Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์23 มีนาคม 2552
Single Airport เพื่อใคร? ประเทศชาติหรือพวกพ้อง             
 


   
search resources

Airport




*แฉเบื้องลึกย้ายการบินไทยกลับสุวรรณภูมิ พร้อมขยายสนามบินเฟส 2
*“โสภณ ซารัมย์” หักดิบนายกฯมาร์ค ลั่นบินไทยต้องย้ายกลับสุวรรณภูมิ 29 มี.ค.นี้
*กทม.จ้องฮุบขอใช้พื้นที่ Cargo สร้างรพ.200-500 เตียง

กลายเป็นความขัดแย้งใหญ่โตไปแล้วสำหรับการใช้สนามบินเดียว (Single Airport )หรือ 2 สนามบิน ระหว่างสหภาพรัฐวิสาหกิจการบินไทยกับผู้บริหารลามไปถึงระดับรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมที่หักหน้าอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการให้มีการทบทวนการย้ายกลับของสายการบินไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แต่กลับสั่งให้เดินหน้าย้ายสายการบินกลับภายในวันที่29 มี.ค.นี้ ตามมติฝ่ายบริหารการบินไทย

ทั้งนี้ การใช้สนามบินเดียวเป็นนโยบายมาตั้งแต่ก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ที่ต้องการให้มีความสะดวกในการเดินและเป็นศูนย์กลางทางการบินของภูมิภาคเอเชีย แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ

จนมาถึงรัฐบาลสุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่เร่งผลักดันให้เกิดการใช้สนามบินเดียว ซึ่งก็ประสบความสำเร็จในการผลักดันแต่ก็ใช้ได้แต่ 6 เดือน หลังจากนั้นก็ให้มีการย้ายสายการบินบางส่วนกลับมายังสนามบินดอนเมืองซึ่งหนึ่งในนั้นมีสายการบินไทยอยู่ด้วย สาเหตุที่รัฐบาลขิงแก่เปิดให้สายการบินกลับมาใช้สนามบินดอนเมือง เนื่องจากมีปัญหาเรื่องรันเวย์ร้าว และความแออัดของการจราจรทางการบิน จนมาถึงรัฐบาลนอมินี คือ รัฐบาลสมัคร สุนทรเวช กับรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งมีสันติ พร้อมพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในสมัยนั้น ก็มีการหารือแต่ไม่ได้กำหนดเป็นนโยบายที่ชัดเจน เรื่องก็เงียบหายไปอีกครั้ง

จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งอยู่ในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำและการบินไทยประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก ดังนั้นแผนการย้ายสายการบินกลับไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจึงมีการหยิบยกมาหารือกันอีกครั้ง โดยครั้งนี้โสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมซึ่งเป็นที่ทราบดีว่าเป็นร่างทรงของเนวิน ชิดชอบ และมีความสนิทชิดเชื้อกับลูกชายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ชวรัตน์ ชาญวีรกูล เจ้าของบริษัทผู้รับเหมารายใหญ่ ซึ่งต้องการให้มีการขยายสนามบินเฟส 2 จึงเป็นที่จับตาว่าจะมีการเอื้อผลประโยชน์แก่พวกพ้องอีกหรือไม่

หลังจากเข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการฯไม่นาน โสภณ แต่งตั้ง ศรีสุข จันทรางศุ เป็นประธานคณะกรรมการฟื้นฟูการบินไทย ท่วมกลางเสียงคัดค้านของพนักงานการบินไทย เพราะศรีสุข อยู่ระหว่างการตรวจสอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริต(ปปช.) กรณีการจัดซื้อเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิด(CTX) รวมถึงการคัดเลือกกลุ่มคิงเพาเวอร์ที่เข้ารับสัมปทานในสนามบินท่ามกลางข้อครหาและการตรวจสอบเรื่องการเอื้อประโยชน์ในการทำสัญญาโดยเลี่ยงพ.ร.บ.ร่วมทุน 2535 ในยุค สพรั่ง กัลยาณมิตร เป็นประธานบอร์ดทอท.รวมถึงมีความสนิทกับกลุ่มคิงเพาเวอร์เป็นอย่างมาก แต่โสภณ ก็ยังคงเดินหน้าแต่งตั้งให้เป็นประธานฯโดยไม่ฟังเสียงทักท้วง

โสภณ ยันย้ายกลับสุวรรณภูมิ

โสภณ กล่าวว่า วันที่ 29 มี.ค.นี้จะไม่มีเที่ยวบินภายในประเทศของการบินไทยให้บริการที่ดอนเมือง โดยย้ายสายการบินไทยมาทำการบินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตามนโยบายให้สุวรรณภูมิเป็นฮับของภูมิภาคเอเชีย และจากข้อมูลของฝ่ายบริหารการบินไทยระบุว่า หากมีการใช้ 2 สนามบิน การบินไทยจะมีต้นทุนสูงขึ้น 640 ล้านบาท ไม่รวมต้นทุนอื่น ๆ เช่น ค่าน้ำมัน และการใช้บุคลากรที่ไม่คุ้มค่า ขณะที่แต่ละเดือนมีรายได้จากค่าโดยสารจากเครื่องบินที่บินขึ้นลงที่ดอนเมืองเดือนละ 50 ล้านบาท หรือปีละ 600 ล้านบาท เห็นได้ชัดว่าหากยังให้บริการ 2 ที่ก็ทำให้การบินไทยมีปัญหาขาดทุน ส่วนที่เรื่องนายกรัฐมนตรีขอให้ทบทวนเรื่องการใช้นโยบายสนามบินเดียวนั้น คาดว่า 2 สัปดาห์จะนำข้อมูลไปชี้แจง แต่การย้ายเที่ยวบินจะต้องเกิดขึ้นตามกำหนดการดังกล่าวแน่นอน

ส่วนการก่อสร้างสนามบินระยะที่ 2 โสภณกล่าวว่า แผนการสร้างสนามบินเฟส 2 จะยังคงเดินหน้าต่อไปเพียงแต่จะลดขนาดโครงการลง เพื่อที่จะไม่เป็นการสร้างภาระมากจนเกินไป ซึ่งจะมีการก่อสร้างรันเวย์เส้นที่ 3 และอาคารผู้โดยสารในประเทศ ที่มีมูลค่าประมาณ 10,000 ล้านบาท จากเดิมที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงถึง 80,000 ล้านบาท ใช้เวลาการก่อสร้าง 3 ปี

สหภาพบินไทยค้านย้ายสนามบิน

ด้านแจ่มศรี สุกโชติรัตน์ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย กล่าวว่า สหภาพฯ ยืนยันที่จะคัดค้านการย้ายเที่ยวบินต่อไป แม้ว่าฝ่ายบริหารจะยืนยันเดินหน้าย้ายเที่ยวบิน เพราะวันนี้ความจริง 1 ข้อที่สังคมได้รับทราบคือ การย้ายเที่ยวบินในประเทศไม่ได้ช่วยให้การบินไทยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 600 ล้านบาท ตามที่ฝ่ายบริหารการบินไทยชี้แจงตลอดมา

ด้านกรมการขนส่งทางอากาศ(ขอ.) ได้ทำการศึกษาของการเปิดใช้สนามบินเดียวว่า สำหรับข้อดีของการใช้สนามบินเดียว คือ จะช่วยลดค่าใช่จ่ายของสายการบินได้ รวมถึงลดเวลาในการเดินทางและค่าใช่จ่ายในการบินต่อเที่ยวบินได้ ส่วนข้อเสียของการใช้หลายสนามบินคือ กรณีที่มีปริมาณการจราจรมากขึ้น โอกาสที่จะเกิดอุบัติการณ์หรืออุบัติเหตุย่อมมีสูงเช่นกัน เช่น เครื่องบินที่บินขึ้นจากสนามบินดอนเมืองต้องบังคับเลี้ยววนขวาทางเดียวซึ่งจะเกิดปัญหาต่อเที่ยวบินที่บินไปด้านตะวันออกจะต้องบินอ้อม ทำให้ทางสิ้นเปลืองเวลาและน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นการเพิ่มภาระให้แก่สายการบิน และทอท.เองอาจมีภาระค่าใช่จ่ายเพิ่มขึ้น เพราะต้องมีเจ้าหน้าที่ 2 จุดและจัดหาอุปกรณ์ในการอำนวยความปลอดภัยเพิ่มขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นการเพิ่มภาระค่าใช่จ่ายให้กับทอท.และไม่คุ้มทุนกับรายได้ซึ่งอาจส่งผลให้ทอท.ขาดทุนได้ในอนาคต

กทม.เล็งใช้ดอนเมืองเป็นรพ.คนชรา

กรุงเทพมหานคร(กทม.) ที่มีพ่อเมืองเป็นคนจากพรรคประชาธิปัตย์ มีแผนที่ขอใช้สนามบินดอนเมืองเป็นโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร ขนาด 200–500 เตียง เพื่อให้บริการการรักษาพยาบาลแก่ประชาชนในกทม.เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเขตดอนเมืองและพื้นที่ใกล้เคียงที่ไม่มีโรงพยาบาลของราชการ โดยกทม.ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์ในพื้นที่สนามบินดอนเมือง โดยเฉพาะพื้นที่ภายในอาคารผู้โดยสาร หรือพื้นที่คลังเก็บสินค้า (Cargo)

อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวอยู่ในระหว่างการศึกษา ต้องนำสถาปนิกลงสำรวจความเหมาะสมของพื้นที่ และประเมินงบประมาณการก่อสร้าง คาดว่าผลการศึกษาจะออกมาเป็นรูปธรรมภายในระยะเวลา 3 เดือน จากนั้นจะเสนอเรื่องไปยัง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เพื่อพิจารณาการใช้พื้นที่ต่อไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us