Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์23 มีนาคม 2552
กลยุทธ์ 4 แชมป์ TQC ต่อยอดบริหารสู่ความเป็นเลิศ             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ปตท., บมจ.
ไทยลู้บเบส, บมจ.
Knowledge and Theory




* เครือปตท.-ไทยลู้บเบส-รพ.ยุพราช-บำรุงราษฎร์
* เผยเคล็ด (ไม่ )ลับ+หลักคิดปรับองค์กร
* พิชิตเป้าองค์กรบริหารจัดการที่เป็นเลิศ
* ย้ำหนทางแชมป์อาศัย“ผู้นำ-มุ่งมั่น-ต่อเนื่อง”

ผ่านพ้นไปแล้วเป็นปีที่ 7 สำหรับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award – TQA ) และ “รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ” (Thailand Quality Class – TQC) ประจำปี 2551 ในปีนี้ ไม่มีองค์กรใดได้รางวัล TQA มีเพียง 4 องค์กรจาก 2 กล่มพลังและกลุ่มโรงพยาบาลคว้าแชมป์ TQC ไปอย่างเหนือคาด สะท้อนถึงความสำเร็จองค์กรคุณภาพ ซึ่งมีระบบการบริหารจัดการเป็นเลิศเทียบเท่ามาตรฐานโลก

โดยเฉพาะกลุ่มโรงพยาบาล จัดว่ามีทั้งโรงพยาลอินเตอร์จากภาคเอกชนและโลคอล จากภาครัฐที่เป็น จึงเป็นกรณีตัวอย่างสะท้อนการยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการเทียบเท่าสากลอย่างของกลุ่มโรงพยาบาลได้อย่างน่าสนใจ

ขณะที่เครือปตท.ปีนี้ก็ยังรักษาแชมป์ได้ต่อเนื่อง โดยสายงานระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ จากเครือธุรกิจสายการผลิตและท่อส่งก๊าซสอบผ่านเป็นอีกองค์กรคุณภาพอีกครั้งหนึ่ง ท่ามกลางองค์กรน้องใหม่ที่พาเหรดเข้ามาเทียบแชมป์กันอย่างพร้อมเพรียง

4 บิ๊กบอสขององค์กรที่คว้าแชมป์ วิเคราะห์ กลยุทธ์แห่งความสำเร็จ จุดเด่นองค์กร ตอบโจทย์องค์กรคุณภาพได้อย่างน่าศึกษา

เครือปตท.แชมป์ปี 2 ผู้นำองค์กรมุ่งมั่น

จากกลุ่มพลังงาน องค์กรแรก ได้แก่ บริษัทในเครือปตท. สายงานระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในเครือธุรกิจสายงานผลิตและท่อส่งก๊าซ โดยผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ระบบท่อก๊าซธรรมชาติ นายพีระพงษ์ อัจฉริยชีวิน ให้ทัศนะว่า กลยุทธ์ความสำคัญในครั้งนี้ คือ วิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่มุ่งมั่นต้องการสร้างองค์กรให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล, มีการวางแผนกลยุทธ์แบบ Synergy กันทั้งปตท

รวมทั้ง วางกรอบแนวคิดพนักงานในการตัดสินใจ และช่วยกำหนดทิศทางการปฏิบัติงาน ทำให้เกิดพลังร่วมของพนักงานทุกคน ขณะเดียวกันยังประยุกต์ใช้เครื่องมือบริหารจัดการสู่การปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม อาทิ ISO 9000 ISO10400 ISO 18000ซึ่งปัจจัยที่นำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ

ทั้งนี้บริษัทตัดสินใจเข้าสู่เกณฑ์บริหารจัดการ TQA เป็นที่ปีสอง เนื่องจากในปี 2550 บริษัทปรับปรุงด้านการตลาดแยกเป็นหน่วยงานเดียวและล่าสุดได้ปรับเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มค้าส่งและกลุ่มค้าปลีก และบริษัทได้ปรับปรุงจุดด้อยต่างๆให้ดีขึ้น มีผลลัพท์ที่ดี

“องค์กรได้สร้างโอกาสการพัฒนา และปรับปรุงตนเอง มุ่งสู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน ด้วยกระบวนการประเมินตนเองโดยใช้เกณฑ์ TQA รวมถึงการรับข้อมูลป้อนกลับ (Feedback Report) เพื่อมาปรับปรุงกระบวนการทำงานภายในอย่างเป็นระบบ โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างสมดุล นอกจากนี้ พนักงานยังมีแนวคิดการทำงานแบบบูรณาการกันทั้งกระบวนการ และปฏิบัติงานโดยมุ่งบรรลุภารกิจ และวิสัยทัศน์ขององค์กร” นายพีระพงษ์ กล่าว

ไทยลู้บเบส TQA ปูทางสู่องค์กรเรียนรู้

องค์กรที่สอง คือ บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (มหาชน) โดย นายอภินันท์ สุภัตรบุตร กรรมการอำนวยการ กล่าวว่า ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร คือ ต้นทุนการผลิตต่ำ เมื่อเทียบกับผู้ผลิตน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานอื่นในภูมิภาค, มีความร่วมมือกับไทยออยล์และการสนับสนุนจาก ปตท., และกับคู่ค้าซึ่งเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์พิเศษ

ด้านวิสัยทัศน์ บริษัทวางแนวทางเป็นบริษัทชั้นนำของภูมิภาคในการดำเนินธุรกิจ น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน และผลิตภัณฑ์พิเศษด้วยระบบคุณภาพสากล ภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยมีพันธกิจหลัก คือ เน้นการผลิตและพัฒนาน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานและผลิตภัณฑ์พิเศษให้มีคุณค่าสูงสุด สอดคล้องกับความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป และมีการดำเนินธุรกิจร่วมกับคู่ค้าโดยถือเสมือนหุ้นส่วน เพื่อเพิ่มผลประโยชน์และความสามารถในการแข่งขันร่วมกัน,

อีกทั้งยึดมั่นในระบบคุณภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม, ดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสและมีจริยธรรม, ส่งเสริมให้พนักงานทำงานเป็นทีม มีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กร รวมทั้งมุ่งพัฒนาพนักงานเพื่อความเป็นเลิศในวิชาชีพ

“ผลลัพธ์จากการนำเกณฑ์รางวัล TQA มาใช้ ได้ก่อให้เกิดการพัฒนาและปรับปรุง รวบรวมและกลั่นกรององค์ความรู้ขององค์กร เพื่อพัฒนาไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้, เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดการดำเนินงานที่เป็นเลิศขององค์กรสู่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นระบบ” นายอภินันท์ กล่าว

ส่วนกรณี บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นองค์กรที่เพิ่งสมัครเข้ามาเป็นปีแรก แต่ก็สามารถพิสูจน์มาตรฐานบริหารจัดการได้ไปตามแนวทาง TQA จุดเด่นของไทยลู้บเบส ส่วนหนึ่ง มาจากบริษัทไทยออยล์ ซึ่งเป็นบริษัทที่ถือหุ้นใหญ่ มีระบบการทำงานที่ดีอยู่แล้ว โดยเป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนว่า สำหรับองค์รขนาดใหญ่ ที่มีระบบมาตรฐานที่ดีอยู่แล้ว ก็สามารถสมัครเข้ามาตรฐาน TQA ได้เลย ทำได้ดีและรวดเร็วด้วย อันจะเป็นแรงผลักดัน ช่วยหนุนให้องค์กรมั่นคงและยั่งยืนเร็วขึ้น

บำรุงราษฎร์ พันธกิจเวิล์ดคลาส

สำหรับ 2 แชมป์กลุ่มโรงพยาบาล ประเดิมรายแรก คือ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล โดย ศาสตราจารย์คลินิก นพ.อภิชาติ ศิวยาธร ผู้อำนวยการด้านคุณภาพ กล่าวว่า บำรุงราษฎร์ มีพันธกิจที่จะให้บริการด้านการรักษาพยาบาลอย่างเอื้ออาทรและได้มาตรฐานระดับโลก โดย เคล็ดลับที่นำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ คือ การที่ผู้นำองค์กรมีวิสัยทัศน์ ดำเนินการบริหารแบบผสมผสานด้วยความเชี่ยวชาญจากผู้บริหารนานาชาติ

อีกทั้งมีความมุ่งมั่นสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพและนวัตกรรมทุกด้านอย่างต่อเนื่อง, มีการบูรณาการมาตรฐานคุณภาพทุกมาตรฐานเป็นเรื่องเดียวกัน, มุ่งเน้นความปลอดภัยของผู้ป่วยและญาติ และการบริการที่ประทับใจและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

จนเป็นวัฒนธรรมองค์กร ที่แพทย์และพนักงานทุกคนปฏิบัติตลอดมา, มีระบบการคัดสรรแพทย์ทุกสาขา บุคลากรทางการแพทย์และพนักงานที่มีคุณภาพ เพื่อให้การดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยทุกคนด้วยมาตรฐานสากล เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความพึงพอใจสูงสุด และเป็นผู้นำในการพัฒนาระบบเวชสารสนเทศ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยตลอดเวลา

“ผลลัพธ์ที่ได้จากการนำเกณฑ์ TQA มาใช้ คือ มีการนำกรอบแนวคิดของ TQA มาบูรณาการกับมาตรฐาน HA และ JCI เพื่อพัฒนาระบบบริหารองค์กรให้ดียิ่งขึ้น, มีระบบประเมินการบริหารจัดการที่เป็นรูปธรรม ทั้งจากภายในองค์กรและนอกองค์กร, มีการบูรณาการระบบติดตามผลดำเนินงานทั้งด้านกลยุทธ์และการปฏิบัติการ รวมทั้งการทำเบนช์มาร์คไปถึงระดับนานาชาติ, TQA ทำให้มีการทำงานเป็นทีม แลกเปลี่ยนความรู้แบบผสมผสาน บูรณาการ และเชื่อมโยงระบบงานของโรงพยาบาลให้มุ่งสู่ความเป็นเลิศ” นพ.อภิชาติ กล่าว

สมเด็จยุพราช รพ.โลคอล แต่มาตรฐานสากล

รายที่สอง ได้แก่ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชตะพานหิน โดยผู้อำนวยการ นายกิตติโชติ ตั้งกิตติถาวร บอกว่า โรงพยาบาลมีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นหนึ่งในโรงพยาบาลชุมชนที่มีคุณภาพเป็นเลิศระดับประเทศและเป็นที่รักของประชาชน โดยมีพันธกิจเป็นโรงพยาบาลชุมชนที่มีประชาชนทุกกลุ่มเลือกใช้บริการ

ขณะที่บริการสุขภาพ เน้นสร้างคุณภาพ ส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน พร้อมทั้งบริหารจัดการด้วยระบบธรรมาภิบาล ทำให้บุคลากรมีคุณภาพ จริยธรรม และมีความสุข ขณะเดียวกันมุ่งสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และ สร้างความพึงพอใจแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ

ปัจจัยสู่ความสำเร็จของโรงพยาบาล ผู้อำนวยการรพ. บอกว่า คือ ความมุ่งมั่นของผู้บริหารและความร่วมมือร่วมใจของเจ้าหน้าที่ในการทำงาน ร่วมกันเป็นทีมแบบพี่น้อง, ความรู้และศักยภาพของเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง, การที่โรงพยาบาลนำระบบบริหารคุณภาพที่ทันสมัยมาใช้และพัฒนาให้เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาลมามากกว่า 10 ปี, การได้รับความสนับสนุนเป็นอย่างดีจากองค์กรภาคประชาชนโดยเฉพาะมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ทั้งส่วนกลางและสาขา

“การนำเกณฑ์ TQA มาใช้ประเมินตนเองทำให้เห็นโอกาสในการพัฒนาที่ชัดเจน ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ทุกระดับได้รับรู้ร่วมกันและผลักดันให้การพัฒนาในทุกด้านไปในทิศทางเดียวกัน และตอบสนองผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม และยังทำให้เกิดระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับเป้าหมายและทิศทางขององค์กร” นายกิตติโชติ กล่าว

เผย ขนาดไม่สำคัญ มุ่งมั่น+ผู้นำ คีย์ซัคแซส

ทางด้าน ผู้อำนวยงานสำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ นพัชร วัลลภศิริ ให้ทัศนะว่า สำหรับ กรณีตัวอย่าง องค์กรภาครัฐที่สามารถปรับการบริหารจัดการเข้าสู่มาตรฐานสากล ต้องยกให้ “โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชตะพานหิน” ซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็ก ดำเนินการในชนบท แต่สามารถประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการตามแนวทางTQA ล่าสุดได้ชนะเลิศได้รางวัลTQC

“จุดเด่นของโรงพยาบาลแห่งนี้ คือ ความมุ่งมั่นของผู้นำรพ.ที่ให้ความสำคัญในด้านนี้มาก ทำให้วัฒนธรรมองค์กรออกมาเป็นการบริหารจัดการที่เป็นเลิศอย่างชัดเจน อีกทั้งคนทำงานของโรงพยาบาลก็มีพลังขับเคลื่อน ตั้งใจทำงานเพื่อให้การพัฒนาอย่างยั่งยืนสูงมาก สะท้อนให้เห็นว่าจะเป็นหน่วยงานเล็กๆ ในต่างจังหวัด ก็สามารถบริหารจัดการให้ได้มาตรฐานสากลได้เช่นเดียวกับองค์กรขนาดอื่นๆ”

TQA เทรนด์นิยม รพ.-รัฐวิสาหกิจแห่ร่วม

ทั้งนี้ แนวโน้มองค์กรกลุ่มโรงพยาบาลได้นำเอามาตรฐานTQA มาบริหารจัดการมากขึ้นและประสบความสำเร็จได้เกณฑ์TQC ส่วนหนึ่ง เพราะโรงพยาบาลได้เกณฑ์มาตรฐาน HA เป็นพื้นฐานสนับสนุนอยู่แล้ว ซึ่งมีกฎเกณฑ์คล้ายคลึงกับTQA ดังนั้นโรงพยาบาลที่ได้ HA จึงเข้ามาร่วมปฎิบัติตามเกณฑ์TQA เช่นเดียวกับเทรนด์ของต่างประเทศ โดยเฉพาะที่อเมริกา ในระยะหลังการบริหารจัดการโรงพยาบาลจึงเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน TQAให้เห็นกันมาก ล่าสุดมีกว่า 42 องค์กรที่มาจากกลุ่มโรงพยาบาล สะท้อนให้เห็นเทรนด์ที่เป็นที่นิยม

ผอ.คนเดิม บอกด้วยว่า นอกจากนี้ในแง่ผู้สมัครสนใจเองก็มาจากกลุ่มหลากหลายทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ก็ได้นำเอาเกณฑ์TQA เข้าไปปรับปรุงในการบริหารจัดการ นอกเหนือจากเกณฑ์ซีบร้า ซึ่งเป็นเกณฑ์บริหารจัดการอีกแบบหนึ่งของรัฐวิสาหกิจที่มีอยู่และใกล้เคียงกับเกณฑ์ของทีคิวเอแล้ว โดยคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจเองก็ได้ออกนโยบายกำหนดให้รัฐวิสาหกิจจำนวน 10 แห่งทั้งหมด สมัครเข้าแนวทางเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ

หนึ่งในจำนวนนั้นได้แก่ ปตท. ซึ่งได้นำร่องจนได้รางวัลTQC มาแล้วในสองหน่วยงานธุรกิจในเครือฯ ทั้งบริษัทท่อส่งก๊าซธรรมชาติ และบริษัทโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ส่วนภาครัฐได้แก่ กพร. กระทรวงการคลัง กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงพลังงาน ก็ได้นำเอาเกณฑ์ TQA ในการบริหารจัดการ

“มองภาพรวม สำหรับการนำเอาเกณฑ์ TQAไปใช้บริการจัดการองค์กรในปัจจุบัน ถือว่า ขยายจำนวนและหลากหลายมากขึ้น ที่สำคัญภาครัฐ ซึ่งเป็นหน่วยหลักของประเทศผลักดันและมีการนำเอาไปใช้ เพื่อยกมาตรฐานจัดการและบริการระดับมาตรฐานสากล สะท้อนให้เห็นว่า แนวทางของประเทศไทยเดินไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น โดยจะรวดเร็วกว่าภาคเอกชน เพราะมีกำลังคนและผู้ที่เข้ามาเกี่ยวข้องเป็นส่วนใหญ่ของประเทศ”

TQA รางวัลองค์กรเวิล์ดคราส

รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award - TQA) จัดเป็นรางวัลระดับมาตรฐานโลก เนื่องจากมีพื้นฐานทางด้านเทคนิคและกระบวนการตัดสินรางวัลเช่นเดียวกับรางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ The Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA) ซึ่งเป็นต้นแบบรางวัลคุณภาพแห่งชาติที่ประเทศต่างๆ หลายประเทศทั่วโลกนำไปประยุกต์ เช่น ประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ เป็นต้น

เริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2539 ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของรางวัลนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจึงได้บรรจุรางวัลนี้ไว้ในแผนยุทธศาสตร์การเพิ่มผลผลิตของประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9

เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ แบ่งเป็น 7 หมวด ได้แก่

หมวดที่ 1 การนำองค์กร เป็นการตรวจประเมินผู้นำระดับสูง ในด้านการนำองค์กร และ ความรับผิดชอบต่อสังคม

หมวดที่ 2 การวางแผนเชิงกลยุทธ์ เป็นการตรวจประเมินว่าองค์กรทำอย่างไรในการกำหนดแผนกลยุทธ์ และมีวิธีการนำไปปฏิบัติให้สัมฤทธิ์ผลได้อย่างไร

หมวดที่ 3 การมุ่งเน้นลูกค้าและตลาด องค์กรต้องทราบว่าลูกค้าและตลาดคือใคร อะไรคือความต้องการ ความคาดหวังของลูกค้าที่มีต่อองค์กร และการประเมินความพึงพอใจของลูกค้า

หมวดที่ 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ในองค์กรว่าสอดคล้องและมุ่งไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่

หมวดที่ 5 การมุ่งเน้นบุคลากร ความผาสุกและความพึงพอใจของพนักงาน

หมวดที่ 6 การจัดการกระบวนการ ที่ทำให้ธุรกิจขององค์กรประสบความสำเร็จและเติบโต ทั้งการผลิต และกระบวนการสนับสนุนต่างๆ

หมวดที่ 7 ผลลัพธ์

ประโยชน์ของการประยุกต์ ใช้เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ

* บูรณาการระบบคุณภาพ และเครื่องมือด้านการบริหารที่องค์กรมีอยู่ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

* ระบุสิ่งที่องค์กรยัง “ไม่มี, ไม่เป็นระบบ, ไม่ได้ถ่ายทอด, ไม่ได้ปรับปรุง, ไม่ได้บูรณาการ” ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการแข่งขันเพื่อความเป็นเลิศ

* ระบุจุดแข็งที่องค์กรมีอยู่ และต้องรักษาไว้ตลอดจนทำให้ดีขึ้น

* บอกระดับการแข่งขันและศักยภาพขององค์กร   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us