจ พัฒนาเป็นวิกฤตในสภาวการณ์ใดสภาวการณ์หนึ่ง
ระบบ เดมอกเคิลส์ มีดัชนีชี้วัด10 ชนิด คือ 1.เงินทุนสำรองต่างประเทศ/การนำเข้า
(foreign reserve/imports) 2.เงินทุนสำรองต่างประเทศ/หนี้ต่างประเทศระยะสั้น (foreign
reserves/short-term external debt) 3.หนี้ต่างประเทศ ซึ่งคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของจีดีพี
(external debt as a percentage of GDP) 4.หนี้ต่างประเทศระยะสั้นคิดเป็นเปอร์เซ็นต์การส่งออก
(short-term external debt as a percentage of exports)
5.ดุลบัญชีเดินสะพัดคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของ จีดีพี(current account as a percentage
of GDP) 6.ปริมาณเงิน/เงินทุนสำรองต่างประเทศ (broad money/foreign reserves) 7.สินเชื่อเอกชนในประเทศคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของจีดีพี
(domestic private credit as a percentage of GDP) 8.อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นแท้จริง
(real short-term interest rate) 9.ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (stock market index) และ10.อัตราแลกเปลี่ยนแท้จริงถ่วงน้ำหนักด้วยดุลการค้า
(real trade-weighted exchange rate)
ภาพรวมตลาดโลกสดใส
นักเศรษฐศาสตร์เลห์แมน บราเดอร์สใช้ระบบ เดมอกเคิลส์ ประเมินสภาวะเศรษฐกิจประเทศสำคัญ
15 ประเทศนายซับบาราแมน ระบุว่า เศรษฐกิจโดยรวมของโลกทิศทางเติบโตดี
อย่างไรก็ตาม นายซับบาราแมน กล่าวว่า ความเสี่ยงสำคัญที่สุดต่อประเทศต่างๆ ทั่วโลกขณะนี้
คือ กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว มีสัญญาณบ่งชี้ความไม่สมดุลเศรษฐกิจ จะทำให้"ระบบพยากรณ์เกิดวิกฤตล่วงหน้า
เดมอกเคิลส์ เลห์แมน บราเดอร์ส ต้องส่ง สัญญาณเตือนภัย" การคุกคามชัดเจนที่สุดคือสหรัฐ
อเมริกา ซึ่งหากมีวิกฤตการเงิน จะส่งผลกระทบแพร่หลายประเทศอื่นๆ ทั่วโลก
เลห์แมน บราเดอร์ส ย้ำเตือนว่า ไม่ควรใช้ระบบพยากรณ์ เดมอกเคิลส์ เพียงระบบเดียวศึกษา
ภาพรวมการเงินแต่ละประเทศ เดมอกเคิลส์ ควรใช้งานในแนวทางถูกต้องและเหมาะสม
"ถือเป็นขั้นตอนแรกประเมินข้อด้อยประเทศนั้นๆ ซึ่งผลประเมินที่ได้รับควรนำมาวิเคราะห์ในแนว
กว้าง โดยพิจารณาปัญหาซับซ้อนด้านอื่นๆ อาทิ ปัจจัย ไม่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ อิทธิพลด้านอื่นๆ
เพื่อให้ การประเมินผลสมบูรณ์ และถูกต้องที่สุด" นาย ซับบาราแมนกล่าว
เลห์แมน บราเดอร์ส ตัวย่อในตลาดหลักทรัพย์ นิวยอร์ก: LEH) ก่อตั้งปี 2393 เป็นผู้นำนวัตกรรมธุรกิจการเงินโลก
เป็นผู้ให้บริการการเงินบริษัทเอกชน รัฐบาล และองค์กรของรัฐ ตลอดจนกลุ่มลูกค้าสถาบันและประเภทบุคคลชั้นนำทั่วโลก
เลห์แมน บราเดอร์ส ยังเป็นผู้นำด้านขายหุ้นทุนและตราสารหนี้ การซื้อขายและวิเคราะห์หลักทรัพย์
เป็นที่ปรึกษาการลงทุน ให้บริการปรึกษาเพื่อ ร่วมทุน และให้บริการลูกค้าส่วนบุคคลระดับสูง
เลห์แมน บราเดอร์สสำนักงานใหญ่ในนิวยอร์ก ลอนดอน และโตเกียว ดำเนินงานรูปแบบเครือข่ายสำนักงานทั่วโลก