|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ตลาดหลักทรัพย์ฯ เตรียมปรับลดเป้าหมายบริษัทจะทะเบียนใหม่ปี 52 หลังจบไตรมาส1/52 จากเป้าหมายเดิม 46 บริษัท แบ่งเป็นตลาดหลักทรัพย์ 22 แห่ง และเอ็มเอไอ 24 แห่ง ระบุสาเหตุเกิดจากมูลค่าการซื้อขายตลาดหุ้นซบเซา ด้านผู้บริหาร “ภัทรียา” ยังหวังเป้าเอ็มเอไอไม่พลาดเป้า พร้อมทบทวนเป้ามูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันใหม่ จากก.พ. 52 มูลค่าเฉลี่ยลดวูบเหลือแค่วันละ 8 พันล้านบาท แนะนักลงทุนเลือกลงทุนในหุ้นจ่ายปันผลดี
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย ยังคงได้รับผลต่อเนื่องจากวิกฤตการเงินสหรัฐฯ ที่บานปลายและขยายวงกว้างกระทบออกไปสู่ภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก และยังไม่มีวี่แววที่จะทุเลาเบาบางลง แม้ว่าทางการของหลายๆ ประเทศพยายามเร่งรัดและนำมาตรการต่างๆ มาใช้เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ดังกล่าว จากวิกฤตการเงินและภาวะเศรษฐกิจโลกได้ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลก รวมถึงตลาดหุ้นไทยที่ตกอยู่ในภาวะที่ซบเซาต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีแผนที่จะทบทวนลดเป้าหมายของบริษัทที่จะเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (mai) ในช่วงสิ้นไตรมาส1/52 จากเป้าหมายดิมที่คาดจะมีบริษัทเข้าจดทะเบียนจำนวน 46 บริษัท เนื่องจากมูลค่าการซื้อขายปรับตัวลดลงทำให้บรรยากาศการลงทุนไม่เอื้อในการเสนอขายหุ้น
ทั้งนี้ บริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น คงไม่เป็นไปตามเป้าที่จะมีจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ 22 บริษัท แต่บริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (mai) 24 บริษัท คาดว่าเป็นไปตามเป้าจากบริษัทขนาดเล็กมีช่องทางระดมทุนน้อยจากที่ธนาคารพาณิชย์มีการปล่อยกู้ที่ยากขึ้น จึงทำให้ต้องเข้ามาระดมทุน
“บอร์ดตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้นโยบายที่ทุกๆ 3 เดือนจะมีการทบทวนเป้าหมายการดำเนินงานต่าง ๆ ซึ่งสิ้นไตรมาส 1/52 นั้น จะมีการหารือทบทวนเป้าหมายบริษัทเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และเอ็มเอไอ ซึ่งบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ อาจจะยากหน่อยที่จะได้ตามเป้าหมาย แต่ตลาดเอ็มเอไอน่าจะทำได้”
นางภัทรียา กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้เป้าหมายบริษัทจดทะเบียนในปีนี้จะไม่เป็นไปตามเป้าที่กำหนดไว้ แต่คาดว่าจะมีบริษัทจดทะเบียนไม่ต่ำกว่าปี 2551 ที่ผ่านมา ที่มีบริษัทเข้าจดทะเบียนรวม 11 บริษัท เนื่องจากมีบริษัทที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อีก 10 บริษัท ซึ่งในช่วงที่ผ่านมามีบริษัทเข้าจดทะเบียนแล้วจำนวน 3 บริษัท และจะเข้าจดทะเบียนอีก 1 บริษัทในเดือนนั้น รวมถึงการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่บริษัทที่จะเข้ามาจดทะเบียนในปีนี้นั้น ถือว่าเป็นแรงจูงใจหนึ่งที่จะทำให้บริษัทเข้ามา
สำหรับตลาดหลักทรัพย์ฯ จะพยายามผลักดันให้เกิดระบบการการรับหลักทรัพย์แบบการเปิดเผยข้อมูล (disclosurebased) ซึ่งเป็นการลดระยะเวลาในการเข้าจดทะเบียนทำได้เร็วขึ้น แต่ทางที่ปรึกษาทางการเงินนั้นถือว่าจะมีบทบาทและหน้าที่สำคัญในการทำหน้าที่ในการเปิดเผยข้อมูลให้กับนักลงทุนทราบข้อมูลต่างรวมถึงความเสี่ยง
นางภัทรียา กล่าวว่า นอกจากจะมีการทบทวนบริษัทที่จะเข้ามาจดทะเบียนแล้ว จะมีการทบทวนมูลค่าการซื้อขายปีนี้ด้วย เนื่องจากในช่วงเดือนม.ค.วอลุ่มการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเหลือ 1 หมื่นล้านบาท เดือนก.พ.เหลือ 8 พันล้านบาท ซึ่งต้องยอดมรับว่าขณะนี้สภาพคล่องการซื้อขายนั้นปรับตัวลดลง จากนักลงทุนรอความชัดเจน ภาวะเศรษฐกิจโลก ปัญหาสถาบันเงินต่างประเทศ โดยภาวะที่เกิดขึ้นนั้นก็เข้าใจว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเป็นปัจจัยต่างประเทศ
ทั้งนี้ เชื่อว่าหากในช่วงครึ่งปีเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นและมีการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินต่างประเทศดีขึ้นเชื่อว่าการลงทุนในตลาดหุ้นไทยจะดีขึ้น แต่ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นนิวยอร์กมีการปรับตัวดีขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี แต่นักวิเคราะห์ต่างๆก็ยังขอรอดูความชัดเจนก่อนยังไม่มีการปรับประมาณการอย่างไร
สำหรับนักลงทุนนั้นควรที่จะมีการเลือกลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดี ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯได้มีการรวบรวมข้อมูลการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนนั้นถือว่ามีการจ่ายเงินปันผลที่สูงถึง 6.6% ซึ่งควรเลือกลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มการเติบโตดี และทางบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ได้มีการออกกองทุนอ้างอิงกับบริษัทจดทะเบียนที่มีการจ่ายเงินปันผลที่สูง
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมาตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ใช้ความพยายามอย่างหนักที่จะจูงใจและสนับสนุนให้เอกชนนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ว่าจะเป็นการลดค่าธรรมเนียม การสร้างแรงจูงใจต่างๆ และล่าสุดกำลังพิจารณาทบทวนปรับลดการจัดสรรหุ้นที่จะเสนอขายให้แก่ประชาชนเป็นครั้งแรก (ไอพีโอ) ของบริษัทขนาดกลางและขนาดใหญ่ ที่มีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 300-500 ล้านบาทขึ้นไป เพื่อสนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้สะดวกยิ่งขึ้น
|
|
|
|
|