|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เอ็มเอฟซีห่วงรัฐเก็บรายได้ต่ำกว่า 1 แสนล้าน แนะรัฐเร่งเพิ่มภาษีน้ำมัน และ ธปท.ต้องลดสภาพคล่องส่วนเกินกว่า 5 แสนล้านบาทลง ด้านกลยุทธ์การลงทุนพร้อมลดสัดส่วนพันธบัตรรัฐบาล เพิ่มสัดส่วนหุ้นกู้เรตติ้งดี ส่วนกองหุ้นตะลุยเก็บกลุ่มปันผลเกิน 6% มั่นใจทั้งปีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารเติบโตได้ 20%
ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) เอ็มเอฟซี ประเมินว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ส่งผลให้แนวโน้มจัดเก็บรายได้และกำไรของบริษัทเอกชน รวมทั้งรัฐวิสาหกิจอาจลดลง รวมทั้งความสามารถจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลไม่ได้ตามที่ประมาณการไว้ โดยช่วง 5 เดือนที่ผ่านมารัฐบาลจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าประมาณการถึง 8.8 หมื่นล้านบาท และคาดว่าสิ้นปีนี้รัฐบาลจะเก็บรายได้ลดลงกว่า 1 แสนล้านบาท ซึ่งจะกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจแน่นอน
“รายได้ของรัฐที่ลดลงอาจมีผลกระทบต่อโครงการที่ลงทุน และการเติบโตของเศรษฐกิจ ขณะที่เพดานหนี้สาธารณะที่ใกล้เต็มอาจส่งผลให้การกู้เงินของรัฐทำได้ไม่มากนัก รัฐบาลต้องรีบหาช่องทางเพิ่มรายได้”
ทั้งนี้รัฐบาลยังสามารถปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตน้ำมันได้อีกเนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดอยู่ระดับต่ำ และช่องทางนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนมากนัก รวมทั้งช่วยสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน ซึ่งเกษตรกรจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์ด้วย โดยคาดว่าการปรับเพิ่มภาษีน้ำมันจะส่งผลให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 10,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ ช่องทางการหาแหล่งเงินทุนของภาครัฐอาจมาจากการกู้ยืมเงินจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยอาจให้ธปท.ไปซื้อหุ้นกู้ภาคเอกชนหรือเข้าไปกู้ยืมเงินของธนาคารพาณิชย์ที่มีสภาพคล่องล้น โดยเฉพาะเงินฝากที่ถูกกว่าเงินกู้ถึง 14% หรือมีสภาพคล่องส่วนเกินประมาณ 5 แสนล้านบาท
“นโยบายผ่อนคลายดอกเบี้ยของธปท.จะไม่เห็นแล้วเพราะแบงก์พาณิชย์มีโอกาสลดดอกเบี้ยเงินฝากลงอีก จากปัจจุบันที่ 0.5-0.75% ซึ่งปีนี้อาจเห็น 0.25-0.50% ขณะที่ดอกเบี้ยเงินกู้เท่าเดิม”
ด้าน ศุภกร สุนทรกิจ รองกรรมการผู้จัดการ บลจ. เอ็มเอฟซี กล่าวว่า ผลกระทบจากดอกเบี้ยทั่วโลก และของไทยปรับลดลง ส่งผลให้ผลตอบแทนจากเงินฝากและพันธบัตรรัฐบาลลดลงจนไม่น่าสนใจ จึงปรับกลยุทธ์หันไปเพิ่มสัดส่วนลงทุนหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น โดยพิจาณาอันดับความน่าเชื่อถือเป็นหลักเนื่องจากให้ผลตอบแทนสูงกว่าพันธบัตรรัฐบาลประมาณ 1-2%
“ปีนี้บริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่หลายแห่งหันมาออกหุ้นกู้มากขึ้น จึงแข่งขันผลตอบแทนสูง ซึ่งเป็นผลดี และเพิ่มทางเลือกลงทุน ส่วนกองหุ้นจะเน้นหุ้นปันผลสูง เช่น กลุ่มโรงพยาบาล ,อสังหาบางบริษัท และหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการบริโภค เช่น CPF CPALL ให้ปันผลสูงกว่า 6% แต่จะเพิ่มความระมัดระวังลงทุนด้วยการถือเงินสดมากขึ้น รวมทั้งเลือกใช้ตราสารอนุพันธ์บริหารเสี่ยง”
ส่วน พิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บลจ.เอ็มเอฟซี กล่าวว่า บริษัทตั้งเป้าการเติบโตของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิภายใต้การจัดการ(AUM)ปีนี้ 20% หรือ 2.6 หมื่นล้านบาท โดยเน้นลงทุนกองทุนอสังหาริมทรัพย์เติบโตดีอยู่ ส่วนรายได้จากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 25-30%จากปีก่อน แม้ปีนี้มีโอกาสสูงจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจระลอก 2 เนื่องจากเศรษฐกิจตกต่ำลงต่อเนื่อง และสถาบันการเงินหลายแห่งขาดสภาพคล่องหนัก และมีสถาบันการเงินอีกมากที่ไม่ได้เปิดเผยสินทรัพย์ความเสียหาย ทำให้รัฐบาลยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งหมด
|
|
|
|
|