แบงก์ทหารไทย เร่งจัดการหนี้ด้อยคุณภาพที่ยกให้บบส.พญาไทบริหาร
ด้วยการขายให้กับบสก.ล็อตใหญ่มูลค่าเกือบ 4.2 หมื่นล้านบาท ในราคา 2.2 หมื่นล้าน
พร้อมเข็น 3 มาตรการ จัดการกับเอ็นพีแอลที่เหลือ ให้ลดลงต่ำกว่า 10% ภายใน สิ้นปีนี้
และเหลือเพียง 5% ในปีหน้า
วานนี้ (3 ก.ย.) ธนาคารทหารไทย ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายสินทรัพย์
ซึ่งประกอบด้วยหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ เอ็นพีแอล และทรัพย์สินรอการขาย
หรือเอ็นพีแอลของบริษัท บริหารสินทรัพย์พญาไท จำกัด (บบส. พญาไท = PAMC) ให้กับบริษัท
บริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.)
นายสุภัค ศิวะรักษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ รักษาการแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่
ธนาคารทหารไทย หรือ TMB กล่าวว่า ทรัพย์สินที่ซื้อขายในครั้งนี้ แบ่งเป็น หนี้เงินต้นและดอกเบี้ยประมาณ
41,500 ล้านบาท และ Legal Claim จากดอกเบี้ยที่ไม่รับรู้เป็นรายได้ประมาณ 26,000
ล้านบาท ซึ่ง BAM มีสิทธิเรียกร้องจากลูกหนี้ได้ โดยบสก.รับซื้อสินทรัพย์ใน ครั้งนี้ในราคาประมาณ
22,000 ล้าน บาท
"การขายหนี้ให้กับบสก. ทำให้ธนาคารจะต้องกันสำรองเพิ่ม
ประมาณ 3-4 พันล้านบาท เนื่อง จากขายในราคา discount 15-16% ซึ่งในแผนเพิ่มทุนของธนาคารในจำนวน
2.2 หมื่นล้านบาท ที่ธนาคาร ต้องกันสำรองจำนวน 1.6 หมื่นล้านบาท ได้รวมการกันสำรองเพิ่มในวันนี้เรียบร้อยแล้ว"
สำหรับเอ็นพีแอล และเอ็นพีแอลของบบส.พญาไท ที่ขายให้กับบสก.ครั้งนี้
ได้ทยอยรับโอนจาก ธนาคารทหารไทย ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2543 ถึงเดือนธันวาคม 2544
รวม 10 ครั้ง เป็นจำนวนเงิน สุทธิหลังปรับราคา 34,138 ล้านบาท โดยใช้เงินกู้ยืมจากธนาคารทหาร
ไทยจำนวน 34,086 ล้านบาท
โดยบบส.พญาไท ได้ดำเนินการบริหารทรัพย์สินที่รับโอนมาจนถึงวันที่
30 มิถุนายน 46 สามารถ เรียกเก็บเงินและทรัพย์สินจากเอ็นพีแอล จำนวน 9,723 ล้านบาท
ซึ่งรับรู้เป็นรายได้หลังหักต้นทุนรับซื้อจำนวน 1,781 ล้านบาท และจำหน่ายเอ็นพีแอลจำนวน
391 ล้านบาท
สำหรับผลการดำเนินงานของ บบส.พญาไท ในครึ่งแรกของปี
2546 ที่ผ่านมา บบส.พญาไท มีผลกำไรประมาณ 152 ล้านบาท เทียบ กับที่ขาดทุนในช่วง
2 ปีก่อนหน้า และที่ผ่านมาบบส.พญาไทได้คืนเงินต้นธนาคารไปแล้วประมาณ 5,500 ล้านบาท
การขายหนี้ของบบส.พญาไทครั้งนี้ ทำให้เอ็นพีแอลของธนาคาร
ทหารไทยลดลงประมาณ 27,500 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามแผนที่ทางธนาคารทหารไทย ได้ยื่นต่อธนาคารแห่งประเทศไทยและเป็นการ
Clean up ธนาคารตามนโยบายที่ธนาคารตั้งใจดำเนิน การ และหลังจากการขายหนี้ ครั้งนี้บบส.พญาไทจะมีสินทรัพย์คงเหลือประมาณ
6,000 ล้านบาท โดยมีหนี้ที่ธนาคารทหารไทย จำนวน 3,000 ล้านบาท และทุนจดทะเบียน
3,000 ล้านบาท
เอ็นพีแอลเหลือเพียง 4.2 หมื่นล้าน
ดร.สุภัค กล่าวว่าภายหลังจาก ที่ธนาคารขายหนี้ NPL ใน
บบส. พญาไทให้กับบสก.แล้ว ธนาคารจะมีเอ็นพีแอลคงเหลืออยู่ที่ ธนาคาร 4.2 หมื่นล้านบาท
หรือคิดเป็น 13% และภายในธันวาคม 2546 ธนาคารมีเป้าหมายที่จะ ลดเอ็นพีแอลลงอีก
1 หมื่นล้าน บาท ทำให้เอ็นพีแอลของธนาคารเหลือ 3.2 หมื่นล้านบาท หรือ เป็นสัดส่วนต่ำกว่า
10% และตั้งเป้าหมายว่าในเดือนธันวาคม 2547 ธนาคารจะลดเอ็นพีแอลลงอีกประมาณ 2 หมื่นล้านบาท
ให้เหลือ เอ็นพีแอลที่ธนาคารประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนต่ำกว่า
5%
3 แนวทางหลักลดหนี้เอ็นพีแอล
สำหรับแนวทางการลดเอ็นพีแอลของธนาคารในปีนี้ธนาคารจะดำเนินการใน
3 แนวทางคือ แนวทางแรก ลูกหนี้ที่มีปัญหาและอยู่ระหว่างการดำเนินคดีการขายทอด
ตลาดจะมีสัดส่วน 30% แนวทางที่ 2 คือ การปรับโครงสร้างหนี้ของ ลูกหนี้ตามระยะเวลาที่ธนาคารกำหนด
แนวทางที่ 3 จะให้ลูกหนี้ที่มีความสามารถในการไถ่ถอน ให้ดำเนินการไถ่ถอนหนี้ออกไป
โดยในช่วงแรกคาดว่าลูกหนี้จะสามารถไถ่ถอนหนี้ได้ประมาณ 2 พันล้านบาท โดยส่วนใหญ่จะเป็นลูกหนี้รายย่อยซึ่งปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยของธนาคารถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำ ซึ่งน่าจะเอื้อประโยชน์ให้ลูกหนี้ ในการไถ่ถอน
สำหรับกรณีของกลุ่มวังขนายนั้นได้ปรับโครงสร้างหนี้ไปเรียบร้อยแล้วประมาณ
3-4 ปีที่ผ่านมา และสามารถชำระหนี้ คืนแก่ทางธนาคารตามเงื่อนไขได้แล้ว ส่วน NPA
ที่เหลืออยู่กับธนาคารนั้นก็มีแนวทางที่จะขายออกไป โดยเน้นขายให้กับผู้ถือ หุ้นรายใหญ่
เช่น สามเหล่าทัพ อาจจะซื้อ NPA เพื่อนำไปเป็นที่พักอาศัยสำหรับบุคลากรในสังกัด
หรือเพื่อนำไปเป็นอาคารสำนักงานก็ได้ หรือหากมีข้อเสนอที่ดีทางธนาคารก็พร้อมที่จะเจรจา
อนึ่ง PAMC ได้เจรจากับ BAM ในการที่จะรับบริหารหนี้ที่ขายให้กับ
BAM โดยจะคิดค่าธรรม เนียมจากรายได้ที่เรียกเก็บได้โดยหักด้วยเงินลงทุนของ BAM
ซึ่งจะช่วยให้การแก้หนี้ของ BAM กระทำได้รวดเร็วขึ้น เพราะ PAMC รู้จักลูกหนี้ทุกรายอยู่แล้ว