|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เตรียมปัดฝุ่นดึงมาตรการเก่าเสริมสภาพคล่องตลาดฯ หลังมูลค่าการซื้อขายหาย 50% เสนอยกเว้น ภาษีที่เป็นกำไรจากการลงทุนของนิติบุคคล เตรียมนำมาร์เก็ตเมคเกอร์ กลับมาใช้แก้ปัญหาสภาพคล่อง เริ่มนำมาใช้กับหุ้นไอพีโอก่อน ยื่นเรื่องให้เตรียมยื่น ครม.พิจารณาเปิดทาง บจ.เพิ่มทุนได้ ระหว่างอยู่ในโครงการซื้อหุ้นคืน
กัมปนาท โลหเจริญวนิช นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ เปิดเผยว่า ผลจากการประชุมระหว่างสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)ในเรื่องมาตรการเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาดทุนนั้น ในที่ประชุมได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาสภาพคล่องการซื้อขายที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นให้เกิดความสนใจในเรื่องของดีมานด์ โดยเสนอให้บริษัทจดทะเบียนสามารถลงทุนซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนอื่นได้ โดยจะเสนอให้ยกเว้นการเก็บภาษีที่เป็นกำไรจากการลงทุน หรือเก็บในอัตราที่ต่ำ
"การยกเว้นภาษีจากกำไรให้กับนิติบุคคล ที่ได้กำไรจากการลงทุนในตลาดหุ้น โดยปกติการลงทุนบริษัทจะต้องเสียภาษีรายได้นิติบุคคล 30% นั้น เชื่อว่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสร้างดีมานด์ ในตลาดระยะยาวได้ และคาดว่าจะไม่ผลกระทบต่อรายได้การเก็บภาษีของภาครัฐ เนื่องจากปัจจุบันบริษัทจดทะเบียนไม่ได้มีการลงทุนในบริษัทจดทะเบียนอื่น"
นอกจากการซื้อหุ้นคืน Treasury Stock ซึ่งก็ไม่เสียภาษีอยู่แล้ว โดยคาดว่าจะเสนอแนวคิดดังกล่าวผ่าน กรณ์ จาติกวณิช รวม.คลัง เพื่อพิจารณา ทั้งนี้ยังเสนอให้มีผู้ดูแลสภาพคล่อง(Market Marker) กลับมาพิจารณาเพื่อนำมาใช้ใหม่ รวมถึงการหากลุ่มนักลงทุนเสนอให้ เจาะกลุ่มลูกค้าโดยเน้นที่พนักงานของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งจากการสำรรวพบว่า พนักงานมีศักยภาพในการลงทุนได้อีกประมาณ 1 แสนราย จากปัจจุบันที่ตลาดหลักทรัพย์เน้นเจาะกลุ่มลุกค้าแบงก์พาณิชย์เป็นหลัก
นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีแนวคิดเสนอให้บริษัทหลักทรัพย์ลดทุนจดทะเบียนเพราะราคาหุ้นในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับปริมาณธุรกิจที่ 40 โบรกเกอร์ มีธุรกิจนายหน้าเป็นธุรกิจหลัก
รวมทั้งให้เพิ่มสินค้าอนุพันธ์ในตลาดให้เร็วขึ้น เช่น Interest rate Future และDerivative Warrant โดยคาดว่าจะออกได้ในปีนี้ เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับนักลงทุน หลังจากที่ปริมาณการซื้อขายอนุพันธ์โดยรวมใน TFEX เติบโต 60% ในปี 2551
อย่างไรก็ตามปริมาณการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์หายไปถึง 50% ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความไม่เชื่อมั่นของนักลงทุน หลังจากที่นักลงทุนต่างประเทศขายหุ้นไปในช่วงปีที่ผ่านมาและยังขายต่อเนื่อง ซึ่งการที่จะหวังให้นักลงทุนต่างประเทศกลับมาเป็นผู้ซื้อเพื่อเสริมสภาพคล่องคงเป็นเรื่องยาก ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นที่ต้องร่วมมือกันในการส้รางDemand เพื่อเสริมสภาพคล่อง
|
|
|
|
|