Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน24 มีนาคม 2552
ธอส.เร่งแก้NPL6หมื่นล้าน จ้างคนนอก-ชงคลังเพิ่มทุน             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารอาคารสงเคราะห์

   
search resources

ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ขรรค์ ประจวบเหมาะ
Loan




ธอส.เตรียมเสนอบอร์ดไฟเขียวมาสเตอร์แพลนแก้หนี้เน่า 6 หมื่นล้านบาท จ้องจ้างเอาท์ซอร์สดำเนินการติดตามทวงหนี้แทน พร้อมเสนอแผนเพิ่มทุน 5 พันล้านบามให้กระทรวงการคลังอนุมัติบรรจุลงในงบปี 53

นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ธนาคารมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ เอ็นพีแอล อยู่ประมาณ 6 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 10.3% ของยอดสินเชื่อทั้งหมด ซึ่งนโยบายในปีนี้จะพยายามควบคุมไม่ให้มีเอ็นพีแอลเกิดใหม่เพิ่มเกิน 2% หรือ สิ้นปีนี้จะให้มียอดเอ็นพีแอลรวมอยู่ที่ 12%

โดยในวันที่ 26 มีนาคมนี้ ธนาคารจะเสนอแผนแม่บท(มาสเตอร์แพลน) ในการแก้ไขเอ็นพีแอลทั้งหมด ต่อคณะกรรมการธนาคารเพื่อให้พิจารณาต่อไป สำหรับสาระของมาสเตอร์แพลนแก้ไขเอ็นพีแอลดังกล่าว แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ1. การแก้ไขเอ็นพีแอลที่มีอยู่ 6 หมื่นล้านบาท 2.การแก้ไขเอ็นพีเอ ที่มีอยู่ 7 พันล้านบาท และ 3.การแก้ไขหนี้ส่วนขาดที่มีอยู่ 2 หมื่นล้านบาท

สำหรับแผนการจัดการ เอ็นพีแอลนั้นแบ่งออกเป็นเอ็นพีแอลที่มีอายุไม่เกิน 3 ปี มีอยู่ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท นั้นธนาคารจะเป็นผู้จัดการเอง ส่วนเอ็นพีแอลที่มีอายุตั้งแต่ 3-5 ปี มีอยู่ประมาณ 1 หมื่นล้านบาทนั้นจะว่าจ้างให้เอกชนภายนอกเข้ามาบริหารจัดการให้ ซึ่งธนาคารก็จะจ่ายผลตอบแทนให้ 7% ของยอดหนี้ที่ติดตามมาได้ และในหลักการของหนี้ที่ให้เอกชนภายนอกติดตามนั้นต้องเป็นหนี้ที่มีวงเงินกู้ตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป และมีการค้างชำระตั้งแต่ 90 วันขึ้นไป หากคิดตามคำนิยามดังกล่าวแล้วจะมีหนี้ที่เข้าข่ายอยู่ 20-30% ของยอดเอ็นพีแอลทั้งหมด

เตรียมเปิดกรุขายเอ็นพีเอ

ส่วนเอ็นพีแอลที่มีอายุมากกว่า 5 ปี มีอยู่ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ก็จะทยอยขายออกไปอย่างต่อเนื่อง ส่วนแผนจัดการกับทรัพย์สินรอการขาย หรือ เอ็นพีเอ ที่มีอยู่ 7 พันล้านบาทนั้นจะต้องทำการลดให้มากที่สุด โดยเฉพาะเอ็นพีเอ ที่อยู่กับธนาคารมานาน และในวันเสาร์ที่ 25 เม.ย.นี้ก็จะทำการเปิดประมูล เอ็นพีเอ มีการลดราคา เพื่อกำจัดเอ็นพีเอออกไป สำหรับกรณีของหนี้ส่วนขาด คือเป็นหนี้หรือเป็นทรัพย์ที่ได้ขายทอดตลาดออกไปแล้ว แต่ไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้ ธนาคารก็ต้องเร่งขายออกไป ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท

“นโยบายของธอส. คือต้องติดตามหนี้ หากไม่จำเป็นไม่ฟ้องลูกหนี้ ซึ่งในส่วนของเอ็นพีแอลได้ทำมาสเตอร์แพลนแล้ว แต่สิ่งสำคัญเราได้พยายามกันสินเชื่อดีไม่ให้ไหลมาเป็นเอ็นพีแอล แต่ที่ผ่านมา คนที่เคยผ่อนพอมาเจอปัญหาจะไม่มาคุยกับธนาคาร จึงหยุดผ่อน ทำให้ดอกเบี้ยวิ่งไปแล้ว สิ่งเหล่านี้เราจะลดดอกเบี้ยให้ได้เยอะ เพราะเรามีการรับรู้ดอกเบี้ยเงินต้นอยู่แล้ว และอะไรที่เรายังไม่ได้รับรู้ก็จะยกประโยชน์ให้กับลูกค้า เพราะฉะนั้นหากลูกค้าคิดว่าไม่ไหวก็ให้มาคุยกับธนาคารได้ ธนาคารจะพยายามช่วยให้ได้มากที่สุด”

นายขรรค์กล่าวว่า สำหรับการแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ในการรีไฟแนนซ์นั้น ธนาคารจะต้องคุยกับลูกค้าก่อน หากลูกค้าไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยได้ ธนาคารก็จะพิจารณาว่าจะปรับลดดอกเบี้ยได้หรือไม่ แต่ข้อด้อยของธอส.คือให้บริการได้เฉพาะสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้อย่างเดียวซึ่งเสียเปรียบธนาคารพาณิชย์ทั่วไปเวลารีไฟแนนซ์แล้วจะนำ บัตรเครดิต สินเสื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ มารวมกันและให้นำสินเชื่อบ้านมารีไฟแนนซ์ด้วย ทำให้ธอส.สู้ไม่ได้ ต้องยอมรับแต่สำหรับลูกค้าที่เป็นรัฐวิสาหกิจธนาคารให้ความสนใจมากโดยได้เสนอดอกเบี้ยพิเศษในปีแรกให้อีก 0.25%

ขอเพิ่มทุน 5 พันล้านในงบปี 53

นายขรรค์กล่าวถึงแผนการเพิ่มทุนอีก 5,000 ล้านบาท จะเสนอกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาบรรจุเข้าในงบประมาณในปี 2553 เพราะหากได้เม็ดเงินเพิ่มทุนอีก 5 พันล้านบาท ก็จะทำให้เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามมาตรฐาน BIS ปรับตัวดีขึ้น เป็น 11-12% จากปัจจุบันธนาคารมี BIS อยู่ที่กว่า 10% ซึ่งทุนจดทะเบียนในปัจจุบันอยู่ที่ 1.7 หมื่นล้านบาท มีเงินกองทุนอยู่ที่ 2.9 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ได้รวมกำไรสะสมเข้าไปแล้ว ในจำนวนนี้เป็นเงินกองทุนขั้นที่1 ประมาณ 2.7 หมื่นล้านบาท เป็นเงินกองทุนขั้นที่ 2 จำนวน 500 ล้านบาท ส่วนที่กระทรวงการคลังให้มา 5 พันล้านบาทแล้วนั้นจะนำมาเป็นเงินทุนหมุนเวียน

ส่วนเรื่องสภาพคล่องในขณะนี้ธนาคารยังไม่มีปัญหา เพราะมีอยู่ประมาณ 6 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 12%ถือว่าอยู่ในภาวะที่เหมาะสม ไม่มากไปไม่น้อยไป และที่สำคัญธนาคารไม่ได้นำเงินไปลงทุนอะไรที่มีความเสี่ยง แต่ก็ได้นำเงินดังกล่าวไปหาผลประโยชน์ด้วยการฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และที่สำคัญธนาคารต้องเก็บสภาพคล่องส่วนหนึ่งเอาไว้ด้วยเพราะ บริษัทเอกชนในขณะนี้ไม่สามารถไปกู้ยืมสถาบันการเงินต่างประเทศได้ ต้องหันมากู้ในประเทศแทน หากสภาพคล่องหายไปก็จะระดมทุนครั้งต่อไปลำบาก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us